ภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามมาตรฐานการอาชีวศึกษาของสถานศึกษาสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

Main Article Content

ศิระ ประเสริฐศักดิ์
อภิชาติ เลนะนันท์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาระดับการดำเนินงานตามมาตรฐานการอาชีวศึกษาของสถานศึกษา 3) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามมาตรฐานการอาชีวศึกษาของสถานศึกษาสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารและครูในสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาภาคกลาง ปีการศึกษา 2566 จำนวน 5 สถาบัน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่ และมอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 357 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ หาคุณภาพเครื่องมือโดยการทดลองใช้การหาค่าความเชื่อมั่น ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน


ผลการวิจัย พบว่า


1. ภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาทั้ง 5 ด้าน มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ ด้านการมีสมรรถนะทางเทคโนโลยีดิจิทัล ด้านการมีวิสัยทัศน์ทางเทคโนโลยีดิจิทัล ด้านการพัฒนาครูทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ด้านการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และด้านการสร้างวัฒนธรรมดิจิทัล


2. การดำเนินงานตามมาตรฐานการอาชีวศึกษาของสถานศึกษา ทั้ง 5 ด้าน มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ ด้านผู้เรียนและผู้สำเร็จการศึกษา ด้านครูผู้สอนและผู้บริหารสถานศึกษา ด้านการมีส่วนร่วม ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน และด้านปัจจัยพื้นฐาน


3. ภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามมาตรฐานการอาชีวศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ตามลำดับดังนี้ ด้านการมีวิสัยทัศน์ทางเทคโนโลยีดิจิทัล ด้านการสร้างวัฒนธรรมดิจิทัล ด้านการพัฒนาครูทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ด้านการมีสมรรถนะทางเทคโนโลยีดิจิทัล และด้านการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล โดยมีประสิทธิภาพในการทํานายร้อยละ 88.70 และเขียนเป็นสมการได้ ดังนี้


สมการการถดถอยในรูปคะแนนดิบ และคะแนนมาตรฐาน


equationtot = 0.406 + 0.155(x3) + 0.166(x2) + 0.194(x5) + 0.224(x1) + 0.170(x4)


equationtot = 0.172(z3) + 0.186(z2) + 0.221(z5) + 0.234(z1) + 0.194(z4)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542. กรุงเทพฯ: บริษัทสยามสปอรต์ ซินดิเคท จำกัด.

________. (2551). พระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ: แม้ค.

________. (2561). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

กานต์นภัส บุญลึก. (2556). การบริหารงานวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนเพื่อการประกันคุณภาพภายใน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกซน ในเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2. วิทยานิพนธ์ ค.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

แกมมณี พุทธนิยม. (2565). ภาวะผู้นำกับการบริหารในยุคดิจิทัล. เข้าถึงได้จาก https://saoc.rtaf.mi.th/images/documents/articles/2565/teacher%2065/9.66%20gamanee.pdf. 9 กุมภาพันธ์ 2567.

กันตชาติ กุดนอก. (2565). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2. วิทยานิพนธ์ ค.ม. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

จิดาภา เทียนคำ. (2556). ภาะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับมาตรฐานการอาชีวศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

จิราพัชร ไผ่วุฒิพันธ และคณะ. (2565). การวิเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์. วารสารรัชต์ภาคย์, 16(44), 236-250.

ณัฏฐิตา สงค์แก้ว. (2564). ภาวะผู้นําดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

ณัฐวุฒิ พงศ์สิริ. (2560). ผู้นำที่เรียกว่า Digital Leader ในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล. HR Society Magazine, 15(172), 20–23.

ณรงค์ รัตน์โสภา. (2564). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามมาตรฐานการอาชีวศึกษาของสถานศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ ค.ม. ฉะเชิงเทรา: มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

นิพัทธิ์ สุขกระโทก. (2554). การดำเนินการตามมาตรฐานการอาชีวศึกษาของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

บรรจบ บุญจันทร์. (2554). โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารโรงเรียนขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พรทิพย์ ไชยพนาพันธ์. (2564). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาส สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1. วิทยานิพนธ์ ค.ม. อุตรดิตถ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

พลอยชมพู ทับเอม มณีนุช จุ้ยเอี่ยม และธนัสถา โรจนตระกูล. (2565). การพัฒนาภาวะผู้นำ: จากทฤษฎีสู่แนวทางการปฏิบัติที่ดีในองค์กร. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(12), 294-309.

รัฐนันท์ รถทอง และมลรักษ์ เลิศวิลัย. (2564). ภาวะผู้นำดิจิทัลของครูโรงเรียนเทศบาลบ้านสามกอง อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(11), 223–234.

วันวิสาข์ ทองติง. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารกับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5. วิทยานิพนธ์ ค.ม. เลย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2560). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. พิษณุโลก: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร.

_______. (2561). ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยี: การนำเทคโนโลยีสู่ห้องเรียนและโรงเรียนในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 16(4), 216–224.

สุพรรณ ประศรี. (2555). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2. วิทยานิพนธ์ ค.ม. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). แนวทางการกระจายอำนาจกรบริหารและการจัดการการศึกษา. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2550). กรอบมาตรฐานหลักสูตรอาชีวศึกษา. กรุงเทพฯ: เอส.พี.วี. การพิมพ์.

________. (2560). แผนพัฒนาการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2560–2579. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

________. (2565). ประกาศสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เรื่อง นโยบายและจุดเน้นการปฏิบัติราชการของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561–2580 (ฉบับย่อ). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ.

Cronbach, Lee J. (1970). Essentials of Psychological Testing. New York: Harper and Row.

Krejcie, Robert V. & Morgan, Daryle W. Determining. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.

Zhong, L. (2016). The Effectiveness of Digital Leadership at K–12 Schools in Mississippi Regarding Communication and Collaboration During CCRS Implementation. Retrieved from Retrieved from https://aquila.usm.edu/cgi/viewcontent.cgi?referer=https://scholar.google.co.th/&httpsredir=1&article=1342&context=dissertations. August 18th, 2023.