แนวทางพัฒนาตามมาตรฐานการบริหารโรงเรียนสุจริต ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของแนวทางพัฒนาตามมาตรฐานการบริหารโรงเรียนสุจริต 2) ประเมินความต้องการจำเป็นของแนวทางพัฒนาตามมาตรฐานการบริหารโรงเรียนสุจริต 3) พัฒนาแนวทางพัฒนาตามมาตรฐานการบริหารโรงเรียนสุจริต 4) ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางพัฒนาตามมาตรฐานการบริหารโรงเรียนสุจริต ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 47 คน และครู จำนวน 258 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 305 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้เกณฑ์ร้อยละ ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง (PNIModified)
ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันของมาตรฐานการบริหารโรงเรียนสุจริต โดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ ของมาตรฐานการบริหารโรงเรียนสุจริต โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ความต้องการจำเป็นของมาตรฐานการบริหารโรงเรียนสุจริต มีค่าสูงกว่าค่าโดยรวม 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการบริหารทั่วไป และด้านผลลัพธ์และภาพแห่งความสำเร็จ
3) แนวทางพัฒนา ประกอบด้วย (1) การบริหารงานวิชาการ โรงเรียนควรมีการกำหนดวัตถุประสงค์ พัฒนาปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษาวัดและประเมินผลนักเรียน ปลูกผังคุณลักษณะ 5 ประการของโรงเรียนสุจริตให้เกิดกับผู้เรียน (2) การบริหารงบประมาณ โรงเรียนควรมีการดำเนินงานเกี่ยวกับรายรับ–รายจ่าย โดยคำนึงถึงความคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด เป็นไปตามระเบียบที่วางไว้ (3) การบริหารงานบุคคล โรงเรียนควรสรรหา เลือกสรรบรรจุคนเข้าทำงานอย่างเหมาะสม ยกย่อง ชมเชย เผยแพร่ผลงานของบุคลกรในโรงเรียน (4) การบริหารงานทั่วไป โรงเรียนควรมีการอำนวยความสะดวกด้านอาคาร สถานที่ และเปิดโอกาสให้บุคลากรในสถานศึกษา ผู้ปกครอง และชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำกับ ติดตาม ตรวจสอบการดำเนินงานของสถานศึกษา และ (5) ผลลัพธ์และภาพแห่งความสำเร็จ โรงเรียนควรมีผลที่เกิดจากการพัฒนาผู้บริหาร ครู นักเรียน สถานศึกษา และผลการดำเนินการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน ตามคุณลักษณะของโรงเรียนสุจริต และ 4) ผลการประเมินแนวทางพัฒนาตามมาตรฐานการบริหารโรงเรียนสุจริตโดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
References
จิณฑ์จุฑา ชูโตศรี. (2560). การพัฒนาแนวปฏิบัติในการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาลสำหรับโรงเรียนสุจริต. วิทยานิพนธ์ ศษ.ด. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ปรียาภรณ์ ตังคุณานันต์. (2562). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ: มีน เซอร์วิส ซัพพลาย.
พิมพ์ชนก หชัยกุล. (2565). การพัฒนาแนวทางการบริหารตามมาตรฐานโรงเรียนสุจริต สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พรทิพย์ ไชยมงคล. (2560). การศึกษาสภาพการดำเนินงานในโครงการโรงเรียนสุจริต กลุ่มโรงเรียนเชียงคำ 1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา.
รัชตาพร เสนามาตย์. (2561). รูปแบบคุณลักษณะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนสุจริต สังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
วชิรวิทย์ นิติพันธ์ และสุวิทย์ ภานุจารี. (2563). รูปแบบการบริหารโรงเรียนสุจริตของผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์ ศษ.ด. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
สุพัตรา กุสิรัมย์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารจัดการโครงการโรงเรียนสุจริต ของโรงเรียนต้นแบบและโรงเรียนเครือข่ายในจังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์ ค.ม. บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา. (2558). แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนสุจริต. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
______. (2561). คู่มือหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนสุจริต. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
Weston, A. (2017). Positive Behavior Interventions and Supports’ Relationship to The Eleven Principles of Effective Character Education. (Doctoral dissertation). Louisiana: Southeastern Louisiana University.
Komalasari, K, & Saripudin, D. (2015). Integration of Anti–Corruption Education in School’s Activities. American Journal of Applied Sciences, 12(6), 445–451.
Sulkowski, N. B. & Deakin, M. K. (2009). Does Understanding Culture Help Enhance Students Learning Experience. International Journal of Contemporary Hospitality Management, 21(02), 154–166.