แนวทางการพัฒนาการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณภัยของเทศบาลตำบลกมลาไสย อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณภัยของ เทศบาลตำบลกมลาไสย อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยประเมินผลตามหลักการจัดการสาธารณภัยที่มีประสิทธิภาพ กลุ่มเป้าหมายที่ศึกษา คือผู้บริหารเทศบาล พนักงานเทศบาล ลูกจ้าง สมาชิกสภาเทศบาล ผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่ของเทศบาลตำบลกมลาไสย จำนวน 100 คน
ผลการศึกษาพบว่า
1. แนวทาง ด้านนโยบายที่ชัดเจน พบว่าเทศบาลตำบลกมลาไสยมีการกำหนดนโยบายด้านแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณภัย และผู้นำมีวิสัยทัศน์ เข้าใจตระหนักถึงความสำคัญของงานด้านสาธารณภัย (มากกว่าร้อยละ 80) มีการจัดทำแผน หรือวางระบบการปฏิบัติการก่อนเกิดเหตุ (ร้อยละ 74) และที่ต่ำกว่าร้อยละ 70 คือ การแปลงนโยบายของรัฐบาลไปสู่แผนการปฏิบัติงานมีความเชื่อมโยงกับส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2. แนวทางด้านการบูรณาการแผนการจัดการของหน่วยงานต่าง ๆ พบว่า เทศบาลตำบลกมลาไสย มีแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และมีการฝึกซ้อมแผนเพื่อเตรียมรับสถานการณ์สาธารณภัยกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง (มากกว่าร้อยละ 80) และ ที่ต่ำกว่าร้อยละ 70 คือ แผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยมีความชัดเจนในขั้นตอนการช่วยเหลือและปฏิบัติงานเมื่อเกิดสาธารณภัย
3. แนวทางด้านการเผชิญเหตุและการกู้ภัย พบว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์สาธารณภัยขึ้น เทศบาลตำบลกมลาไสยสามารถเข้าควบคุมเหตุการณ์ได้ในทันที (มากกว่าร้อยละ 70 ) และที่ต่ำกว่าร้อยละ 70 คือ เทศบาลตำบลกมลาไสยมีการตั้งศูนย์บัญชาการ (Command Center) เพื่อเป็นศูนย์รวบรวมข้อมูลข่าวสาร
4. แนวทางด้านการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนและประชาชน พบว่าเทศบาลตำบลกมลาไสยมีอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน และมีทีมกู้ภัยประจำตำบล (มากกว่าร้อยละ 80) ที่ต่ำกว่าร้อยละ 70 คือ เทศบาลตำบลกมลาไสยมีการปลุกระดมความคิดในการสร้างจิตสำนึกให้ตระหนักในเรื่องอันตรายจากสาธารณภัยให้แก่ประชาชนในพื้นที่
5. แนวทางด้านการแก้ไขปัญหาระยะยาว พบว่าเทศบาลตำบลกมลาไสยมีแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณภัย (มากกว่าร้อยละ 80) มีการจัดสรรเงินไว้สำหรับการแก้ไขปัญหาสาธารณภัย (ร้อยละ 72) และที่ต่ำกว่าร้อยละ 70 คือ เมื่อเหตุการณ์สาธารณภัยผ่านพ้นไป เทศบาลตำบลกมลาไสยมีแผนการในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวในระยะยาว ซึ่งหมายถึง การพัฒนาแบบยั่งยืนและสมดุล
Article Details
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร