การประเมินความต้องการจำเป็นของสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี

Main Article Content

ปาริฉัตร โพธิกุล
พัชรินทร์ ชมภูวิเศษ
พนายุทธ เชยบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่คาดหวัง และประเมินความต้องการจำเป็นของสมรรถนะ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี จำนวน 331 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเครจซี่ และ มอร์แกน ได้มาจากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคําถามกับวัตถุประสงค์หรือเนื้อหาในการวิจัยตั้งแต่ 0.60–1.00 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อของแบบสอบถามสภาพปัจจุบัน ตั้งแต่ 0.43–0.88 และมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อของแบบสอบถามสภาพที่คาดหวัง ตั้งแต่ 0.54–0.92 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามสภาพปัจจุบัน เท่ากับ 0.98 และแบบสอบถามสภาพที่คาดหวัง เท่ากับ 0.99 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีจัดเรียงลำดับความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง ผลการวิจัย พบว่า   สภาพปัจจุบันของสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนสภาพที่คาดหวังของสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาอยู่ในระดับมากที่สุด และความต้องการจำเป็นของสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา ค่าดัชนีลำดับความสำคัญเรียงตามลำดับดังนี้ ลำดับแรก คือ ด้านสังคม กฎหมาย จริยธรรม จรรยาบรรณ และความปลอดภัย ลำดับที่สอง คือ ด้านวิสัยทัศน์และภาวะผู้นำ ลำดับที่สาม คือ ด้านความรู้และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ลำดับที่สี่ คือ ด้านการสนับสนุน ส่งเสริม และจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในสถานศึกษา และลำดับที่ห้า คือ ด้านการสนับสนุนการจัดการเรียนรู้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2553). การนำองค์การและเทคโนโลยีการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชุลีกร นวลสมศรี. (2563). สมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่พึงประสงค์สำหรับการปฏิบัติงานของบุคลากร องค์กรภาครัฐในยุคประเทศไทย 4.0. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 12(2), 194–206.

นิทัศน์ ศิริโชติรัตน์. (2560). หลักการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). หลักการวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.

________. (2560). หลักการวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.

ปราโมทย์ วังสะอาด. (2558). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านไอซีที่ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

พรทิพย์ ไชยพนาพันธ์. (2564). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาส สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1. สารนิพนธ์ ค.ม. อุตรดิตถ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

พรภวิษย์ อุ่นวิเศษ. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1. วิทยานิพนธ์ ค.ม. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ภานุวัฒน์ สิงห์หาญ. (2558). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการบริการด้านการศึกษาในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 38(2), 158–166.

สนิท ตีเมืองซ้าย. (2562). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาด้าน ICT ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษา 4.0 ภายใต้ศตวรรษที่ 21. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 17(2), 115–125.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี. (2565). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี. อุดรธานี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง (พ.ศ. 2560 – 2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560–2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สุบิน ยุระรัช. (2554). แนวคิดเกี่ยวกับการสังเคราะห์งานประเมินความต้องการจำเป็น. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 13(2), 31–50.

สุริยา งามเจริญ. (2557). สมรรถนะด้านเทคโนโลยีการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 25. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัจฉรา พยัคฆ์เกษม. (2559). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอคลองขลุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2. วิทยานิพนธ์ ค.ม. นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

อนุชา พลสุด. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการบริหารระบบสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตจังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น, 11(3), 255–265.

อนุเทพ กุศลคุ้ม. (2561). สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาตามมาตรฐานวิชาชีพคุรุสภาในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30. วิทยานิพนธ์ ค.ม. ชัยภูมิ: มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.

เอกอุดม จ้ายอั๋น. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารกับการจัดระบบสารสนเทศในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1. วิทยานิพนธ์ ค.ม. สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

International Society for Technology in Education. (2002). National educational technology standards for administrators. Retrieved from http://www.iste.org/docs/pdfs/nets–for–administrators–2002_en.pdf. April 29th, 2021.

______. (2009). ISTE Standards administrators. Retrieved from https://www.iste.org/standards/for–administrators. April 29th, 2021.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.