ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ในจังหวัดนครปฐม
Main Article Content
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรในกลุ่มปัจจัยทางสังคม ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริมกับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ (2) วิเคราะห์ตัวแปรพยากรณ์ที่ดีของคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ และ (3) สร้างสมการพยากรณ์คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ในจังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้สูงอายุที่มี อายุ 60 ปีขึ้นไป ในจังหวัดนครปฐม จำนวน 400 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามประกอบด้วยข้อความ 5 ส่วน ส่วนที่ 1 ปัจจัยทางสังคม ส่วนที่ 2 ข้อมูลทางปัจจัยนำ ส่วนที่ 3 ข้อมูลทางปัจจัยเอื้อ ส่วนที่ 4 ข้อมูลทางปัจจัยเสริม และส่วนที่ 5 คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ มีค่าความเชื่อมั่น ตั้งแต่ .776 ถึง .875 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่าย และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป
ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยทางสังคม 5 ตัวแปร กลุ่มปัจจัยนำ 6 ตัวแปร กลุ่มปัจจัยเอื้อ 2 ตัวแปร และปัจจัยเสริม 2 ตัวแปร รวม 15 ตัวแปร มีความสัมพันธ์กันในเชิงเส้นตรงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (F = 13.289 , p = .000) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ .585 แสดงว่า ตัวแปรพยากรณ์ทั้ง 15 ตัวร่วมกันสามารถอธิบายความแปรปรวนของคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ได้ร้อยละ 34.20 และมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานในการพยากรณ์เท่ากับ 2.403 ตัวแปรพยากรณ์ที่ดีของคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ มีทั้งหมด 6 ตัวแปร ได้แก่ ความเชื่อความสามารถตนเองในการมีคุณภาพชีวิตที่ดี (X7), ความรู้เรื่องผู้สูงอายุ (X6), อาชีพ (X5), การรับรู้ถึงอุปสรรคของการมีคุณภาพชีวิตดี (X11), สถานภาพสมรส (X3) และอายุ (X2) โดยมีสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ .556 ตัวแปรพยากรณ์ชุดนี้ร่วมกันสามารถพยากรณ์คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุได้ร้อยละ 31.000 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานในการพยากรณ์ เท่ากับ 2.432 สมการพยากรณ์คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในรูปคะแนนดิบ และคะแนนมาตรฐานเขียนได้ดังนี้
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ
Y' =. 29.142 + .087 X7 + .421 X6 + 1.047 X5 + .135 X11 + .710 X3 - .133 X2
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน
Z'y = .247 Z7 + .233 Z6 + .141 Z5 + .228 Z11 + .089 Z3 - .316 Z2
Article Details
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร