บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลกับการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาฉะเชิงเทรา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับบทบาทผู้บริหารสถานศึกษา 2) ระดับการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 3) ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา และ
4) บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาฉะเชิงเทรา จำนวน 302 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสหพันธ์แบบเพียร์สัน และค่าถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัย พบว่า 1) บทบาทผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า มีค่าเฉลี่ยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ ด้านการกำหนดนโยบายและวางแผนกลยุทธ์ ด้านการนิเทศ ติดตามและประเมินผล ด้านการเป็นผู้นำ และด้านการประสานความสัมพันธ์ 2) การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา พบว่า มีค่าเฉลี่ยภาพรวมอยู่ในระดับมากเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ การส่งเสริมและพัฒนา การป้องกันช่วยเหลือและแก้ไข การคัดกรองนักเรียน การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล และการส่งต่อ 3) บทบาทผู้บริหารสถานศึกษามีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงกับการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) บทบาทผู้บริหารสถานศึกษา ด้านการกำหนดนโยบายและวางแผนกลยุทธ์ ด้านการเป็นผู้นำ ด้านการนิเทศ ติดตามและประเมินผล และด้านการประสานความสัมพันธ์ ส่งผลต่อการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา ร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 97.40 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สามารถเขียนเป็นสมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนมาตรฐาน ดังนี้ Z'Y = .412Z1 + .303Z2 + .282Z4 + .102Z3
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
References
กรมสุขภาพจิต. (2554). คู่มือครูที่ปรึกษาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน. กรุงเทพฯ: ยูเรนัสอิมเมจกรุ๊ป.
กรมอามัย. (2563). คู่มือการปฏิบัติสำหรับสถานศึกษาในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด–19. กรุงเทพฯ: คิวแอดเวอร์ไทซิ่ง.
เชวง เพชรภา. (2553). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 3. วิทยานิพนธ์ ค.ม. เลย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
ฐานวัฒน์ อัญภัทร์อริยกุล. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษาในสหวิทยา เขต 8 ศรีนครอัจจะ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 8(2), 79–89.
ดุษฎี ศรีจำปา. (2557). พฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1. วิทยานิพนธ์ ค.ม. นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
เดชศรี สุวิรัตน์. (2564). พฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาที่สัมพันธ์กับการดําเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด, 15(1), 231–247.
ธ.สุรางค์ บุญทอง. (2564). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2. วารสารพุทธสังคมวิทยาปริทรรศน์, 6(2), 49–59.
นฤมล กอบแก้ว. (2561). ปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 38(5), 162–181.
นภาพร ฟักมี. (2565). กระบวนการบริหารจัดการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร. วารสารสิรินธรปริทรรศน์, 23(1), 181–190.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
พงษ์อิศรา ประหยัดทรัพย์. (2557). บทบาทของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณลักษณะผู้เรียนสู่การเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากล ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 จังหวัดปทุมธานี. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
พรศักดิ์ ผกากรอง. (2562). การศึกษาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์ ค.ม. สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
ริญญาภัทร์ สุภาศิริธนานนท์. (2563). บทบาทผู้บริหารกับบรรยากาศองค์กรของโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ลลิตา พลศิลป์. (2563). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1. วิทยานิพนธ์ ค.ม. ฉะเชิงเทรา: มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
วสิษฐ์พล รอบจังหวัด. (2564). บทบาทของผู้บริหารกับการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วาสนา โพธิ์อ่อง. (2559). การบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3. วิทยานิพนธ์ ค.ม. นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
วิรากานต์ บุตรพรม (2561). แนวทางการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24. สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทมส.), 25(2), 170–182.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2560). การดําเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาแห่งชาติ. (2557). คู่มืองานการบริหารสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาฉะเชิงเทรา. (2563). รายงานการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2563. ฉะเชิงเทรา: กลุ่มนโยบายและแผน.
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2557). คู่มืองานการบริหารสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
Hitt, M. A, Ireland, R. D & Hoskisson, R. E. (2007). Management of strategy. Concepts and Cases. China: Thomson South–Wettern.
Draft, R. L. (2005). The leadership experience. (3rd ed). South-Western: Cincinnati, OH.
Knezevich, R. (1984). Administration of Pubic Education. New York: Harper and Row.
Likert, Rensis. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. In Reading in Fishbeic, M(Ed.), Attitude Theory and Measurement (pp. 90–95). New York: Wiley & Son.