ไทย ภาวะผู้นำด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์และยุทธศาสตร์นโยบายสาธารณะด้านประชากรผู้สูงอายุขององค์กรภาครัฐในประเทศไทย

Main Article Content

ชูเกียรติ มุทธากาญจน์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำด้านบริหารทรัพยากรมนุษย์ ในกรณีของผู้สูงอายุในประเทศไทย 2) ศึกษายุทธศาสตร์นโยบายสาธารณะเกี่ยวกับผู้สูงอายุ ขององค์กรภาครัฐในประเทศไทย (โดยเฉพาะกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์) และ 3) นำเสนอรูปแบบของภาวะผู้นำด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในการใช้ยุทธศาสตร์นโยบายสาธารณะเกี่ยวกับผู้สูงอายุ ขององค์กรภาครัฐในประเทศไทย โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน คือ การค้นคว้าวิจัยเอกสาร การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านผู้สูงอายุ เช่น ผู้นำภาครัฐ นักการเมือง นักวิชาการ นักสังคมสงเคราะห์ จำนวน 39 ท่านและการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้การสุ่มขนาดประชากรด้วยวิธีของ Taro Yamane ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95% โดยแจกแบบสอบถาม จำนวน 394 ชุด ซึ่งสรุปผลการวิจัยภาวะผู้นำด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์และยุทธศาสตร์นโยบายสาธารณะด้านประชากรผู้สูงอายุ ขององค์กรภาครัฐในประเทศไทย อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.66 และพบว่า 1) ภาวะผู้นำด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในการดูแลผู้สูงอายุ ขององค์กรภาครัฐในประเทศไทยนั้น จะต้องเน้นการสร้างเสริมสุขภาพที่เหมาะสมให้กับผู้สูงอายุ รวมทั้งส่งเสริมผู้สูงอายุให้มีสุขภาพที่สมบูรณ์ทั้งด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้วยความเอื้ออาทรและมีกุศลจิตที่ดี 2) องค์กรภาครัฐจะต้องนำยุทธศาสตร์นโยบายสาธารณะด้านประชากรผู้สูงอายุ ในการบริการด้านสุขภาพ และด้านการดูแลผู้สูงอายุ จะต้องเน้นการปฏิรูประบบสุขภาพที่ต้องนำมาปฏิบัติอย่างจริงจัง เปลี่ยนยุทธวิธีจากงานรักษาพยาบาล “แบบตั้งรับ” มาเน้นการส่งเสริมให้มีการสร้างสุขภาพ “แบบเชิงรุก” ซึ่งจะมีผลทำให้ระบบบริการสุขภาพแก่ครอบครัว/ชุมชนแบบองค์รวม มี 5 รูปแบบ คือ 1) ภาวะผู้นำของผู้แทนภาครัฐที่เป็นฑูตในการดูแลผู้สูงอายุที่เปี่ยมล้นด้วยความเมตตาและมีกุศลจิตอย่างจริงใจ 2) ภาวะผู้นำที่บริหารจัดการยุทธศาสตร์นโยบายสาธารณะผู้สูงอายุ โดยมีจิตกุศลในการอภิบาลผู้สูงอายุ 3) ภาวะผู้นำที่เน้นสุขภาพของผู้สูงอายุเพื่อความแกร่งแข็งแกร่งด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ 4) ภาวะผู้นำที่ใช้หลักการบริหารจัดการนโยบายสาธารณะด้านผู้สูงอายุโดยใช้หลักความเอื้ออาทรในการนำไปปฏิบัติ และ 5) ภาวะผู้นำที่มีความเสียสละ เอื้ออาทรต่อผู้สูงอายุ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมอนามัย. (2558). The Madrid International Plan of Action on Ageing: MIPAA. เข้าถึงได้จาก https://bookVol38No1 (moph.go.th). 15 ตุลาคม 2563.

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2561). รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ปี 2561 - มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (thaitgri.org) เข้าถึงได้จาก https://thaitgri.org/?p=38670. 15 ตุลาคม 2563.

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2563). สังคมผู้สูงอายุในปัจจุบันและเศรษฐกิจในประเทศไทย (dop.go.th). เข้าถึงได้จาก https:// dop.go.th/th/know/15/926. 15 ตุลาคม 2563.

ชมพูนุท พรหมภักดิ์. (2556). การเข้าสู่สังคม ผู้สูงอายุของประเทศไทย. สำนักวิชาการสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา, 3(16), 1-3.

ธนภรณ์ จิตตินันทน์และ ณัคนางค์ กุลนาถศิร. (2560). ถอดบทเรียนนโยบายรับมือสังคมสูงวัยจากต่างประเทศ บทวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจ. กรุงเทพฯ: ธนาคารแห่งประเทศไทย.

ธัญวรัตน์ แจ่มใส. (2564). นโยบายเกี่ยวกับสวัสดิการของผู้สูงอายุในประเทศไทย Policy on Elderly Welfare in Thailand. วารสาร มจร.การพัฒนาสังคม วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 6(3),13.

ณัฏฐกร วัธโท. (2563). การศึกษาความสอดคล้องในการกำหนดนโยบายสาธารณะที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการประกอบอาชีพของผู้สูงอายุกรณีศึกษาการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐระดับจังหวัด. วิทยานิพนธ์ รป.ม. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

พงศธร พอกเพิ่มดี. (2563). นโยบายและยุทธศาสตร์สาธารณสุขไทย. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข.

พรรณอร วันทอง จีระ ประทีป และกิตติพงษ์ เกียรติวัชรชัย. (2563). รูปแบบการบริหารจัดการสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร., 8(2), 655-670.

ภุชพงค์ โนดไธสง. (2561). อีก 3 ปีสังคมไทย สูงอายุเต็มสูบ. เข้าถึงได้จาก https://www. thairath.co.th/content/125340. 3 ตุลาคม 2563.

วิลาวรรณ รพีพิศาล. (2554). ความรู้พื้นฐานในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์วิจิตรหัตถกร.

ศิริวรรณ อรุณทิพย์ไพฑูรย์. (2556). รายงานประจำปีสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมกับมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) พ.ศ. 2555.

สุทธิชัย หยุ่น. (2553). ชีพจรสุขภาพ. นิตยสาร ชีวจิตรายปักษ์, 1, 4.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์. (2559). ยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดและแนวทางการจัดเก็บข้อมูลกระทรวงสาธารณสุขปีงบประมาณ 2559. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข.

อนันต์ อนันตกูล. (2560). สังคมสูงวัย...ความท้าทาย ประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสภา.

อภิวรรณ ณัฐมนวรกุล. (2565). ยุทธศาสตร์สังคมสูงวัยของไทย: การจัดตั้งศูนย์สมาคม แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) เพื่อผู้สูงอายุที่มี ศักยภาพและนวัตกรรม (ASEAN Centre for Active Ageing and Innovation; ACAI) และนโยบายมุ่งเน้น กระทรวงสาธารณสุขด้านผู้สูงอายุ ปี พ.ศ. 2565. วารสารกรมการแพทย์, 46(4), 5.

MIPAA. (2002). Madrid International Plan of Action on Ageing 2002. Create Space Independent Publishing Platform.

Taro Yamane. (1973). Statistic: An Introductory Analysis. (3rded). New York: Harper and Row.

United Nations. (2020). World Population Prospect, the 2020 Revision. N.p.: United Nations.