การพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยในศตวรรษที่ 21

Main Article Content

สุภิมล บุญพอก

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาคู่มือการพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยในการจัดกิจกรรมการสอนเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรมโดยใช้คู่มือในการพัฒนาสมรรถนะ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย จำนวน 100 คน ได้มาจากวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่ คู่มือการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และแบบทดสอบก่อนและหลังการจัดกิจกรรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และค่า t–test โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ


ผลการวิจัย พบว่า


1. คู่มือการพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยในการจัดกิจกรรมการสอนเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 มีกิจกรรมการสอนเด็กปฐมวัยหกกิจกรรมหลักที่สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21 ซึ่งมีประสิทธิภาพ 93.20/91.60 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80


2. นักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยมีสมรรถนะในการจัดกิจกรรมการสอนเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 ก่อนและหลังแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีคะแนนเฉลี่ยหลังการจัดการกิจกรรมการเรียนรู้สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กันตวรรณ มีสมสาร. (2560). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของครูปฐมวัยในศตวรรษที่ 21. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 7(2), 45-56.

กุญช์ภัสส์ พงษ์พานิชย์. (2561). การวิเคราะห์องค์ประกอบและตัวบ่งชี้สมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนนักเรียนระดับปฐมวัยที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 13(1), 1-12.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

เบญจวรรณ ถนอมชยธวัช ผ่องศรี วาณิชย์ศุภวงศ์ วุฒิชัย เนียมเทศ และณัฐวิทย์ พจนตันติ. (2559). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21: ความท้าทายในการพัฒนานักศึกษา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 3(2), 210-212.

บังอร เสรีรัตน์. (2562). บรรยายพิเศษ โครงการ พัฒนาระบบบริหารจัดการด้านการประกันคุณภาพการศึกษา : มหกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการเรียนการสอน ครั้งที่ 3 “การเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนา สมรรถนะผู้เรียน” 22 พฤษภาคม 2562. ณ ห้องประชุมคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

พนมนคร มีราคา. (2560). ครูต้องมีลักษณะอย่างไรในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 5(2), 23-35.

พิชญาภา ยืนยาว. (2562). ครูมืออาชีพในศตวรรษที่ 21. นครปฐม: โครงการตำรามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

รวี ศิริปริชยากร. (2560). การพัฒนาคุณลักษณะครูปฐมวัยมืออาชีพในศตวรรษที่ 21 ตามหลักสมรรถนะครูผ่านการจัดการเรียนรู้ด้วยโครงงาน (Project - based Learning). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2553). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

วราลี โกศัย มัลลิกา เจริญพจน์ นิตยา บรรณประสิทธิ์ วิไลวรรณ ศิริเมฆา ธนากร เทียมทัน และวิภารัตน์ อิ่มรัมย์. (2561). รูปแบบการพัฒนาครูโดยใช้การจัดประสบการณ์แบบสะเต็มที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 10(2), 121-142.

วนิดา ภูวนารถนุรักษ์. (2552). สมรรถนะครูไทย. วารสารรามคําแหง, 26(5),61-71.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2559). โครงการทำความดีเพื่อพ่อ. กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ 336. เข้าถึงได้จาก http://bpp336.com/. 15 กรกฎาคม 2565.

สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดร้อยเอ็ด. (2564). แผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด (พ.ศ. 2562 – 2565) ฉบับทบทวน พ.ศ. 2564. ร้อยเอ็ด: สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดร้อยเอ็ด.

สุกัญญา ทองนาค. (2555). การพัฒนาแบบทดสอบสมรรถนะนักศึกษาตามมาตรฐานวิชาชีพครูแบบพหุมิติที่มีการตรวจให้คะแนนแบบพหุวิภาค. วิทยานิพนธ์ ค.ด. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อนุศรา อุดทะ และจิติมา วรรณศรี. (2563). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของครูปฐมวัย สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 22(4), 305-316.

Partnership for 21st Century Skills. (2009). 21st Century Support Systems. Retrieved from www.21stcenturyskills.org/route21/index. September 6th, 2014.