DEVELOPMENT OF COMPETENCY INDICATORS FOR SOCIAL STUDIES TEACHERS IN THE 21ST CENTURY UNDER BUENG KAN PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะครูสังคม ในศตวรรษที่ 21 และ 2) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้สมรรถนะครูสังคม ในศตวรรษที่ 21 กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ จำนวน 352 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือ คือ แบบวัด มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ค่าความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างเท่ากับ 0.80–1.00 มีค่าอำนาจจำแนก (r) อยู่ระหว่าง 0.23 ถึง 0.87 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.92 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA)
ผลการวิจัยพบว่า
1. โมเดลการวัดสมรรถนะครูสังคม ในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย ตัวแปรแฝง 7 ตัว และตัวแปรสังเกตได้ 21 ตัว ได้แก่ ด้านการจัดการชั้นเรียน ด้านบุคลิกภาพความเป็นครูสังคม ด้านการจัดการเรียนรู้วิชาสังคม ด้านความรู้ความสามารถของครูสังคม ด้านทักษะการสื่อสาร ด้านทัศนคติต่อวิชาชีพครู และด้านประสิทธิผลด้านหลักสูตร
2. โมเดลที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่าไค-สแควร์ เท่ากับ 9.642 ค่าองศาอิสระ (df) เท่ากับ 8 ค่า GFI เท่ากับ 0.992 ค่า CFI เท่ากับ 0.998 ค่า RMR เท่ากับ 0.004 ค่าดัชนี RMSEA เท่ากับ 0.024 มีค่าน้ำหนัก องค์ประกอบ อยู่ระหว่าง 0.548–0.748 โดยมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ ด้านทักษะการสื่อสาร เท่ากับ 0.548 ด้านบุคลิกภาพความเป็นครูสังคมในศตวรรษที่ 21 เท่ากับ 0.650 ด้านทัศนคติต่อวิชาชีพครู เท่ากับ 0.667 ด้านการจัดการชั้นเรียน เท่ากับ 0.683 ด้านความรู้ความสามารถของครูสังคม เท่ากับ 0.715 ด้านประสิทธิผลด้านหลักสูตร เท่ากับ 0.748 และด้านการจัดการเรียนรู้วิชาสังคม เท่ากับ 0.765 ตามลำดับ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
References
ฐิติยา อัลอิดรีสี. (2552). การพัฒนาตัวบ่งชี้การส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 ในจังหวัดปัตตานี. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.
นครชัย ชาญอุไร. (2560). การวิจัยทางการศึกษา. อุดรธานี: หจก.โรงพิมพ์บ้านเหล่าการพิมพ์ 1993.
นิตยา พรมพินิจและคณะ. (2558). การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณภาพชีวิตครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 5(3) 42-47.
ประกิต สิงห์ทอง และคณะ. (2560). การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 13(1), 64-76.
ยนต์ ชุ่มจิตร. (2553). ความเป็นครู. กรุงเทพฯ: โอเอส พริ้นติ้งเฮ้า.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2550). ทฤษฏีการประเมิน. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ และกรรณิการ์ สุขเกษม. (2551). วิธีวิทยาการวิจัย เชิงคุณภาพ: การวิจัยปัญหาปัจจุบันและการวิจัยอนาคตกาล. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สามลดา.
สุวัฒน์ งามยิ่ง. (2547). คุณลักษณะครูที่ดีของครู - อาจารย์วิทยาลัยสารพัดช่าง สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 1 และภาคกลาง 5. สารนิพนธ์ กศ.ม. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ,
องอาจ นัยพัฒน์. (2544). ตัวบ่งชี้ เกณฑ์ และมาตรฐานในการประเมิน. วารสารวัดผลการศึกษา, 22(64), 43-56.
Clark, B.I. (1995). Understanding Teaching: An Interactive Multimedia Professional Development Observational Tool for Teacher. Dissertation Thesis, Ph.D. Arizona State University. Department of Education, Training and Employment, Queensland Government. 2557. Quality of a Good Teacher.
Yamane, T. (1976). Statistics: An introductory analysis. (2nd ed.). New York: Harper and Row.