การพัฒนาความสามารถทางภาษาอังกฤษด้วยการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับการสอน เน้นการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร รูปแบบไฮบริดภายใต้สถานการณ์ COVID-19 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับการสอนเน้นการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารรูปแบบไฮบริดในการส่งเสริมความสามารถทางภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 2) เพื่อศึกษาพัฒนาการความสามารถทางภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับการสอนเน้นการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร รูปแบบไฮบริด วิธีดำเนินการวิจัยใช้หลักการและขั้นตอนของการวิจัยปฏิบัติการตามแนวคิดของ Kemmis and McTaggart (1988, p. 10) ซึ่งมีขั้นตอนการวิจัยแบบวงจร PAOR จำนวน 4 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ขั้นวางแผน ขั้นที่ 2 ขั้นปฏิบัติ ขั้นที่ 3 ขั้นสังเกตการณ์ และขั้นที่ 4 ขั้นสะท้อนผลการปฏิบัติ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 จำนวน 40 คน
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนมัธยมวัดหนองแขม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 ซึ่งได้มาวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 1 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง What We Wear จำนวน 9 แผน และ 2) แบบทดสอบความสามารถทางภาษาอังกฤษก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ ค่า t-test แบบ Dependent Samples และการหาค่าคะแนนพัฒนาการ (Gain Score) ด้วยวิธีวัดคะแนนเพิ่มสัมพัทธ์ (Relative Gain Score)
ผลการวิจัย พบว่า
1. คะแนนเฉลี่ยความสามารถทางภาษาอังกฤษก่อนจัดการเรียนรู้เท่ากับ 10.65 คะแนน คะแนนเฉลี่ยหลังจากการจัดการเรียนรู้เท่ากับ 14.28 คะแนน จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน และมีคะแนนเพิ่มสัมพัทธ์เท่ากับ 40.94 โดยความสามารถทางภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับการสอนเน้นการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร รูปแบบไฮบริดภายใต้สถานการณ์ COVID-19 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. ความสามารถทางภาษาอังกฤษของนักเรียนที่ใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับการสอนเน้นการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารรูปแบบไฮบริดหลังการทดลองใช้นวัตกรรมทั้งวงรอบที่ 2 และ 3 ความสามารถทางภาษาอังกฤษของนักเรียนมีพัฒนาการที่เพิ่มขึ้น สรุปได้ดังนี้ โดยนักเรียนมีพัฒนาการระดับสูงมาก 1 คน (ร้อยละ 2.50) พัฒนาการระดับสูง 11 คน (ร้อยละ 27.50) พัฒนาการระดับกลาง 20 คน (ร้อยละ 50.00) พัฒนาการระดับต้น 3 คน (ร้อยละ 7.50) และไม่มีพัฒนาการ 5 คน (ร้อยละ 12.50)
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
References
กมล โพธิเย็น. (2564). Active Learning: การจัดการเรียนรู้ที่ตอบโจทย์การจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 19(1), 11-28.
กิตติพันธ์ วิบุลศิลป์. (2560). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับทางร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุกที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ ค.ม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
คัมภีรภาพ คงสำรวย และคณะ. (2564). การใช้เครื่องมือออนไลน์สําหรับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่ : และโรคอุบัติซ้ำ : กระบวนทัศน์และการประยุกต์ใช้. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 10(2), 923-937.
ชัยวัฒน์ สุภัควรกุล สุทธิพงศ์ หกสุวรรณ และนิคม ชมพูหลง. (2560). การพัฒนาระบบการเรียนการสอนแบบไฮบริด สําหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏ. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยสารคาม, 23(1), 66-67.
ณัฐวดี ธาตุดี. (2562). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning). วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 17(2), 129-142.
ทัศนีย์ ชาวปากน้ำ. (2557). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษตามแนวการสอนอ่านเพื่อการสื่อสารโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดนครปฐม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 6(1), 117-128.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยสาสน์.
พรประภา ชัยนา. (2564). การพัฒนาความสามารถในการอ่านเชิงรุกและความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการเนื้อหาและภาษา. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 13(1), 336-352.
วิจิตรา ศิริวงศ์ และประสิทธิ์ สระทอง. (2562). การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน Classroom Action Research. วารสารสิรินธรปริทรรศน์, 20(2), 199-213.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2557). การคำนวณคะแนนพัฒนาการ (Gain Score). สารสมาคมวิจัย สังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย. 1(1), 1-20.
ศิวาพัชญ์ บำรุงเศรษฐพงษ์ และคณะ. (2563). การเรียนการสอนแบบไฮบริด (Hybrid Learning) กับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทย ในศตวรรษที่ 21. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 12(3), 213-224.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2460-2579. กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
สํานักงานวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
Canale, M., & Swain, M. (1980). Theoretical bases of communicative approaches to second language teaching and testing. Applied Linguistics, 1(1), 1-47.
Fluckinger, J. et al. (2010). Formative feedback: Involving students as partners in assessment to enhance learning. College Teaching, 58(4), 136–140.
Graham, C.R. (2012). Introduction to Blended Learning. Retrieved from http://www.media.wiley.com/product_data/except/86/C.pdf. November 27th, 2021.
Kemmis, S., & McTaggart, R. (1988). The Action Research Planner. (3rded). Victoria: Deakin University.
Sherman, S. J., & Sherman, B. S. (2004). Science and Science Teaching. Westport: Greenwood Press.
Stanford Teaching Commons. (2022). Course Design Overview. Retrieved from https://teachingcommons.stanford.edu. February 16th, 2022.