ผลการจัดการเรียนรู้วิชาพฤติกรรมองค์การโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงของนักศึกษา หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

Main Article Content

ชวลิต เกิดทิพย์

บทคัดย่อ

การวิจัยในชั้นเรียนครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการตั้งคำถามเชิงวิพากษ์โดยใช้กรณีศึกษาและศึกษาผลการเขียนบันทึกการสะท้อนคิดในวิชาพฤติกรรมองค์การของนักศึกษา หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี กลุ่มเป้าหมายเป็นนักศึกษา หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ชั้นปีที่ 2 ที่ศึกษาในวิชาพฤติกรรมองค์การ ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแผนการเรียนออกแบบโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง จำนวน 15 แผน และแบบบันทึกรายการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา 


ผลวิจัย พบว่า 1) ลักษณะการตั้งคำถามเชิงวิพากษ์โดยใช้กรณีศึกษาในวิชาพฤติกรรมองค์การของนักศึกษา หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มี 3 ลักษณะ ได้แก่ (1) คำถามที่ความย้อนแย้ง (2) คำถามที่เน้นกระบวนการทำงานในองค์การ และ (3) คำถามที่เน้นคุณค่าและจิตวิญญาณ 2) ผลการเขียนบันทึกการสะท้อนคิดในวิชาพฤติกรรมองค์การของนักศึกษา หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มี 4 กลุ่ม ได้แก่ (1) กลุ่มความคิดถูกครอบงำด้วยประสบการณ์เดิม (2) กลุ่มสร้างความหมายใหม่ (3) กลุ่มที่ใช้ความรักหล่อเลี้ยง และ (4) กลุ่มที่เคยถูกกดขี่

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2563). แผนปฏิบัติการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.

กิจการ พรหมมา และลลิตกร พรหมมา. (2559). อาจารย์มหาวิทยาลัย ชีวิต กลยุทธ์การทำผลงานทางวิชาการ และการขอตำแหน่งทางวิชาการ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการจิตตปัญญาศึกษา. (2552) กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

ชวลิต เกิดทิพย์. (2561). เอกสารคำสอนพฤติกรรมองค์การ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

โรส ภักดีโต และจุไร อภัยจิรรัตน์ (2559). การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เรื่อการตัดสินใจเชิงจริยธรรมสำหรับนักศึกษาพยาบาล. วารสารพยาบาลสภาการชาดไทย, 9(1), 1–10.

วรรณดี สุทธินรากร. (2560). การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง และการวิจัยเชิงปฏิบัติการ. กรุงเทพฯ: สยามปริทัศน์.

_______. (2561). การวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: สยามปริทัศน์.

วอล์กเกอร์, ทิโมธี ดี. (2562). สอนฟิน เรียนสนุก สไตล์ฟินแลนด์. แปลจาก Teach like Finland. แปลโดย ทิพย์นภา หวนสุริยา. กรุงเทพฯ: บุ๊คสเคป.

ปรีชา นวลเป็นใย. (2561). ประชากรสูงวัยและแนวโน้มในอนาคต. วารสารข้าราชการ, 60(4), 3–5.

Ackoff, R.L. (2002). Planning in the Systems Age. The Indian Journal of Statistics, 35(2), 149-164.

Berger, W. (2014). A More Beautiful Question: The Power of Inquiry to Spark Breakthrough Ideas. NY: Bloomsbury.

Christie, M., Carey, M., Robertson, A., & Grainger, P. (2015). Putting transformative learning theory into practice. Australian Journal of Adult Learning, 55(1), 10-30.

Colagrossi, M. (2020). 10 reasons why Finland's education system is the best in the world. Retrieved from https://www.weforum.org/agenda/2018/09/10-reasons-why-finlands-education-system-is-the-best-in-the-world. September 18th, 2021.

Creswell, J. W., & Poth, C.N. (2017). Qualitative Inquiry and Research Design: Choosing Among Five Approaches. (4thed.). Thousand Oaks, CA: Sage Publications.

Howie, P. & Bagnall, R. (2013). A beautiful metaphor: Transformative learning theory. International Journal of Lifelong Education, 32(6), 816-836.

Mezirow, J. (2000a). Learning to think like and adult: Core concepts of transformative theory. In J. Mezirow & Associates (Eds.), Learning as transformative: Critical perspectives on a theory in progress (pp.3–33). San Francisco, CA: Jossey-Bass.

_______. (2000b). Learning as transformation: Critical perspective on theory in progress. San Francisco, CA: Jossey-Bass.

Morse, J. D., & Field, P. A. (1995). Qualitative research method for health professionals. (2nded.). Thousand Oaks, CA: Sage Publications.

Kitchenham, A. (2008). The evolution of John Mezirowûs transformative learning theory. Journal of Transformative Education. 6(2):104-23. Retrieved from: http://jtd.sagepub.com/content/6/2/104. June 7th, 2021.

O’Sullivan, E. (2003). Being a perspective of consumption. International journal of consumer studies, 27(4), 326–330.

Taylor, E. W. (2001). Transformative learning theory: a neurobiological perspective of the role of emotions and unconscious ways of knowing. Journal of Lifelong Education, 20(3), 218–236.