การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับรูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาภาษาอังกฤษโดยการวิเคราะห์อภิมาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาลักษณะงานวิจัย และ 2) เปรียบเทียบค่าขนาดอิทธิพลของงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นงานวิจัยในระดับบัณฑิตศึกษาที่เป็นวิทยานิพนธ์หรือปริญญานิพนธ์ในมหาวิทยาลัยของรัฐภายในประเทศ ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ระหว่างปี พ.ศ. 2543-2561 ที่สามารถสืบค้นได้จากฐานข้อมูล ThaiLIS จำนวน 128 เรื่อง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบประเมินคุณภาพงานวิจัย และเกณฑ์การประเมินคุณภาพงานวิจัย 2) แบบบันทึกคุณลักษณะงานวิจัย และคู่มือลงรหัสงานวิจัย การคำนวณค่าขนาดอิทธิพลของงานวิจัยใช้สูตรของ Glass สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเปรียบเทียบความแตกต่างของขนาดอิทธิพลโดยใช้สูตรของ Kruskal-Wallis Test ผลการวิจัย พบว่า 1. งานวิจัยที่ผลิตในปี 2557 มีจำนวนมากที่สุด สถาบันที่มีจำนวนงานวิจัยมากที่สุด คือ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี สาขาที่ผลิตงานวิจัยมากที่สุด คือ สาขาหลักสูตรและการสอน ระดับชั้นของกลุ่มตัวอย่างที่มีจำนวนงานวิจัยมากที่สุด คือ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น รูปแบบการเรียนการสอนที่ใช้มากที่สุด คือ รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการบูรณาการ ระยะเวลาในการทดลอง ระหว่าง 11-20 ชั่วโมง มีจำนวนมากที่สุด งานวิจัยโดยส่วนมากใช้วิธีการสุ่มโดยอาศัยหลักความน่าจะเป็น แบบแผนการวิจัยแบบ One-Group Pretest-Posttest Design มีจำนวนงานวิจัยมากที่สุด การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือโดยส่วนมากมีค่าความเที่ยงตรง ความเชื่อมั่น ความยากง่าย และอำนาจจำแนก สถิติพื้นฐานที่ใช้มากที่สุด คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอ้างอิงที่ใช้มากที่สุด คือ t-test 2. วิเคราะห์เปรียบเทียบค่าขนาดอิทธิพลของรูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ โดยใช้สถิติของ Kruskal-Wallis Test 2.1 ค่าขนาดอิทธิพลของรูปแบบการเรียนการสอนมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2 ระดับชั้นของกลุ่มตัวอย่างกับค่าขนาดอิทธิพลของรูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ พบว่า แตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
References
คณิตา ดอกเขียว. (2546). การสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ โดยวิธีวิเคราะห์อภิมาน. วิทยานิพนธ์ ค.ม. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
คัมภีรพจน์ สายเพ็ชร. (2551). การสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวกับการสอนภาษาอังกฤษที่เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างการใช้นวัตกรรมกับการสอนปกติโดยวิธีวิเคราะห์อภิมาน. วิทยานิพนธ์ ค.ม. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
จตุพล นามนาย. (2562). การพัฒนาทักษะการพูดและการเขียนภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 6 นครเชียงราย. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง กศ.ม. พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา.
เจนจิรา ดวงสิน. (2552). รูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ : การวิเคราะห์อภิมาน. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ดารณี ม่วงโต. (2559). การวิเคราะห์อภิมานงานวิจัยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษกับตัวแปรที่เกี่ยวข้องโดยการวิเคราะห์อภิมาน. วิทยานิพนธ์ ค.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ทัศนีย์ ทองศรี. (2558). การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้บทบาทสมมติ. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ศศ.ม. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ทัศยา จุลนีย์. (2557). การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษแบบโครงงานเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิด ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และเจตคติต่อการเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ ค.ม. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 21). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิพากร สุขชูศรี. (2560). การเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษและความพึงพอใจต่อกิจกรรมการสอนระหว่างกิจกรรมการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารแบบ 3Ps กับกิจกรรมการสอนแบบซิปปา (CIPPA Model) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2529). การสังเคราะห์งานวิจัย. วารสารการวัดผลการศึกษา, 8(23), 26-36.
นงลักษณ์ วิรัชชัย และสุวิมล ว่องวาณิช. (2541). การสังเคราะห์งานวิจัยทางการศึกษาด้วยการวิเคราะห์อภิมานและการวิเคราะห์เนื้อหา. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 38.
เนตรวรา ศรีสิน. (2556). การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค ซี ไอ อาร์ ซี เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุริยสาส์น.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2531). หลักการวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). ม.ป.พ.
วรรณี สุจจิตร์จูล. (2552). การสังเคราะห์งานวิจัยรูปแบบการเรียนการสอน หลังยุคปฏิรูปการศึกษา พุทธศักราช 2542 โดยการวิเคราะห์อภิมาน. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วราภรณ์ พันธุ์แก้ว. (2560). การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ที่ส่งผลต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หรือเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา โดยวิธีการวิเคราะห์อภิมาน. วิทยานิพนธ์ ค.ม. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
วริษา จันทร์ลี. (2560). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านและการเขียนเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษ ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ ค.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
สายใจ ชลินทรวัฒน์. (2550). ผลของการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคแบ่งกลุ่มคละผลสัมฤทธิ์ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ ค.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.
สุพิชญา พูลลาภ. (2562). การพัฒนาทักษะการฟัง-พูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร โดยใช้บทบาทสมมติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ ค.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). รายงานการศึกษาไทย พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟิก จำกัด.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2548). การวัดและประเมินผลอิงมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.พ.ศ.).
สุพัตรา มูลละออง. (2557). การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจโดยใช้การอ่านกลวิธีแบบร่วมมือและเทคนิคแผนผังกราฟิก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุภาวรรณ อินต๊ะแก้ว. (2557). การใช้เกมการแข่งขันระหว่างกลุ่มเพื่อส่งเสริมความรู้ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษ และทักษะสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุมิตรา อังวัฒนกุล. (2540). วิธีสอนภาษาอังกฤษ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อุทุมพร จามรมาน. (2531). การสังเคราะห์งานวิจัย: เชิงปริมาณ (Research Synthesis: A Quantitative Approach) เน้นวิธีวิเคราะห์เมตต้า (A Meta Analysis). กรุงเทพฯ: ฟันนี่พับบลิชชิ่ง.
อุทุมพร พันธ์ชมภู. (2555). การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับวิธีการจัดการเรียนการสอนที่ส่งผลต่อการเรียนคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษา : โดยการวิเคราะห์อภิมาน. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Jackman, H. & Swan, K. (1996). Instructional Models Effective in Distance Education. Paper presented at the Annual Meeting of the American Educational Research Association (New York, NY, April 8-12, 1996).
Joyce, Weil and Showers. (1992). Models of Teaching. (4th ed.). Needham Height Massachusetts: Ally and Bacon.