ความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนในสหวิทยาเขต จตุรวิทย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ทศพล ศิริคุปต์
อำนวย ทองโปร่ง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนในสหวิทยาเขตจตุรวิทย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 กรุงเทพมหานคร โดยจำแนกตามวุฒิการศึกษา อายุ และประสบการณ์ในการทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในครั้งนี้เป็นครูในโรงเรียนสหวิทยาเขตจตุรวิทย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 กรุงเทพมหานคร จำนวน 168 คน ซึ่งกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตาราง Cohen โดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ (stratified random sampling) จากนั้นสุ่มอย่างง่ายเพื่อให้ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างตามสัดส่วนของขนาดกลุ่มตัวอย่างและกลุ่มประชากร (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามที่ผ่านการทดสอบหาค่าอำนาจจำแนกและค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) ได้ค่าอำนาจจำแนก .227-.835 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .968 ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์เปรียบเทียบความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนโดยการทดสอบค่าที (t-test ชนิด Independent Samples) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1. ครูมีความคิดเห็นต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนในสหวิทยาเขตจตุรวิทย์ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. ครูที่มีวุฒิการศึกษา อายุ และประสบการณ์ในการทำงานต่างกันมีความคิดเห็นต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนในสหวิทยาเขตจตุรวิทย์ ในภาพรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสนค้าและพัสดุ.

________. (2547). คู่มือการปฏิบัติงานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

กาญจนา พรมลักษณ์. (2559). ความคิดเห็นของครูต่อพฤติกรรมการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มเครือข่ายโรงเรียนที่ 51 เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ ศษ.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2553). การบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล Good Governance. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ซาลีล่า ลาหมีด. (2559). การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารตามทัศนะของครูโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม สังกัด สำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดสตูล. สารนิพนธ์ ศษ.ม. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

ทวีวัฒน์ อินทรประเสริฐ (2559). การปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17. วิทยานิพนธ์ ค.ม. จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี.

ธีระ รุญเจริญ. (2548). สู่ความเป็นผู้บริหารมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.

ผจญ อหันตะ (2558). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนของรัฐในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ รป.ม. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระปรเมศวร์ ปญฺญาวชิโร. (2554). ความคิดเห็นของครูผู้สอนต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา ในเขตอำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์ พธ.ม. นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระปลัดไพรวัลย์ ชาคโร. (2558). การบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักการศึกษา สำนักงานเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ พธ.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระปิยวัฒน์ ปิยสีโล. (2554). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ของเทศบาลเมืองแพร่จังหวัดแพร่. วิทยานิพนธ์ พธ.ม. แพร่: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระสกล ฐานธมฺโม. (2556). การบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา ในจังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์ พธ.ม. นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

“ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี,” ราชกิจจานุเบกษา. เข้าถึงได้จากhttps://www.nesdc.go.th/download/document/SAC/NS_PlanOct2018.pdf. 11 กันยายน 2563.

รัชต์วรรณ กาญจนปัญญาคม. (2552). การศึกษางานงานอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: ท้อป จำกัด.

สันต์ติ เกราะแก้ว. (2558). ความคิดเห็นของครูที่มีต่อสภาพการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช. การค้นคว้าอิสระ ศษ.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สัมมนา ธรนิธย์. (2553). หลักทฤษฎีและการปฏิบัติการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่างจำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2542). การสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี. เอกสารประกอบการประชุมประจำปีระหว่างส่วนราชการกับสำนักงานคณะกรรมการข้างราชการพลเรือน. นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. (2562). รายงานผลการดำเนินงานตรวจสอบภายในประจำปีงบประมาณ 2562. เข้าถึงได้จาก http://www.secondary2.obec.go.th/sesao2/index2.html. 3 กันยายน 2563.

สำนักนายกรัฐมนตรี. (2546). ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2546. กรุงเทพฯ: สำนักงานข้าราชการพลเรือน.

อุษารัตน์ ดาวลอย. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารด้วยหลักธรรมาภิบาลกับประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 สระบุรี. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

Cohen, L, Minion, L, & Morrison, K. (2011). Research methods in education. (7th ed.). New York: Routledge.