ปัจจัยในการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าศึกษาในโรงเรียนชลกันยานุกูล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18

Main Article Content

รวีวัลย์ เนื่องจำนงค์
สุภาวดี ลาภเจริญ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบปัจจัยในการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าศึกษาในโรงเรียนชลกันยานุกูล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 ประกอบด้วย ด้านการจัดการศึกษา ด้านครูผู้สอน ด้านค่าใช้จ่ายในการศึกษา ด้านอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม และด้านความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษากับผู้ปกครองและชุมชน โดยจำแนกตามระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยของครอบครัวต่อเดือน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนชลกันยานุกูล จำนวน 291 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ (frequency) ร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) และการเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe method) ผลการศึกษา พบว่า 1. ปัจจัยในการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าศึกษาในโรงเรียนชลกันยานุกูล โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2. การเปรียบเทียบปัจจัยในการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าศึกษาในโรงเรียนชลกันยานุกูล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 จำแนกตามระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยของครอบครัวต่อเดือน ปรากฏ ดังนี้ 2.1 ผู้ปกครองที่มีระดับการศึกษาต่างกันมีปัจจัยในการตัดสินใจในการส่งบุตรหลานเข้าศึกษาในโรงเรียนชลกันยา นุกูล โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 2.2 ผู้ปกครองที่มีรายได้ของครอบครัวเฉลี่ยต่อเดือนต่างกันมีปัจจัยในการตัดสินใจในการส่งบุตรหลานเข้าศึกษาในโรงเรียนชลกันยานุกูล โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน แต่ในด้านอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผู้ปกครองที่มีรายได้ของครอบครัวเฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท มีปัจจัยในการตัดสินใจในการส่งบุตรหลานเข้าศึกษามากกว่าผู้ปกครองที่มีรายได้สูงกว่า 30,000 บาท

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา มักเขียว. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าศึกษาในโรงเรียนโชติกาญจน์ เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ บธ.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

จาตุรันต์ พันธวาส. (2560). การตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าศึกษาโรงเรียนบางละมุง อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี. งานนิพนธ์ กศ.ม. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ธนพล ชัยชนะ. (2560). การตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าศึกษาในโรงเรียนศรีราชา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. งานนิพนธ์ กศ.ม. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ธีระ รุญเจริญ. (2550). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษา ยุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.

นคร ผ่องใส. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครองในเขตพื้นที่นอกบริการในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนเชียงคำวิทยาคม จังหวัดพะเยา. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง กศ.ม. พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา.

นิจกาญจน์ นามมาลา. (2558). ปัจจัยในการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนประถมศึกษาโรงเรียนสาธิตละอออุทิศ. วิทยานิพนธ์ ค.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

ปรัศนี ดีนาค. (2560). การศึกษาการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนอัสสัมชัญระยอง ระดับปฐมวัย. งานนิพนธ์ กศ.ม. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

พจนารถ วิเชียรเทียบ. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครอง ในการส่งบุตรหลานเข้าศึกษาต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนชลกันยานุกูล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. งานนิพนธ์ กศ.ม. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

พรธิวา พรมน้ำฉ่า. (2561). การตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานศึกษาในโรงเรียนคาทอลิก สังกัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ เขต 3. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พิชญา โพธิ์ทอง. (2560). การตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนโครงการเรียนสองภาษา (English program) โรงเรียนพนัสพิทยาคาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. งานนิพนธ์ กศ.ม. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

โรงเรียนชลกันยานุกูล. (2563). ข้อมูลพื้นฐาน. เข้าถึงได้จาก http://www.chonkanya.ac.th/index.htm. 9 สิงหาคม 2563.

วรารัตน์ คำยอง. (2560). การศึกษาการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสตรีประเสริฐศิลป์ จังหวัดตราด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17. งานนิพนธ์ กศ.ม. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

วรรณรัตน์ กลิ่นอุทัย. (2558). ปัจจัยการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียน โรงเรียนราชวัตรวิทยา เขตดุสิตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

เหม หมัดอาหวา. (2559). ปัจจัยการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนในสถานศึกษาอกชน ระดับอนุบาลเขตเทศบาลนครหาดใหญ่. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

อรรถพล ยูถะสุนทร. (2559). การตัดสินใจของผู้ปกครองในการนำบุตรหลานเข้ามาศึกษาโรงเรียนนารานุบาล จังหวัดชลบุรี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. งานนิพนธ์ กศ.ม. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

Cohen, L. Manion, L. and Morrison, K. (2011). Research methods in education. Great Britain: Ashford Colour Press Ltd Gosport: Hampshire.