ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1

Main Article Content

พีระพงษ์ บัวชุม
ชาญวิทย์ หาญรินทร์
ไพฑูรย์ พวงยอด

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับปัจจัยการบริหารของสถานศึกษา (2) ศึกษาระดับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา (3) หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้าฝ่ายบริหารงานวิชาการ และครูผู้สอน (4) ศึกษาอำนาจพยากรณ์ของปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้าฝ่ายบริหารงานวิชาการ และครูผู้สอน จำนวน 338 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามจำนวน 2 ฉบับ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน                                                                               ผลการวิจัย พบว่า                                                                                                                                                                         1. ระดับปัจจัยการบริหารของสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด                                                                                            2. ระดับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก                                                                        3. ปัจจัยการบริหารสถานศึกษามีความสัมพันธ์กับระดับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา มีความสัมพันธ์กันในทางบวก อยู่ในระดับสูง                                                                                                                                                                      4. ปัจจัยการบริหารสถานศึกษาร่วมกันพยากรณ์ระดับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 มีอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 80 และมีความคลาดเคลื่อนการพยากรณ์ เท่ากับ 0.15 สามารถเขียนเป็นสมการได้ ดังนี้                                                                                                                                                           สมการในรูปคะแนนดิบ                                                                                                                                                                  gif.latex?{Y}' = 0.23 + 0.32X4 + 0.31X5 + 0.25X3 + 0.10X2 + 0.06 X7                                                                                                     สมการในรูปคะแนนมาตรฐาน                                                                                                                                                          gif.latex?{Z}'y = 0.36 ZX4 + 0.35 ZX5 + 0.27 ZX3 + 0.10 ZX2 + 0.06 ZX7

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรวีร์ เกษบรรจง. (2557). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการนิเทศภายในโรงเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1. วิทยานิพนธ์ ค.ม. เพชรบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

จอมพงศ์ มงคลวานิช. (2554). การบริหารองค์การและบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพ: เอ็น. วาย.ฟิล์ม.

ชาฤนี เหมือนโพธิ์ทอง. (2554). การบริหารแบบมีส่วนร่วมกับการทำงานเป็นทีมของพนักงานในสถานศึกษา สังกัดเทศบาลกลุ่มการศึกษาท้องถิ่นที่ 1. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน. (2551). การประยุกต์ใช้ SPSS วิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พระราชบัญญัติการศึกษาการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2). (2545). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่ 74 ก หน้า 1-28 (19 สิงหาคม 2542).

พรนภา บุราณรมย์. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

มนตรี อนันรักษ์ และคณะ. (2555). วิธีทางสถิติสำหรับการวิจัย. นครพนม: คณะศิลปะศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม.

เมรินทกาล พัฒนทรัพย์พิศาล. (2560). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23. วิทยานิพนธ์ ค.ม. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ราตรี สอนดี. (2559). ปัจจัยการบริหารทีส่งผลต่อประสิทธิภาพงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2551). การบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

วินัยพงษ์ คำแหง. (2553). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนในสังกัดเทศบาล จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ ค.ม. สงขลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

วิภาพร ยืนยง. (2560). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ ค.ม. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

ศิรภัสสร เตี้ยงสูงเนิน. (2555). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อผลการประกันคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1-7. วิทยานิพนธ์ ค.ม. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

สังข์ทอง รอญศึก. (2556). การพัฒนารูปแบบประสิทธิผลของการทำงานเป็นทีมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). คู่มือการปฏิบัติงานข้าราชการครู. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศจำกัด.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1. (2562). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2562. นครพนม: กลุ่มนโยบายและแผนงาน.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2556). รายงานการวิจัยและพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูและผู้บริหารแบบใช้โรงเรียนเป็นฐานในโรงเรียนขนาดเล็กระยะที่ 2 (ฉบับสรุป). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สำรวม คงสืบชาติ. (2559). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

อาฑิฏิยา โชคดีวัฒนา. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดตราด สังกัดสำนักงานเตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.