จิตวิญญาณในการทำงาน และการรับรู้วัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อความผูกพันในงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับจิตวิญญาณในการทำงาน การรับรู้วัฒนธรรมองค์การ และความผูกพันในงาน ของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของจิตวิญญาณในการทำงานและการรับรู้วัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อความผูกพันในงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี จำนวน 220 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า 1. จิตวิญญาณในการทำงานของบุคลากร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.58) การรับรู้วัฒนธรรมองค์การของบุคลากร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (
= 3.73) ความผูกพันในงานของบุคลากร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (
= 3.84) 2. ตัวแปรอิสระทั้ง 3 ตัวแปรย่อยของจิตวิญญาณในการทำงาน สามารถอธิบายความผูกพันในงานของบุคคลได้ร้อยละ 24.10 (R2Adj = 0.241) และมีความสัมพันธ์กับตัวแปรตามอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 (ค่า F = 24.173) ได้แก่ งานที่มีคุณค่าและความหมาย และความสอดคล้องกันระหว่างค่านิยมขององค์การและของบุคคล 3. ตัวแปรอิสระทั้ง 4 ตัวแปรย่อยของการรับรู้วัฒนธรรมองค์การ สามารถอธิบายความผูกพันในงานของบุคลากรได้ร้อยละ 58.20 (R2Adj = 0.582) และมีความสัมพันธ์กับตัวแปรตามอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 (ค่า F = 77.289) ได้แก่ วัฒนธรรมพันธกิจ วัฒนธรรมปรับตัว วัฒนธรรมเอกภาพ และวัฒนธรรมส่วนร่วม
Article Details
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
References
กอแก้ว จันทร์กิ่งทอง. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความรักผูกพันในงาน: การทบทวนวรรณกรรม. รายงานการวิจัย. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
ชนกาญจน์ พันธุ์เดิมวงศ์. (2559). จิตวิญญาณในการทำงาน: มิติใหม่ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์. วิทยานิพนธ์ รป.ด. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.
ชาญณรงค์ เศวตาภรณ์. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การกับประสิทธิผลองค์การของหน่วยงานสถานีตำรวจนครบาล. วิทยานิพนธ์ รป.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกริก.
ปภาวี กระบวนรัตน์. (2557). จิตวิญญาณในการทำงานในบริบทของวัฒนธรรมองค์การ และการรับรู้ความยุติธรรมในองค์การ กรณีศึกษา การไฟฟ้านครหลวง ฝ่ายจัดหา. วิทยานิพนธ์ บธ.ม. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
มธุรส วิไลลักษณ์. (2558). การศึกษาวัฒนธรรมองค์กร การทำงานร่วมกันเป็นทีม และการติดต่อสื่อสารที่มีผลต่อความผูกพันของพนักงานระดับปฏิบัติการกรณีศึกษา เขตบางพลี สมุทรปราการ. การค้นคว้าอิสระ บธ.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
รัตนาภรณ์ สืบสุข. (2555). ผลของวัฒนธรรมองค์การต่อความผูกพันของพนักงานในเขตนิคมอุตสาหกรรมภาคกลางของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยปทุมธานี.
สิทธิพร ปรีรอด. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างจิตวิญญาณในการทำงาน ความผูกพันต่อองค์การและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ: กรณีศึกษาสำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. การค้นคว้าอิสระ บธ.ม. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
สิน พันธุ์พินิจ. (2557). เทคนิคการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.
อรพินทร์ ชูชม. (2557). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลของความยึดมั่นผูกพันในงานของครู: รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Ashmos, D. P., & Duchon, D. (2000). Spirituality at Work. Journal of Management Inquiry, 9(2) ,134-145.
Bakker, A. B., & Leiter, M. P. (Eds.). (2010). Where to go from here: Integration and future research on work engagement. Usa and Canada: By psychology press.
Denison, Daniel R. (1990). Corporate Culture and Organization Effectiveness. New York: John Wiley and Sons. Denison.
Hellriegel, Don and Slocum, John W. (1982). Management. (3rd ed.) Sydney: Addison-Wesley.
Milliman, J., Czaplewski, A.J., & Ferguson, J. (2003). Workplace Spirituality and Employee Work Attitude: an Exploratory Empirical Assessment. Journal of Organizational Change Management, 16(4), 426-447.
Schaufeli, W. B., & Bakker, A. B. (2004). Job demands, job resources, and their relationship with burnout and engagement: A multi‐sample study. Journal of Organizational Behavior, 25(3), 293-315.