ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการส่งเสริมการท่องเที่ยว ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ในเขตอำเภอนาทม จังหวัดนครพนม

Main Article Content

ขนิจฐา ชัยบิล
สามารถ อัยกร
ละมัย ร่มเย็น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ในเขตอำเภอนาทม จังหวัดนครพนม 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของประชาชน จำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคล 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม ที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการส่งเสริมการท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ในเขตอำเภอนาทม และ 4) เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ในเขตอำเภอนาทม กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ประชาชนที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำเภอนาทม จังหวัดนครพนม จำนวน 394 คน และจะทำการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ


ผลการวิจัย พบว่า


  1. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ในเขตอำเภอนาทม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}= 3.85) อยู่ในระดับมากทุกด้าน

  2. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}= 4.04)

  3. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ในภาพรวม เมื่อจำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคลด้านระดับการศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และตำบลที่อาศัยอยู่ มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อจำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคล ด้านเพศ และอายุ ไม่มีความแตกต่างกัน ปัจจัยด้านวัฒนธรรม (มีค่าเบต้า = .412) ปัจจัยด้านสังคม (มีค่าเบต้า = .231) ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม (มีค่าเบต้า = .217) และปัจจัยด้านเศรษฐกิจ (มีค่าเบต้า = .162) มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ในเขตอำเภอนาทม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์พยากรณ์ = .811 โดยสามารถร่วมกันทำนายระดับการมีส่วนร่วมของประชาชน ได้ร้อยละ 80.90

            4. แนวทางในการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ในเขตอำเภอนาทม จังหวัดนครพนม ได้แก่ หน่วยงานของรัฐควรจัดส่งเสริมกระตุ้นให้ประชาชนในระดับชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมให้มากขึ้น สร้างความตระหนักให้ประชาชนเห็นประโยชน์ในการสนับสนุนปัจจัย ตามกำลังความสามารถของตนเอง ส่งเสริมให้ประชาชนในท้องถิ่นจัดแสดงวัฒนธรรมและกิจกรรมในท้องถิ่น เช่น การจัดแสดงสินค้าโดยชุมชน จัดแสดงความคิดเกี่ยวกับการนำเสนอการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ และจัดให้มีการฝึกอบรมเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวให้กับประชาชน เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมให้มากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลวรรณ บวรรุ่งสิริกุล. (2559). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการตลาดโบราณ กรณีศึกษาตลาดโก้งโค้ง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. สารนิพนธ์ บธ.ม. เพชรบุรี: มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.

กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย. (2561). คู่มือบริหารโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี. กรุงเทพฯ: กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2554). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ พ.ศ. 2555-2559. กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2558). ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวไทย พ.ศ. 2558-2560. กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา. (2562). สถิติด้านการท่องเที่ยว ปี 2562 (Tourism Statistics 2019). กรุงเทพฯ: กองเศรษฐกิจ

การท่องเที่ยวและกีฬา.

ณัฏฐินี ทองดี และกนก บุญศักดิ์. (2560). การจัดการตลาดการท่องเที่ยวโดยชุมชนของแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง ชี มูล เพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวประเทศไทย ลาว และเวียดนาม. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่, 9(2), 122-137.

ทักษิณ ปิลวาสน์. (2554). ยุทธศาสตร์การส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในเขตสามเหลี่ยมอันดามัน. วิทยานิพนธ์ ร.ม. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

เทิดชาย ช่วยบำรุง. (2552). บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนบนฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

ธนชาติ ปทุมสวัสดิ์. (2558). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง กรณีศึกษาเฉพาะชุมชนตลาดฝั่งโขง ดอนเมือง กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: รายงานการวิจัยสถาบันรัชต์ภาคย์.

นพพร ธนะชัยขันธ์. (2550). สถิติเบื้องต้นสำหรับการวิจัย. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.

ศิริพร รักษ์เจริญ. (2558). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดบริการสาธารณะด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

เพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองโคน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์ ร.ม. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.

สมคิด ศรีสิงห์. (2558). ปัจจัยที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนากิจกรรมของประชาชนในเขตเทศบาลนครพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก. การค้นคว้าอิสระ บธ.ม. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยปทุมธานี.

สุจันทรา สะพุ่ม. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในนโยบายการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของ ททท. กรณีศึกษา: เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี. การค้นคว้าอิสระ ศศ.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

อรรถกร จัตุกูล. (2560). บทบาทของชุมชนในท้องถิ่นต่อการพัฒนาตลาดการท่องเที่ยวจังหวัดบุรีรัมย์ กรณีศึกษาชุมชนวนอุทยานเขากระโดง. บุรีรัมย์: รายงานการวิจัยคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2557). สถิติในงานวิจัย เลือกใช้อย่างไรให้เหมาะสม. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.

ออนไลน์. (2563). ที่เที่ยวจังหวัดนครพนม. เข้าถึงได้จาก http://www.paiduaykan.com/province/Northeast/nakhonphanom/nakhonphanom.html. 28 กุมภาพันธ์ 2563.

ออนไลน์. (2563). การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชม. เข้าถึงได้จาก https://www.ldm.in.th/cases/5036. 28 กุมภาพันธ์ 2563.

Jones, A. P. (1974). Organizations Climate: A Review of theory and research. Psychological Bulletin, 81,1096-1112.

Kontogeorgopoulos, N., Churyen, A., & Duangsaeng, V. (2014). Success factors in community- based tourism in Thailand: The role of luck, external support, and local leadership. Tourism Planning and Development, 11(1), 106-124.

Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. Third editio. Newyork: Harper and Row Publication.