การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมภาวะผู้นำทางวิชาการของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษษนครพนม เขต 2

Main Article Content

อิสระ ชอนบุรี
วาโร เพ็งสวัสดิ์
อภิสิทธิ์ สมศรีสุข

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมภาวะผู้นำทางวิชาการของครู 2) ศึกษาประสิทธิภาพของหลักสูตรฝึกอบรมภาวะผู้นำทางวิชาการของครู การวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะคือ ระยะที่ 1 การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมภาวะผู้นำทางวิชาการของครู และระยะที่ 2 ศึกษาประสิทธิภาพของหลักสูตรฝึกอบรมภาวะผู้นำทางวิชาการของครู กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูโรงเรียนชุมชนนาพระชัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 จำนวน 12 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย หลักสูตรฝึกอบรมภาวะผู้นำทางวิชาการของครู แบบทดสอบชนิดเลือกตอบ มีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.30-0.80 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.21-0.72 และค่าความเชื่อมั่น 0.88 และแบบประเมินความพึงพอใจของครูที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบวิลค็อกซัน (The Wilcoxon Matched Pairs Signed-Ranks Test) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ


            ผลการวิจัย พบว่า 1) หลักสูตรฝึกอบรมภาวะผู้นำทางวิชาการของครู ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ จุดมุ่งหมายของหลักสูตร เนื้อหาของหลักสูตร กิจกรรมของหลักสูตร และการวัดและประเมินผลหลักสูตร 2) ผลการศึกษาประสิทธิภาพของหลักสูตรฝึกอบรมภาวะผู้นำทางวิชาการของครู พบว่า (2.1) ด้านความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะผู้นำทางวิชาการของครู หลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (2.2) ทักษะภาวะผู้นำทางวิชาการของครูที่เข้ารับการฝึกอบรมตามหลักสูตรฝึกอบรมภาวะผู้นำทางวิชาการของครู มีคะแนนเฉลี่ย 69.17 จากคะแนนเต็ม 76 คะแนน  คิดเป็นร้อยละ 91 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด  คือร้อยละ 70 (2.3) ความพึงพอใจของครูที่มีต่อหลักหลักสูตรฝึกอบรม อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กษมา วรวรรณ ณ อยุธยา. (2550). เอกสารประกอบการบรรยายพิเศษ พิธีเปิดการประชุมสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผู้ได้รับรางวัล “ครูดีในดวงใจ”. กรุงเทพฯ: สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: สยามสปอรต์ ซินดิเคท จำกัด.

เกศริน มนูญผล. (2544). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูเพื่อเสริมสมรรถภาพด้านการจัดทำหนังสือเสริมประสบการณ์ที่สอดคล้องกับท้องถิ่น. วิทยานิพนธ์. กศ.ด. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

ขนิษฐา ชัยประโคน. (2556). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูด้านพฤติกรรมเชิงบวก ในการเสริมสร้างวินัยของนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในเขตตรวจราชการที่ 11. วิทยานิพนธ์ ค.ด. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ฆนัท ธาตุทอง. (2550). เทคนิคการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). นครปฐม: เพชรเกษมการพิมพ์.

จันทร์จารี เกตุมาโร. (2555). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการสร้างภาวะผู้นำ. ดุษฎีนิพนธ์ ปร.ด. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

จิรฐา จรวงษ์. (2556). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครู เรื่อง กลยุทธ์การสอนทักษะการคิด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ กศ.ด. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2556). การพัฒนาหลักสูตร ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: วีพรินท์.

ชูชัย สมิทธิไกร. (2551). การฝึกอบรมบุคลากรในองค์กร. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธีรธร สุธีธร และคณะ. (2559). ภาวะผู้นำทางวิชาการของครูยุคใหม่. วารสารบริหารการศึกษา มศว, 13(24), 54-61.

บุญเลี้ยง ทุมทอง. (2553). การพัฒนาหลักสูตร. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปรางทอง ตรีพงษ์. (2550). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการจัดวางระบบควบคุมภายในของสถานศึกษาในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลพบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ ค.ม. ภูเก็ต: มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.

เพ็ชรี รูปะวิเชตร์. (2554). เทคนิคการฝึกอบรมและการประชุม. กรุงเทพฯ: ดวงกมล พับลิชชิง.

รุจิร์ ภู่สาระ. (2551). การพัฒนาหลักสูตร : ตามแนวปฏิรูปการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: บุ๊ค พอยท์.

สมกิจ กิจยรรยง และอรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง. (2550). เทคนิคการจัดฝึกอบรมอย่างมีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

สมใจ กงเติม. (2553). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการสอนคิดวิเคราะห์ สำหรับครูผู้สอนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ กศ.ด. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สรญา วัชระสังกาศ. (2559). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีเหตุผล สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3. วิทยานิพนธ์ ค.ม. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2553ก) พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติสำนักนายกรัฐมนตรี.

_______. (2553ข). คู่มือประเมินสมรรถนะครู. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (2561-2580). (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ.

สุภาภรณ์ บัณฑิตย์. (2558). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูปฐมวัยเพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2550). 19 วิธีจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

อนุชิต จันทศิลา. (2559). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อพัฒนาความสามารถด้านภาษาของผู้เรียนสำหรับครูประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

Dessler, G. (1999). Management: fundamentals modern principles and practice. (4th ed). Reston, VA: Reston.

Taba, H. (1962). Curriculum development: theory and practice. New York: Harcourt Brace Jovanovich.