แนวทางเพื่อการยกระดับคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็กในจังหวัดบึงกาฬ

Main Article Content

ธีระพล เพ็งจันทร์

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการจำเป็นของผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก ในจังหวัดบึงกาฬ และเพื่อสังเคราะห์แนวทางการยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก ในมิติการบริหารจัดการ การจัดการเรียนการสอน และการติดตามประเมินผล การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ คณะทำงานบูรณาการจัดทำแผนบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก ระดับจังหวัดและระดับอำเภอ ของจังหวัดบึงกาฬ และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก โดยมีวิธีดำเนินการวิจัยออกเป็น 4 วิธี คือ การศึกษาจากข้อมูลเอกสาร การศึกษาโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การศึกษาโดยการจัดสนทนากลุ่ม และการศึกษาโดยวิธีการสังเกตการณ์


ผลการวิจัย พบว่า


  1. สภาพ ปัญหา และความต้องการจำเป็น ในการดำเนินงานโรงเรียนขนาดเล็กในจังหวัดบึงกาฬ 4 ด้าน ได้แก่ 1) การบริหารวิชาการ ยังไม่สามารถมีอิสระ คล่องตัว รวดเร็ว ในการดำเนินงานและขาดการมีส่วนร่วมจากผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย ให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ 2) การบริหารงบประมาณ ควรมุ่งเน้นความเป็นอิสระในการบริหารจัดการมีความคล่องตัว โปร่งใส ตรวจสอบได้ยึดหลักการบริหารมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์และการบริหารงบประมาณ 3) การบริหารงานบุคคล สถานศึกษา ยังไม่สามารถ ปฏิบัติงานเพื่อตอบสนองภารกิจของตนเอง เพื่อดำเนินการด้านการบริหารงานบุคคลให้เกิด ความคล่องตัวอิสระภายใต้กฎหมาย ระเบียบเป็นไปตามหลักการธรรมาภิบาล และ 4) การบริหารทั่วไป การจัดระบบการบริหารองค์การ สามารถให้บริการการบริหารงาน อื่น ๆ แต่ยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร

            2. แนวทางการยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก ประกอบด้วย 1) กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนขนาดเล็กเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ประกอบด้วย กลยุทธ์หลักได้ 4 กลยุทธ์ 2) แนวปฏิบัติ ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนโรงเรียนขนาดเล็กในจังหวัดบึงกาฬ 5 รูปแบบ คือ 1) การจัดการเรียนรู้ แบบเรียนรวมช่วงชั้น 2) การจัดการเรียนรู้ แบบบูรณาการ 3) การเรียนการสอนผ่านดาวเทียม 4) การจัดการเรียนรู้ แบบโรงเรียนที่โรงเรียนน้อง 5) การจัดการเรียนรู้ แบบการเรียนรวมทุกชั้นเรียน
3) แนวปฏิบัติ ด้านการติดตามประเมินผล ประกอบด้วย 1) ประชุมชี้แจง 2) แต่งตั้งคณะกรรมการติดตามประเมินผล 3) ดำเนิน การประเมินผลตามวัตถุประสงค์ 4) สรุปและรายงานผลการประเมิน และ 5) วิเคราะห์ สังเคราะห์ผลการประเมิน เพื่อให้ได้ข้อมูลย้อนกลับในการปรับปรุงหรือพัฒนา

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

กมลวรรณ รอดจ่าย. (2552).การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพโรงเรียนขนาดเล็ก.วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำ ทางการศึกษา คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2559).ควบรวม ร.ร.เล็กนำร่องกว่าหมื่นแห่ง สพฐ.ยันไม่ใช่การยุบเลิกเน้นมีครูครบชั้น. (ออนไลน์)
(อ้างเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2562). จาก http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=45565&Key=hotnews
ขัตติยา ดวงสำราญ. (2552). รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
คณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ, (2534). สำนักงาน. เทคนิคและกระบวนการนิเทศ. กรุงเทพฯ:สำนักงาน
คณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ.
จรุญ จับบัง.(2554). รูปแบบการพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามยุทธศาสตร์การพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
ดอม พรมทอง.(2545)ปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาการปฏิบัติงานตามกระบวนการนิเทศภายในโรงเรียน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ทิศนา แขมมณี.(2546). ศาสตร์การสอนเพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 3.กรุงเทพฯ :
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธีระ รุญเจริญ. (2550).ความเป็นครูมืออาชีพในการจัดการศึกษาและการบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ : บริษัทข้าวฟ่างจำกัด.
ธีระพร อายุวัฒน์.(2552).แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษาภาควิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. (ออนไลน์) 2561. (อ้างเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2562). จาก
https://www.udru.ac.th/website/images/2019/.pdf
วรรณพร สุขอนันต์. (2550).รูปแบบการนิเทศภายในสำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก. วิทยานิพนธ์
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สมพิศ ใช้เฮง. (2554).การพัฒนากลยุทธ์การบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในเขตเมืองและชนบท. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา บริหารการศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.(2549).นวัตกรรมสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก. (ออนไลน์) 2549. (อ้างเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2562). จากhttp://plan.phatthalung1.go.th/plandata/km/montessori.pdf
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน,สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551).แผนยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก ปี 2551-2553. กรุงเทพมหานคร :โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดบึงกาฬ.(2562). แผนบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก ปี งบประมาณ พ.ศ.2563-2564.
บึงกาฬ: เอกสารอัดสำเนา, 2562.
สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ: (2562) (อ้างเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2562). จากhttp://www.ops.moe.go.th/ops2017
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2558). แนวทางกรแก้ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็ก.(ออนไลน์) (อ้างเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2562). จาก http://www.tdri.or.th