การพัฒนาชุดการสอนการ์ตูน สำหรับกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสมุทรสาครวิทยาลัย จังหวัดสมุทรสาคร

Main Article Content

วัชระ ประทุมรัตน์
อินทิรา รอบรู้

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาชุดการสอนการ์ตูนสำหรับกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสมุทรสาครวิทยาลัย จังหวัดสมุทรสาคร 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ที่เรียนโดยใช้ชุดการสอนการ์ตูนสำหรับกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษากับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ และ 3) เพื่อศึกษาลักษณะการทำงานเป็นทีมของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดการสอนการ์ตูนสำหรับกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสมุทรสาครวิทยาลัย วิธีการดำเนินการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/5 จำนวน 50 คน จัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการสอนการ์ตูนสำหรับกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา ส่วนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/6 จำนวน 50 คน เป็นกลุ่มเปรียบเทียบที่จัดการเรียนรู้แบบปกติ โดยผู้วิจัยทำการเลือกสุ่มแบบกลุ่ม และเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดการสอนการ์ตูน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ และแบบวัดลักษณะการทำงานเป็นทีม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของชุดการสอนการ์ตูนสำหรับกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสมุทรสาครวิทยาลัย จังหวัดสมุทรสาคร มีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.75/88.37
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดการสอนการ์ตูนสำหรับกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าการจัดการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ลักษณะการทำงานเป็นทีมของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดการสอนการ์ตูนสำหรับกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสมุทรสาครวิทยาลัย ในภาพรวมมีระดับการทำงานเป็นทีมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}= 4.53, S.D. = 0.47) เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน ผู้เรียนมีระดับการทำงานเป็นทีมอยู่ในระดับมากที่สุด ดังนี้ ด้านการมอบหมายการทำงาน ( gif.latex?\bar{x}= 4.81, S.D. = 0.37) ด้านเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ( gif.latex?\bar{x}= 4.71, S.D. = 0.44) ด้านการจัดการความขัดแย้งกันในกลุ่มโดยรวม (gif.latex?\bar{x}= 4.63, S.D. = 0.47) และด้านความไว้วางใจต่อกัน (gif.latex?\bar{x}= 4.57, S.D. = 0.75) ส่วนด้านการอภิปรายอย่างเปิดเผย อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}= 4.03, S.D. = 0.50)

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กวี วงศ์พุฒ. (2540). การบริหารงานเป็นทีมช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของงานมากขึ้น. วารสารเพิ่มผลผลิต, 36(5), 37-48.

นฤมล กรินรักษ์. (2556). การพัฒนาชุดการสอนประกอบการบรรยาย วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร เรื่องการผลิตสไลด์คอมพิวเตอร์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

นิตยา ภูผาบาง. (2559). การใช้กิจกรรมสะเต็มศึกษา เรื่อง พลาสติกชีวภาพจากแป้งมันสำปะหลังเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ วท.ม. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

บุญเกื้อ ควรหาเวช. (2543). นวัตกรรมการศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ปราณี รัตนชูศรี. (2556). เสริมสร้างทักษะการทำงานเป็นทีม โดยวิธีการสอนแบบการปฏิบัติงานกลุ่มนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ วท.ม. สงขลา: วิทยาลัยเทคโนโลยีหาดใหญ่อำนวยวิทย์.

ปาลิตา สุขสำราญ. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาที่ส่งเสริมจิตวิทยาศาสตร์และทักษะการแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ วท.ด. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

พลศักดิ์ แสงพรมศรี. (2558). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ และเจตคติต่อการเรียนวิชาเคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษากับแบบปกติ. วิทยานิพนธ์ วท.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

วัชรากร กุชโร. (2546). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการโรงพยาบาลในจังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ บธ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2558). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2557. เข้าถึงได้จาก http://www.newonetresult.niets.or.th/IndividualWeb/Mobile/frm StdGraphScoreMobile.aspx. 26 มีนาคม 2560.

. (2559). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2558. เข้าถึงได้จาก http://www.newonetresult.niets.or.th/IndividualWeb/Mobile/frmStdGraphScoreMobile.aspx. 26 มีนาคม 2560.

. (2560). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2559. เข้าถึงได้จาก http://www.newonetresult.niets.or.th/IndividualWeb/Mobile/frmStdGraphScoreMobile.aspx. 26 มีนาคม 2560.

. (2561). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2560. เข้าถึงได้จาก http://www.newonetresult.niets.or.th/IndividualWeb/Mobile/frmStdGraphScoreMobile.aspx. 26 มีนาคม 2560.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2556). สะเต็มศึกษากับการจัดการเรียนรู้ กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สุวพร พาวินิจ. (2555). การพัฒนาชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร โดยใช้กระบวนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้และแผนผังมโนทัศน์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ ค.ม. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

อุปการ จีระพันธุ. (2556). หลักสูตรการออกแบบเทคโนโลยี. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

National Research Council of the United States. (2012). A Framework for K-12 Science Education: Practices, Crosscutting Concept, and Core Ideas. Committee on New Science Education Standards, Board on Science Education, Division of Behavioral and Social Science and Education. Washington, DC: National Academy Press.

Todryk, L. (1990). The project manager as team builder: Creating an effective team. Project Management Journal, 21(2), 17–22.