การพัฒนาความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยจัดการเรียนรู้ตามวัฏจักรการเรียนรู้ 4MAT ร่วมกับเทคนิคหมวกหกใบ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยจัดการเรียนรู้ตามวัฏจักรการเรียนรู้ 4MAT ร่วมกับเทคนิคหมวกหกใบ ให้นักเรียนมีคะแนนความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 และมีจำนวนนักเรียนผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของนักเรียนทั้งหมด 2) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยจัดการเรียนรู้ตามวัฏจักรการเรียนรู้ 4MAT ร่วมกับเทคนิคหมวกหกใบ ให้นักเรียนมีมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 และมีจำนวนนักเรียนผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของนักเรียนทั้งหมด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/4 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 ของโรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล จังหวัดสกลนคร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 23 จำนวน 43 คน ได้มาโดยการสุ่ม
แบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) รูปแบบการวิจัยเป็นการศึกษาเฉพาะกรณีโดยให้การทดลองครั้งเดียวทดสอบหลังเรียน
(One-Shot Case Study) เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้วัฏจักรการเรียนรู้ 4MAT ร่วมกับเทคนิคการจัดการเรียนรู้หมวกหกใบ จำนวน 7 แผน เวลา 12 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และ 3) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ
ผลการวิจัย พบว่า
- นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณเฉลี่ยเท่ากับ 21.23 จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 70.77 และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ทั้งหมด 34 คน จากจำนวนนักเรียนทั้งหมด 43 คน คิดเป็นร้อยละ 79.07 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยเท่ากับ 22.04 จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 73.49 และมีจำนวน
นักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ทั้งหมด 37 คน จากจำนวนนักเรียนทั้งหมด 43 คน คิดเป็นร้อยละ 86.05 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
Article Details
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทยตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กรมวิชาการ. (2546). แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ: คณะอนุกรรมการพัฒนาคุณภาพวิชาการ กลุ่มกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน.
กลุ่มส่งเสริมการเรียนการสอนและประเมินผล. (2548). การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและวัสดุภัณฑ์.
จินตนา ภู่ขาว. (2547). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4MAT. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
ฉวีวรรณ คูหาภินันท์. (2542). การอ่านและการส่งเสริมการอ่าน (Reading and Reading Promotion). กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณาคาร.
ทิศนา แขมมณี และคณะ. (2544). วิทยาการด้านการคิด. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ.
ประเทิน มหาขันธ์. (2530). การสอนอ่านเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
พัชรี จันทร์เพ็ง. (2557). สถิติและวิจัยทางการศึกษา. [ม.ป.ท.: ม.ป.พ.].
พรชัย นาชัยเวียง. (2546). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยใช้รูปแบบ 4MAT ระดับชั้นมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
มานพ ศรีเทียม. (2543). สร้างวัฒนธรรมคนรุ่นใหม่ให้เป็นนักอ่าน. วิชาการ, 3(7), 47-48.
วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2549). เอกสารประกอบการสอนวิชา 0506702 นวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้. มหาสารคาม: ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2557). ผลการประเมิน PISA 2012 คณิตศาสตร์ การอ่าน และ วิทยาศาสตร์นักเรียนรู้อะไร และทำอะไรได้บ้าง. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2558). ผลการทดสอบ O-NET. เข้าถึงได้จาก
http://www.newonetresult.niets.or.th/ExamWeb/FrLogin.aspx?ReturnUrl=%2fExamWeb%2fdefault.aspx. 20 พฤษภาคม 2561.
สันติ อิศรพันธุ์. (2552). การอ่านยังสำคัญเสมอ. วิทยาจารย์, 108(6), 10-11.
สำนักคณะกรรมการสถานศึกษาแห่งชาติ. (2550). ทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาทักษะการคิด. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). การจัดการเรียนรู้แบบสร้างองค์ความรู้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สิทธิพล อาจอินทร์. (2550). รูปแบบการพัฒนาทักษะการสอนคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับครูวิทยาศาสตร์ประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ ศษ.ด. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุนันทา มั่นเศรษฐวิทย์. (2543). หลักและวิธีการสอนอ่านภาษาไทย. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
มุกดา ศุกรินทร์. (2551). การพัฒนาทักษะการอ่าน คิด และ เขียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ 4 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
De Bono. (1992). Six Thinking Hats Model. New York: Mcquaig Group.
McCarthy, B. (1979, March). A tale of Four Lamer: 4MAT s Leaning Styles. Educational Leadership, 54(6), 46-51.