การพัฒนาคู่มือจัดการเรียนรู้โดยสร้างศรัทธาและฝึกคิดแบบโยนิโสมนสิการ ร่วมกับการทำสมาธิ ที่มีต่อความอดทน การคิดวิเคราะห์ และผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

สุภาภรณ์ น้อยทรงค์

Abstract

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ1)พัฒนาคู่มือจัดการเรียนรู้โดยสร้างศรัทธาและฝึกคิดแบบโยนิโสมนสิการร่วมกับการทำสมาธิ  ที่มีต่อความอดทน  การคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้มีคุณภาพตามเกณฑ์ดัชนีประสิทธิผลและค่าขนาดอิทธิพล  2)เปรียบเทียบความอดทน การคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เมื่อได้รับการสอนด้วยคู่มือจัดการเรียนรู้โดยสร้างศรัทธาและฝึกคิดแบบโยนิโสมนสิการ ร่วมกับการทำสมาธิ  ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3)เพื่อเปรียบเทียบความอดทน   การคิดวิเคราะห์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนที่ได้รับการสอนด้วย คู่มือจัดการเรียนรู้โดยสร้างศรัทธาและฝึกคิดแบบโยนิโสมนสิการ ร่วมกับการทำสมาธิ กับนักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยคู่มือจัดการเรียนรู้แบบปกติ 4)เพื่อเปรียบเทียบ ความอดทน การคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนที่มีความฉลาดทางอารมณ์ต่างกัน (สูง ปานกลางและ ต่ำ) กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนบ้านบาก 2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร   จำนวน 2 ห้องเรียน  ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive  Sampling) และใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยเลือก  แล้วสุ่มอย่างง่ายเพื่อกำหนดเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม(Random Assignment)ได้ ห้องประถมศึกษา  5/1  จำนวน 27 คน เป็นกลุ่มควบคุม และห้องประถมศึกษา  5/2 จำนวน 28 คน เป็นทดลอง รวมทั้งสิ้น 55 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย  1)  คู่มือจัดการเรียนรู้โดยสร้างศรัทธาและฝึกคิดแบบโยนิโสมนสิการร่วมกับการทำสมาธิ  ประกอบด้วย แผนจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 2)  คู่มือการจัดการเรียนรู้สืบตามปกติ  3)  แบบวัดความอดทน 4) แบบสังเกตการนั่งสมาธิ 5)การทดสอบความอดทนทางกายด้วยการออกกำลังแบบลุก-นั่ง (Sit-up)6) แบบวัดการคิดวิเคราะห์ 7) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง มหัศจรรย์สิ่งมีชีวิตและ 8) แบบวัดความฉลาดทางอารมณ์ ของกรมสุขภาพจิต สำหรับ อายุ 5 – 12 ปี สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีประสิทธิผล (Effectiveness Index : E.I.) ค่าขนาดอิทธิพล(d) สถิติทดสอบค่าที (t – test for Dependent  Samples, t – test  for  Independent  Samples) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way  ANOVA)และวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณแบบทางเดียว (One-way  MANOVA)

                ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

                      1. ค่าดัชนีประสิทธิผล ของคู่มือจัดการเรียนรู้โดยสร้างศรัทธาและฝึกคิดแบบโยนิโสมนสิการร่วมกับการทำสมาธิ  ที่มีต่อความอดทน  การคิดวิเคราะห์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  มีค่าเท่ากับ  0.61, 0.60  และ 0.66 ตามลำดับซึ่งแสดงว่าผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น สูงกว่าร้อยละ 50   ค่าขนาดอิทธิพลของคู่มือจัดการเรียนรู้โดยสร้างศรัทธาและฝึกคิดแบบโยนิโสมนสิการร่วมกับการทำสมาธิ ที่มีต่อความอดทน  การคิดวิเคราะห์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีค่าเท่ากับ  2.80,
1.45 และ  1.60  ตามลำดับ และมีขนาดอิทธิพลเท่ากับ2.80,1.45,1.60 ตามลำดับ

2.  ความอดทน  การคิดวิเคราะห์  และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนของที่ได้รับการสอนด้วยคู่มือจัดการเรียนรู้โดยสร้างศรัทธาและฝึกคิดแบบโยนิโสมนสิการร่วมกับการทำสมาธิ หลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  

3. ความอดทน การคิดวิเคราะห์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ที่ได้รับการสอนด้วย  คู่มือจัดการเรียนรู้โดยสร้างศรัทธาและฝึกคิดแบบโยนิโสมนสิการ ร่วมกับการทำสมาธิ   หลังเรียนสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการสอนตามปกติ  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

4.  นักเรียนที่มีความฉลาดทางอารมณ์ต่างกัน (สูง ปานกลาง และต่ำ) เมื่อได้รับการสอนด้วยคู่มือจัดการเรียนรู้โดยสร้างศรัทธาและฝึกคิดแบบโยนิโสมนสิการ ร่วมกับการทำสมาธิ  มีความอดทน  การคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทาง
การเรียน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

ABSTRACT

            The purposes of this study were 1) to develop a learning management manual through building faith and thinking practice according to the style of Yonisomanasikan in conjunction with meditation which has an effect upon tolerance, analytical thinking and learning achievement by meeting the quality based on the effectiveness index criterion and effect size values, 2) to compare between tolerance, analytical thinking and learning achievement of the students after being taught with the learning management manual through building faith and thinking practice according to the style of Yonisomanasikan in conjunction with meditation with those before the treatment, 3) to compare tolerance, analytical thinking and learning achievement gained before and after the treatment among the students who were taught with a traditional learning management manual, and 4) to compare tolerance, analytical thinking, and academic achievement of the students who have a difference in emotional intelligence (high, medium and low) after being taught with the learning management manual through building faith and thinking practice according to the style of Yonisomanasikan in conjunction with meditation.  The samples were a total of fifth-graders of two classrooms in the first semester of academic year 2013 at Ban Bak 2 School, Office of Mukdahan Primary Education Service Area by purposive selection followed by simple random sampling for assignment of the students to either an experimental or control group.  The fifth grade, room 1, containing 27 students was a control group, while room 2 containing 28 students are experimental group.  The instruments used comprised: 1) a learning management manual through building faith and thinking practice according to the style of Yonisomanasikan in conjunction with meditation, which consisted of a guide for entering the camp to practice the dharma and a learning management plan in the learning substance group of science, 2) a traditional learning management guide, 3) a test of tolerance, 4) a form for observing meditation, 5) a physical tolerance test with a sit-up exercise, 6) a test of analytical thinking, 7) a learning achievement test, and 8) a 

test of emotional intelligence from Department of Mental Health for those whose age ranges between 5 and 12 years.  Statistics used to analyze data were mean, standard deviation, effectiveness index value, effect size value, t-test for independent samples, one-way ANOVA, one-way MANOVA.  

            The findings were as follows:

                 1. The index values of effectiveness of the learning management manual through building faith and thinking practice according to the style of Yonisomanasikan in conjunction with meditation which have an effect upon tolerance analytical thinking, and learning achievement were 0.61, 0.60, and 0.66 respectively.  It shows that the students had an over-50% knowledge increase. The effect size values of the learning management manual through building faith and thinking practice according to the style of Yonisomanasikan in conjunction with meditation which have an effect upon tolerance, analytical thinking and learning achievement were 2.80, 1.45 and 1.60 respectively.

     2. Tolerance, analytical thinking and learning achievement of the students who were taught with the learning management manual through building faith and thinking practice according to the style of Yonisomanasikan in conjunction with meditation after the learning were higher than those among the students before the treatment at the .05 level of significance.

     3. Tolerance, analytical thinking and learning achievement of the students taught with the afore-mentioned manual after the learning were higher than those among the students who were taught in a traditional style at the .05 level of significance.

     4. The students being different in emotional intelligence (high, medium, low) who were taught with the afore-mentioned manual were found significantly different at the .05 level in their tolerance, analytical thinking and learning achievement.

Article Details

Section
บทความวิจัย