ปรากฏการณ์การลาออกกลางคันและการคงอยู่ของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา: โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ

Main Article Content

เจนวิทย์ วารีบ่อ
ศรัณย์ ภิบาลชนม์
เสกสรรค์ ทองคำบรรจง

บทคัดย่อ

  การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการลาออกกลางคันและการคงอยู่ของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 554 คน ได้มาจากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นแบ่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามปัจจัยที่นำมาศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ผลการวิจัย พบว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ เมื่อพิจารณาอิทธิพลรวม พบว่า การรับรู้ความสามารถทางวิชาการของตนมีขนาดอิทธิพลมากที่สุด เท่ากับ 0.411 รองลงมา คือ การปรับตัวในมหาวิทยาลัย และเจตคติต่อการสอนและการเรียนรู้มีขนาดอิทธิพล เท่ากับ 0.394 และ 0.138 ตามลำดับ และปัจจัยทั้ง 3 ร่วมกันอธิบายความแปรปรวนการลาออกกลางคันและการคงอยู่ของนิสิตได้ร้อยละ 32

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองทะเบียนและประมวลผลการศึกษา. (2559). สถิตินิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา. เข้าถึงได้จาก: http://reg.buu.ac.th/registrar/stat.asp?avs200471321=1. 1 พฤศจิกายน 2559.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). ความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้น (Lisrel) สถิติวิเคราะห์สาหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2555). แนะแนวการศึกษาและชีวิต (องค์ประกอบก่อนตัดสินใจเลือกอาชีพ). เข้าถึงได้จาก http://guidance.obec.go.th/?p=1033. 4 ตุลาคม 2559.

สุวิมล ติรกานันท์. (2555). การวิเคราะห์ตัวแปรพหุในงานวิจัยทางสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัครนันท์ เตชไกรชนะ. (2552). การศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนาคุณภาพอุดมศึกษาไทย. เข้าถึงได้จาก: https://www.gotoknow.org/posts/285169%5B2552%5D. 27 พฤษภาคม 2559.

Cabrera, A. F., Nora, A., & Castaneda, M. B. (1992). The role of finances in the persistence process: A structural model. Research in Higher Education, 33(5), 571 - 593.

Cabrera, A. F, Nora, A. & Castaneda, M. B. (1993). College persistence: The testing of an integrated model. Journal of Higher Education, 64(2), 123 - 139.

Eaton, S. B., & Bean, J. P. (1995). An approach/avoidance behavioral model of college student attrition. Research in Higher Education, 36(6), 617 - 645.

Evans, N. J., Forney, D. S., Guido, F. M., Patton, L. D., & Renn, K. A. (2010). Student development in college: Theory, research, and practice. (2nded). San Francisco, CA: Jossey - Bass.

Floyd, N. D. (2012). Validity evidence for the use of Holland vocational personality types in college

student populations. (Doctoral Dissertation of Educational Psychology/Research, University of South Carolina).

Flanders, G. R. (2013). The effect of course completion within selected major on persistence for reshman college student. Doctor dissertation, Business Administration, University of Phoenix.

Gibbs, N. (2013). The impact of personalization-based tailored instructional communications on college student persistence. Doctoral dissertation, College of Social and Behavioral Sciences, alden University.

Hair Jr, William C. Black, Barry J. Babin, Rolph E. Anderson. (2010). Multivariate Data Analysis. Upper Saddle River: NJ.

Mashburn, A. J. (2000). A psychological process of student dropout. Journal of College Student Retention, 2(3), 173 - 190.

Spady, W. G. (1971). Dropouts from higher education: Toward an empirical model. Interchange, 2(3), 38 - 62.

Sargent, A. G., & Schlossberg, N. K. (1988). Managing adult transitions. Training & Development Journal, 42(12), 58 - 60.

Tinto, V. (1975). Dropout from higher education: A theoretical synthesis of recent research. Review of Educational Research, 45(1), 89 - 125.

Wirth, R. M., & Padilla, R. V. (2008). College student success: A qualitative modeling approach. Community College Journal of Research and Practice, 32, 688 - 711.