ฐานข้อมูลแหล่งทรัพยากรเพื่อการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในสาระที่ 5-8 หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาฐานข้อมูลแหล่งทรัพยากรเพื่อการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในสาระที่ 5 ถึง 8 หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช2551 และ 2) ศึกษารูปแบบและวิธีการใช้ฐานข้อมูลแหล่งทรัพยากรเพื่อการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในสาระที่ 5 ถึง 8 หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 36 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบชั้นภูมิจากประชากรครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 อุดรธานี จำนวน 63 โรง เครื่องมือวิจัย ได้แก่ ฐานข้อมูลแหล่งทรัพยากรเพื่อการเรียนรู้ฯ ในรูปของเว็บบล็อกและแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบและวิธีการจะใช้ฐานข้อมูลฯ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การแจกแจงความถี่ ค่าสถิติร้อยละ และ การเขียนสรุปเป็นความเรียงเชิงพรรณนา ผลการวิจัยได้แก่ 1) เอกสารเนื้อหาสาระฐานข้อมูลแหล่ง ทรัพยากรเพื่อการเรียนรู้ฯ ประกอบด้วยคลังตัวอย่างผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง จำนวน 226 ข้อคลังตัวอย่างกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 532 ข้อ และคลังตัวอย่างการประเมินผลการเรียนรู้ จำนวน 327 ข้อ ที่สอดคล้องกับตัวชี้วัดของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 2) ฐานข้อมูลแหล่งทรัพยากรเพื่อการเรียนรู้ฯ ในรูปของเว็บบล็อกบนเว็บไซต์ของ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 20 อุดรธานี 3) รูปแบบและวิธีการจะใช้ฐานข้อมูลแหล่งทรัพยากรเพื่อการเรียนรู้ฯ ที่ครูผู้สอนส่วนใหญ่เห็นด้วย มี 3 รูปแบบ คือ ก่อนทำการสอน ระหว่างทำการสอน และหลังทำการสอน โดยมีวิธีการจะใช้ ดังนี้ เมนูหลักคลังทรัพยากรการเรียนรู้ฯ สาระที่ 5-8 จำนวน 13 วิธี 7 วิธี และ 6 วิธี ตามลำดับของรูปแบบ; เมนูเสริม หน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายในและต่างประเทศ จำนวน 6 วิธี ในทุกรูปแบบและเมนูเสริมแหล่งทรัพยากรเพื่อการเรียนรู้ภายใน และต่างประเทศจำนวน 6 วิธี 7 วิธี และ 6 วิธี ตามลำดับของรูปแบบ ครูผู้สอนได้เสนอแนะวิธีการใช้เพิ่มเติม 1 วิธี คือ เพื่อตอบโจทย์ปัญหาที่เกิดระหว่างการเรียนการสอน
ABSTRACT
The objectives of this research were 1) to develop Learning Resource Database on Science Discipline for Lower Secondary Level Focusing on Strand 5 to 8 of Basic Education Core Curriculum B.E.2551; and 2) to study the usage methods and patterns in future of the Learning Resource Database on Science Discipline for Lower Secondary Level Focusing on Strand 5 to 8 of Basic Education Core Curriculum B.E.2551. The sample were 36 lower secondary level science teachers selected using the stratified random sampling from the population: science teachers in 63 schools of Udornthani Secondary Educational Service Office Area 20. The research instruments were the Learning Resource Database in the form of weblog and the questionnaires on usage methods and patterns in future of the Learning Resource Database. The data were analyzed through the frequency distribution, the percentage and the descriptive narration. The research findings were as follows: 1) the printed content document of Strand 5 to 8 Learning Resource Database consisting of 3 resources: learning outcomes examples: 226 items; learning activities examples: 532 items and evaluation criteria examples: 227 items, all according to the indicators of Basic Education Core Curriculum B.E.2551; 2) the Learning Resource Database in the form of Weblog on the website of Udornthani Secondary Educational Service Office Area 20; 3) the usage methods and patterns in future of the Learning Resource Database, agreed by most of the teachers consisted of 3 usage patterns: before class – during the class – after the class. The amounts of the usage methods for each pattern were as follows: the Strand 5-8 Learning Resources menus: 13, 6 and 6 methods consecutively in each pattern; the extra menus on Related Agencies in Country and Abroad: 6 methods in all patterns and the extra menus on Learning Resources in Country and Abroad: 7, 6 and 6 methods consecutively in each pattern. One usage methods was suggested: to solve the problems occurred during the class.
Article Details
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร