ยุทธศาสตร์การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนแบบสหกิจศึกษา หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการแก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอนแบบสหกิจศึกษา หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 2) สร้างยุทธศาสตร์การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนแบบสหกิจศึกษา หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 89 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร จำนวน 7 คน อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวน 4 คน นักศึกษาที่ศึกษาในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยี การเกษตร คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ชั้นปีที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2556 และสมัครใจเข้าร่วมโครงการจัดการเรียนการสอนแบบสหกิจศึกษา จำนวน 68 คน เจ้าของสถานประกอบการในจังหวัดสกลนครที่เข้าร่วมโครงการการจัดการเรียนการสอนแบบสหกิจศึกษา จำนวน 10 แห่งๆ ละ 1 คน รวม 10 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก การประชุมเชิงปฏิบัติการ การระดมสมองและแบบสอบถามมาตรส่วนประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการแก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอนแบบสหกิจศึกษา หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร คือ
คณะเทคโนโลยีการเกษตรขาดความชัดเจนและต่อเนื่องในระดับนโยบายส่งผลต่อการปฏิบัติงานที่ชัดเจนตามขั้นตอนที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนด และไม่มีหน่วยงานที่รับผิดชอบอย่างชัดเจน ทำให้เกิดปัญหาด้านการประสานงานกับสถานประกอบการและไม่มีการติดตามดูแลนักศึกษา ในส่วนของสถานประกอบการ พบว่า ไม่ให้ความสำคัญกับโครงการสหกิจศึกษาและขาดการประสานงานจากมหาวิทยาลัย ขาดการวางแผนร่วมกัน โดยเฉพาะการเตรียมนักศึกษา ด้านคุณสมบัตินักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการสหกิจศึกษา และในส่วนปัญหาการดำเนินงานโครงการสหกิจศึกษา พบว่า นักศึกษาขาดการเตรียมตัวมีปัญหาการปรับตัวด้านการสื่อสาร ความพร้อมทางด้านวิชาการที่ทำให้ไม่มั่นใจ
ในการปฏิบัติงานด้านความต้องการแก้ไขปัญหาการจัดการเรียนการสอนแบบสหกิจศึกษา คือ บุคลากรสหกิจศึกษาต้องการให้มีการกำหนดนโยบายสหกิจศึกษาที่มีความชัดเจนตั้งแต่ระดับนโยบายลงสู่คณะและสาขาวิชา การทำข้อตกลงกับสถานประกอบการโดยตรงเพื่อทำความร่วมมือและการจัดทำฐานข้อมูลสถานประกอบการเพื่อทำการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลการดำเนินงานสหกิจศึกษา
2. การสร้างยุทธศาสตร์การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนแบบสหกิจศึกษา หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ประกอบด้วย (ร่าง) คู่มือการจัดการเรียนการสอนบีบสหกิจศึกษา และบทเรียน E-learning รายวิชาสหกิจศึกษา ส่วนการประเมินยุทธศาสตร์การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนแบบสหกิจศึกษา หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร โดยรวมผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.58) รายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด 3 ด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านชื่อยุทธศาสตร์ ( = 4.79) ด้านการวัดและประเมินยุทธศาสตร์ ( = 4.76) และด้านหลักการและเหตุผล ( = 4.74) ที่เหลือ คือด้านเป้าหมายของยุทธศาสตร์ และด้านโครงการหรือกิจกรรม มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก
ABSTRACT
The purposes of this study were 1) to investigate the current state, problem and need to solve the problem of instructional management in cooperative education, bachelor’s degree of science curriculum, Agricultural Technology Department, Faculty of Agricultural Technology, Sakon Nakhon Rajabhat University, and 2) to create a strategy to manage instruction of cooperative education, bachelor’s degree of science curriculum, Agricultural Technology Department, Faculty of Agricultural Technology, Sakon Nakhon Rajabhat university. A sample of 89 people used in this study as selected by purposive sampling comprised administrators of Faculty of Agricultural Technology, Sakon Nakhon Rajabhat University, 4 instructors who were responsible for the curriculum, 68 second-year students studying in the bachelor’s degree of science curriculum, Agricultural Technology Department, Faculty of Agricultural Technology, Sakon Nakhon Rajabhat University in academic year 2013 who volunteered to participate in the project of instructional management in cooperative education, and 10 owners from each of 10 establishments in Sakon Nakhon province who participated in the project of instructional management in cooperative education. The instruments used were an in-depth interview guide, a workshop, brain-storming and a rating-scale questionnaire. Data analysis was done using statistics of percentage, mean and standard deviation.
The results of study disclosed as follows:
1. The current state, problem and need to solve the problem of instructional management in cooperative education, bachelor’s degree of science curriculum, Agricultural Technology Department, Faculty of Agricultural Technology, Sakon Nakhon Rajabhat University were found in part of the Faculty that they lacked the clearness and continuity in the policy level resulting in having a problem of clear performance according to the steps prescribed by Office of the Higher Education Commission, and there were no clear work units responsible for it. There was a problem of coordination between them and the establishments, and there was no follow-up and supervision of students. It was found in part of the establishments that they did not give recognition to the cooperative education project of the
university. Moreover, there were a problem in lack of coordination from the University and a problem in lack of participatory planning, especially, in the respects of preparation of students and of qualifications of students who participated in the cooperative education project. In the respect of problem in operating the cooperative education project, it was found that students lacked getting ready, had a problem in self-adjustment, communication, and academic readiness. That is why they lacked self-confidence in performance. According to the need for solving the problem of instructional management in cooperative education, it was found that personnel of cooperative education would like to have a clearly determined cooperative education policy from the university level to the faculty and program levels and an agreement with the establishments directly for mutual cooperation and would like to have a database of the establishments created for public relations with dissemination of cooperative education management information.
2. The created strategy to develop instructional management of cooperative education, bachelor’s degree of science curriculum, Agricultural Technology Department, Faculty of Agricultural Technology, Sakon Nakhon Rajabhat University consisted of a manual of instructional management in cooperative education (drafted), E-learning lessons and cooperative education courses. According to the experts’ overall assessment of the strategy, it was found at the highest level ( = 4.58). Three aspects at highest level as arranged by ranks respectively were name of the strategy ( = 4.79), measurement and evaluation of the strategy ( = 4.76), and principle and rationale ( = 4.74). All others like target of it, and its project and activity were at high level.
Article Details
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร