การปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพของครูในโรงเรียน สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี

Main Article Content

นาฎยา พันหาบ
พรศิริมา บูรณะพันธุ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพของครูในโรงเรียน สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี ได้แก่ ด้านจรรยาบรรณต่อตนเอง ด้านจรรยาบรรณต่อวิชาชีพ ด้านจรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ ด้านจรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ และด้านจรรยาบรรณต่อสังคม และเพื่อเปรียบเทียบระดับการปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพของครู จำแนกตาม เพศ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ทำงาน


            การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ ครูในโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี จำนวน 118 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยเปิดตารางของเครจซี่และมอร์แกน โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนก เท่ากับ 0.60 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ One-Way ANOVA


            ผลการวิจัย พบว่า การปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพของครูในโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี โดยภาพรวมและรายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}= 4.05) โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ
ด้านจรรยาบรรณต่อตนเอง (gif.latex?\bar{x}= 4.15) ด้านจรรยาบรรณต่อวิชาชีพ (gif.latex?\bar{x}= 4.05) ด้านจรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
(gif.latex?\bar{x}= 4.05) ด้านจรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ (gif.latex?\bar{x}= 4.04) และด้านจรรยาบรรณต่อสังคม (gif.latex?\bar{x}= 3.96) ครูในโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี ที่มีเพศต่างกัน มีความเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพของครูในภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน ส่วนครูในโรงเรียนที่มีระดับการศึกษา ทั้งภาพรวมและรายด้านทุกด้านมีความเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ครูในโรงเรียนที่มีระดับการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีมีความเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพของครู (gif.latex?\bar{x}= 4.33) สูงกว่าครูที่มีระดับการศึกษาปริญญาตรี (gif.latex?\bar{x}= 3.91) และประสบการณ์ทำงานต่างกัน ทั้งภาพรวมและรายด้านทุกด้านมีความเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยครูที่มีประสบการณ์ทำงาน
11 - 20 ปี มีความเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพของครู (gif.latex?\bar{x}= 4.23) สูงกว่า ครูที่มีประสบการณ์ทำงาน 21 ปีขึ้นไป (gif.latex?\bar{x}= 4.13) และครูที่มีประสบการณ์ทำงานไม่เกิน 10 ปี (gif.latex?\bar{x}= 3.72) ผลการวิจัยในครั้งนี้แสดงให้ทราบว่าการปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพของครูในโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี อยู่ในระดับมากทุกด้าน สามารถเป็นแบบอย่างเกี่ยวกับการปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณgif.latex?\bar{x}วิชาชีพให้กับครูที่มีประสบการณ์น้อยหรือครูที่บรรจุใหม่เพื่อให้มีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกรียงศักดิ์ ชิณกะธรรม. (2550). การปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. 2548 ของข้าราชการครู สังกัดศูนย์พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาพะลาน กองโพน ศูนย์ที่ 16 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ ค.ม. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

แก้วตา สุวรรณประทีป. (2551). สภาพการปฏิบัติตามจรรยาบรรณของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสิงห์บุรี. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. ลพบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

ดนัย ชาติศรี. (2554). การศึกษาการปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพครูของครูผู้สอน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ ค.ม. จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

จตุรงค์ ลิ้มไพบูลย์. (2556). การปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพครูของครูและผู้บริหารตามการรับรู้ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1. การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เทอดไท คงงาม. (2551). การปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพครู พ.ศ. 2548 ของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 1. วิทยานิพนธ์ ค.ม. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

ธวัชชัย ถนอมเงิน. (2550). การปฏิบัติตามจรรยาบรรณครูของครูปฏิบัติการสอนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิ เขต 2. วิทยานิพนธ์ ค.ม. เลย: มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย.

นัญจรงค์ เฉลิมพงษ์. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานกับการปฏิบัติงานตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพทางการศึกษาของผู้บริหารและครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. งานนิพนธ์ กศ.ม. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

นริศรา ภู่ดนตรี. (2557). การปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพครูโรงเรียนในกลุ่มสหวิทยาเขตเบญจมิตร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4. การค้นคว้าอิสระ ศษ.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี.

นริศรา เหมหงษา. (2553). การปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพครูของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 2. วิทยานิพนธ์ ค.ม. นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

เบญจวรรณ ปกป้อง. (2559). พฤติกรรมการปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ค.ม. นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

มาลินี บุญยรัตพันธุ์. (2553). จรรยาบรรณวิชาชีพครูของมหาบัณฑิตหลักสูตรและการสอน. วารสารวิจัยรามคำแหง มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 13(ฉบับพิเศษ), 9 – 22.

ราชกิจจานุเบกษา. (2550). ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยแบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. 2550. เข้าถึงได้จาก http://docs.google.com/viewer. 10 สิงหาคม 2559.

รุ่งเรือง สารสุข. (2553). ปัจจัยคุรุธรรมนิยมที่ส่งผลต่อการปฏิบัติตนตามมาตรฐานวิชาชีพครูของครูในโรงเรียนสังกัดสังฆมณฑลราชบุรี. วิทยานิพนธ์ ค.ม. นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

ลำยวญ กัณหกุล. (2556). การศึกษาการปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพของข้าราชการครูโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 13 กระบี่. วิทยานิพนธ์ ค.ม. ภูเก็ต: มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.

เลขาธิการคุรุสภา. (2552). กฎหมายเพื่อการควบคุมประกอบวิชาชีพทางการศึกษา (พระราชบัญญัติกฎกระทรวงข้อบังคับ ประกาศ). กรุงเทพฯ: สำนักมาตรฐานวิชาชีพ.

วิชัย บุตรโท. (2552). การปฏิบัติตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 ว่าด้วยจรรยาบรรณวิชาชีพครูของข้าราชการในศูนย์พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาที่ 7 สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ ค.ม. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

วิลิศ สกุลรัตน์. (2555). การปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพของครูในโรงเรียนมาตรฐานสากลสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 จังหวัดจันทบุรี. การศึกษาค้นคว้าอิสระ ศษ.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

หทัยรัตน์ ดุจจานุทัศน์. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมกับความตระหนักในจรรยาบรรณวิชาชีพครูของครูผู้สอนในระดับ การศึกษาขั้นพื้นฐาน : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น, กรม. (2551). กฎหมาย ระเบียบ และหนังสือสั่งการเกี่ยวกับการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: เสมาธรรม.

สุนิสา วราเรืองฤทธิ์. (2551). การปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณครูโรงเรียนระดับประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุภัทรา จวงอินทร์. (2556). การศึกษาพฤติกรรมตามจรรยาบรรณวิชาชีพของข้าราชการครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดฉะเชิงเทรา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6. งานนิพนธ์ ศษ.ม. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2552). กฎหมายเพื่อควบคุมการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา (พระราชบัญญัติ กฎกระทรวง ข้อบังคับ ประกาศ) กรุงเทพมหานคร.

ศุภานันท์ สิทธิเลิศ. (2551). ความเป็นครูวิชาชีพ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

อำนวย อินทนาคา. (2556). ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครู เกี่ยวกับการปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี. วิทยานิพนธ์ ค.ม. ลพบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

Dohety, Edward Joseph. (1998). Professional Development for Boston Teacher in School to Career Programs. Doctor’s Thesis Cambridge: Harvard University.

Joyner, Sharon Kaye Shiver. (1999). An Assessment of Georgia Educators Knowledge and Understanding of Their Code of Ethics, Doctor’s Thesis Georgia: University of Available: Georgia. <http://lib.umi.com/dissertations/fullcil/9949466.> 2013. 4 April 2008.

Krejcie, R.V. & Morgan, D.W. (1970). Education and Psychological Measurement. USA: Texas A. & M. University.

Presler,P. (2006). Title : Neonatal and pediatric : clinical neurophysiology. New Jersey: Prentice-Hall.