ผลของสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาซี เรื่อง คำสั่งควบคุม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
Main Article Content
Abstract
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ ศึกษาการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของผู้เรียน และศึกษาความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่าย กลุ่มเป้าหมายในการศึกษา ครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 39 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โดยใช้รูปแบบ การวิจัยก่อนการทดลอง (Pre-Experimental Design) แบบกลุ่มเดียวทดสอบหลังเรียน (One-Shot Case Study) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ประกอบด้วย แบบวัดการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบสัมภาษณ์การคิดวิเคราะห์ และแบบสำรวจความคิดเห็นของผู้เรียน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ การคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน ซึ่งได้จากการวิเคราะห์โปรโตคอล (Protocol Analysis) และการบรรยายเชิงวิเคราะห์ (Analytical Description) และความคิดเห็นของผู้เรียน และการประเมินประสิทธิภาพของสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น ซึ่งได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสรุปตีความ
ผลการวิจัยพบว่า
- สิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาซี เรื่องคำสั่งควบคุม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ออกแบบและพัฒนาโดยนำแนวคิดและหลักการสำคัญของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ผสมผสานร่วมกับการจัดการเรียนรู้บนเครือข่าย ซึ่งมีองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้ 1) สถานการณ์ปัญหา 2) ธนาคารความรู้ 3) ชุมชนการเรียนรู้ 4) ฐานการช่วยเหลือ ได้แก่ ฐานการช่วยเหลือด้านความคิดรวบยอด ฐานการช่วยเหลือด้านความคิด ฐานความช่วยเหลือด้านกลยุทธ์ และฐานการช่วยเหลือด้านกระบวนการ 5) การโค้ช และ 6) ศูนย์ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์
- การคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน พบว่า นักเรียนมีการคิดวิเคราะห์เฉลี่ยในภาพรวม เท่ากับ 11.61 คิดเป็นร้อยละ 77.43 ซึ่งมีค่าสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม
- ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณจากคะแนน ทดสอบหลังเรียน พบว่า ผู้เรียนร้อยละ 100 มีคะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็มที่กำหนด
4. ความคิดเห็นของผู้เรียนที่เรียนด้วยสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ พบว่า ผู้เรียน
มีความเห็นสอดคล้องกับแบบประเมินทั้งทางด้านเนื้อหา ด้านสื่อบนเครือข่าย และด้านการออกแบบสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้
Article Details
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
References
การคิดวิเคราะห์เรื่องพืช สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ธนศิษฏ์ ศรีเมือง. (2556). ผลของบทเรียนบนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิด วิเคราะห์วิชาดนตรี
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 3 (ยมราชสามัคคี) จังหวัดนครราชสีมา. รายงานการศึกษาอิสระ
ปริญญาศึกษาศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ปยะนันท ปลื้มโชค. (2554). ผลของสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรูบนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต ที่ส่งเสริมการคิด
เชิงวิเคราะห์ เรื่อง นักวิเคราะห์ระบบและการวิเคราะห์ระบบ ระดับปริญญาตรี สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา
มหาวิทยาลัยขอนแกน. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา
คณะศึกษาศาสตร มหาวิทยาลัยขอนแกน.
มุจรินทร์ โยวะบุตร. (2556). ผลของสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์
วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องสารอาหาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาศึกษาศาสตร
มหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
รมณี ศรีบุญเรือง. (2557). สิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์
เรื่อง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. รายงานการศึกษาอิสระปริญญา
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
โรงเรียนศรีกระนวนวิทยาคม. (2558). เอกสารสรุปผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. ขอนแก่น:
โรงเรียนศรีกระนวนวิทยาคม (อัดสำเนา).
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2556). กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษา : กรณีนานาทัศนะการศึกษาศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร:
โรงพิมพ์ทิพย์วิสุทธิ์.
สมศักดิ์ ภู่วิภาดาวรรธน์. (2554). การยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและการประเมินตามสภาพจริง. เชียงใหม่: โรงพิมพ์แสงศิลป์.
สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2555). แผนพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคม แห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555 – 2559). ค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2559,
จาก http://www.nesdb.go.th/Default.aspx?tabid=395.
สุมาลี ชัยเจริญ. (2545). ผลของการใช้สื่อบนเครือข่ายร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ วิชา 212 501 เทคโนโลยีการสอน
ของนักศึกษาประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น:
มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
_____. (2550). ศึกษาศักยภาพด้านการคิดของผู้เรียน ที่เรียนจากนวัตกรรมการ เรียนรู้ที่ส่งเสริมศักยภาพด้านการคิด.
(รายงานการวิจัย). ขอนแก่น: โครงการวิจัยประเภททุนอุดหนุนทั่วไป มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
_____. (2551). เทคโนโลยีการศึกษา: หลักการ ทฤษฎี สู่การปฏิบัติ. ขอนแก่น: สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
_____. (2557). การออกแบบการสอน หลักการ ทฤษฎี สู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. ขอนแก่น: โรงพิมพ์แอนนาออฟเซต.
สุรพัฒน์ คชลัย. (2556). ผลของสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่ายที่พัฒนาตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ ที่ส่งเสริม
การคิดวิเคราะห์ เรื่อง ไวรัสคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. รายงานการศึกษาอิสระปริญญา
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อนุพงศ์ วงษ์ประการ. (2556). ผลของสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์
เรื่องส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาศึกษาศาสตร
มหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เอมอร เกิดไทย. (2554). ผลของชุดการสร้างความรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์ เรื่องพืชรอบตัวเราสาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. รายงานการศึกษาอิสระปริญญา
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Hannafin, M., Susan, L., and Kevin, O. (1999). Open Learning Environments: Foundations, Methods, and Models.
In Charles M. Reigeluth (ED), Instructional Design Theories And Models: A New Paradigm of
Instructional Theory (Volume II). (pp. 372-389). New Jersey: Erlbaum.
Vygotsky, L.S. (1978). Mind in Society. The development of higher psychological processes. Cambridge, MA:
Harvard University Press.