การเปลี่ยนแปลงของฟ้อนผู้ไทยในการท่องเที่ยวทางศิลปวัฒนธรรม

Main Article Content

อุษณีษ์ พ่อบุตรดี

Abstract

บทคัดย่อ

          การฟ้อนของชาวผู้ไทยมีต้นกำเนิดจากวีถีการดำรงชีวิต ของคนในชุมชน ที่ได้สร้าง และสั่งสม จนก่อให้เกิดเอกลักษณ์ของกลุ่มชนขึ้นมา การฟ้อนผู้ไทยใช้ฟ้อนในโอกาสงานบุญประเพณี งานรื่นเริงต่างๆ หรือแสดงความศรัทธาต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เมื่อชุมชนมีการปรับตัวไปตามสภาพการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสังคม มีการการนำศิลปวัฒนธรรมของตนเองมาปรับใช้ ให้เกิดประโยชน์แก่การท่องเที่ยวทางศิลปวัฒนธรรม

            การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีความมุ่งหมาย เพื่อศึกษาเอกลักษณ์ทางนาฏยศิลป์ของชาวผู้ไทยและความเปลี่ยนแปลงของฟ้อนผู้ไทยในการนำไปใช้เพื่อการท่องเที่ยวทางศิลปวัฒนธรรมโดยศึกษาจากกลุ่มชาติพันธุ์ชาวผู้ไทยที่ถือว่าเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีความเข้มแข็งทางศิลปวัฒนธรรมใน 4 จังหวัด คือกาฬสินธุ์ สกลนคร นครพนมและมุกดาหาร ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้รู้  จำนวน 12 คน  ผู้ปฏิบัติ  จำนวน 9 คน และผู้ให้ข้อมูลทั่วไป จำนวน 21 คน ข้อมูลภาคสนาม ได้จากการสัมภาษณ์ และการสังเกตแล้วนำข้อมูลต่างๆ มาตรวจสอบความถูกต้องด้วยวิธีการแบบสามเส้าวิเคราะห์แล้วนำเสนอผล การวิจัยด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์

            ผลการวิจัย พบว่าในแต่ละชุมชนของชาวผู้ไทยในจังหวัดกาฬสินธุ์ สกลนคร นครพนม และมุกดาหาร มีเอกลักษณ์การฟ้อนผู้ไทยมีทั้งที่คล้ายคลึงกันและที่แตกต่างกัน ดังนี้

                 เอกลักษณ์ของฟ้อนผู้ไทยของชาวผู้ไทยบ้านโคกโก่ง จังหวัดกาฬสินธุ์ ท่าฟ้อนเป็นท่าฟ้อนที่ได้ประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่  ในแบบฉบับของวิทยาลัยนาฏศิลป์กาฬสินธุ์ แต่ยังคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์เดิม เช่น การแตะเท้าไปข้างหน้าก่อนก้าวเท้า การทรงตัวโดยการทิ้งน้ำหนักของร่างกายที่ขาทั้งสองข้างและเน้นการม้วนมือก่อนเปลี่ยนท่าฟ้อน

                 เอกลักษณ์ของฟ้อนผู้ไทยของชาวผู้ไทย วาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร จะเป็นการฟ้อนการตีบท ลีลาฟ้อนแบบของนาฏศิลป์ไทย ดังจะเห็นได้จากการลักษณะการกระดกเท้า การผายมือ  เกิดจากการที่ผู้นำของการฟ้อนได้ไปศึกษาทางด้านนาฏศิลป์ไทย และได้นำกลับมาปรับใช้ในการประดิษฐ์ท่าฟ้อนเพิ่มจากเดิม

                  เอกลักษณ์ของฟ้อนผู้ไทยเรณูนคร จังหวัดนครพนม  เป็นลักษณะฟ้อนคู่ชาย ลักษณะของลำตัวจะโอนเอนไปตามมือและขา เรียนแบบการลู่ลมของต้นมะพร้าวที่โอนเอนไปมาตามกระแสลม สร้างสมดุลของท่าฟ้อนโดยการย่อขา เน้นความแข็งแกร่งของผู้ฟ้อนชาย ส่วนผู้ฟ้อนหญิงเน้นความอ่อนหวานอ่อนช้อย และเป็นลักษณะการเกี้ยวพาราสีระหว่างชายหญิง

               เอกลักษณ์ของฟ้อนผู้ไทยของชาวผู้ไทย บ้านภู จังหวัดมุกดาหาร เป็นท่าฟ้อนที่ได้รับการสืบทอดมาจากท่าฟ้อนในอดีต พร้อมกับส่วนที่เพิ่มเติม ส่วนที่คงความดั้งเดิมไว้คือ  การแตะเท้าไปข้างหน้าก่อนที่จะก้าวหน้า ที่เรียกเป็นศัพท์ว่า
“การขยั่นเท้า” และการเพิ่มเติมได้แก่การเพิ่มเติมท่าฟ้อนเข้ามา 

                 จากการนำเอกลักษณ์ของการฟ้อนทั้ง 4 ชุมชนมาวิเคราะห์พบว่ามีลักษณะบางอย่างที่มีร่วมกัน คือ การฟ้อนจะต้องอาศัยการเคลื่อนไหวของร่างกายที่สัมพันธ์กัน เช่น การเอียงศีรษะและลำตัวจะเป็นไปในทิศทางเดียวกับ และสัมพันธ์กับการก้าวเท้าแบบไขว้ ตลอดจนการขยับเท้า การเปลี่ยนถ่ายน้ำหนักเมื่อขณะยกเท้า  การวางเท้าแบบเต็มเท้าและการเปิดส้นเท้าปลายเท้าส่งน้ำหนัก ทั้งนี้เพื่อให้การโน้มตัวมีความสวยงามความอ่อนหวานอ่อนช้อย และสร้างสมดุลในการทรงตัวของร่างกาย

            โดยสรุปหน้าที่หลักของการฟ้อนทั้ง 4 ชุมชนผู้ไทยมีการเปลี่ยนแปลงในองค์ประกอบของการฟ้อน รวมถึงหน้าที่ของฟ้อน ซึ่งแต่เดิมก็เพื่อใช้ในโอกาส งานบุญประเพณีของชุมชน และใช้ในโอกาสงานรื่นเริงต่างๆ หรือเพื่อแสดงความศรัทธาต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่กลุ่มชนของตนเอง แต่เมื่อมีการท่องเทียวและการเปลี่ยนแปลงของศิลปวัฒนธรรม การฟ้อนผู้ไทยก็มีการปรับตัว เพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมสามารถตอบรับกับวิถีชีวิตของกลุ่มชนผู้เป็นเจ้าของศิลปวัฒนธรรม 

 

ABSTRACT

            The dances of Phuthai people originated from the ways of life of the people within the community which have been created and accumulated until they become the unique identities of the community. The Phuthai dances are used in merit making festivals, entertainments, or paying homage to the holy things. When the community has to adapt itself in accordance with the socio-economical change, the culture is brought out, with some adaptations, for the community’s benefit through arts and cultural tourism

            This qualitative study aimed at examining the dancing arts characteristics of the Phuthai people and the changes of the Phuthai dances in arts and cultural tourism. The dominat cultural conservative groups in 4 provinces---Kalasin, Sakon Nakhon, Nakhon Phanom, and Mukdaha, were chosen for the study. The informants included: 12 key-informants, 9 casual informants, and 21 general informants. Field data were collected through interviews and observations. The data were checked for their accountability with triangulation technique, analyzed in accordance with the given objectives, and the results of the study were presented in a descriptive analytical format.

            The results of the study showed that the Phuthai dancing characteristics in each Phuthai community of the 4 provinces Kalasin, Sakon Nakhon, Nakhon Phanom, and Mudahan, were both similarities and differences as follow.

                 At Ban Khok Kong village, Kalasin province, the Phuthai dancing patterns were of new creations, modeling after Kalasin Dramatic College’s choreography, but still keeping the old characteristics, such as touching the foot forward before stepping, balancing the weigh of the body upon two feet, and closing the hands before the change of the dance posture.

                 The phuthai dances at Warichphum, Sakon Nakhon, a kind of text interpretation dance, belongs to Thai classical style which shown through fore-foot lifting, hand-opening. This due to the leader of the group learnt the Thai classical dances and created some new dance patterns into that dance style.

                  The Phuthai dances at Renu Nakhon, Nakhon Phanom province, a male-female duet dance, the body moved in accordance with hand and leg movements, comparable to the coconut tree swaying againt the wind. The 

male dancer made the balance by lowering down the legs for strength, whereas the female dancer focused on graces in courting dances.

                 At Ban Phu village, Mukdahan province, dancing patterns were passed over from   their own traditional dances with some additions. The old dance pattern that was still maintained was touching the foot forward before stepping; this practice was called “kan khayan thao.” The adding parts were new dancing styles.

                 As a whole, it was found that the characteristics of dancing styles of 4 communities shared some aspects. These were the relationship among the parts of the body, such as head and body bent in the same direction and related to cross-foot stepping, as well as foot motion, transferring the body weight during foot lifting,

full-foot placing and hind-foot opening, allowing the fore-foot for weight sending. These motions made the body movements beautiful, grace, and body balance.

                 In conclusion, originally the function of the dances in 4 Phuthai communities was performed for the traditional festivals and entertainments, or for the beliefs in sacred things within each community. When the tourism arises along with change of the culture, the Phuthai dances have to adapt themselves for the practical benefit in accordance with the ways of life of the people who are the owners of the arts and culture.

Article Details

Section
บทความวิจัย