แนวทางส่งเสริมคุณภาพการให้บริการของศูนย์วิทยบริการ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการศึกษา เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหา คุณภาพการให้บริการศูนย์วิทยบริการ และเสนอแนวทางส่งเสริมคุณภาพการให้บริการศูนย์วิทยบริการ ของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ประชากร ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ บุคลากร และสมาชิกศูนย์วิทยบริการ จำนวน 821 คน กลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบชั้นภูมิอย่างเป็นสัดส่วน จำนวน 283 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบสอบถามคุณภาพการบริการศูนย์วิทยบริการ โดยใช้ LibQUAL+TM ซึ่งเป็นกรอบแนวคิดเพื่อวัดการรับรู้และความคาดหวังของผู้ให้และผู้ใช้บริการของศูนย์วิทยบริการ ใน 5 ปัจจัย ได้แก่ 1) ด้านการให้บริการ 2) ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 3) ด้านสภาพแวดล้อม 4) ด้านทรัพยากรสารสนเทศ และ 5) ด้านบุคลากร สถิติที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
- สภาพการใช้บริการศูนย์วิทยบริการ พบว่า ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 79.1 และเพศชาย ร้อยละ 20.9 ผู้ใช้บริการมีสถานภาพเป็นนักศึกษาปริญญาตรีมากที่สุด ร้อยละ 88.4 โดยสังกัดอยู่คณะครุศาสตร์มากที่สุด ร้อยละ 45.2 ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่มีความถี่ในการเข้าใช้บริการมากที่สุด ระยะเวลานาน ๆ ครั้ง ร้อยละ 32.2 ช่วงเวลาในการเข้าใช้บริการที่ผู้ใช้บริการนิยมเข้าใช้บริการ คือ ช่วง 12.01 น. - 13.00 น. ร้อยละ 49.3 ส่วนบริการที่ผู้ใช้บริการเข้ามาใช้มากที่สุด คือ การให้บริการอ่านหนังสือ
ร้อยละ 53 การให้บริการสืบค้นฐานข้อมูล ร้อยละ 51.1 และการให้บริการอินเทอร์เน็ต ร้อยละ 45.5 - ปัญหาการให้บริการอยู่ในเกณฑ์ที่รับได้แต่ยังไม่ตรงกับความต้องการที่คาดหวังไว้ ปัญหาในรายปัจจัยย่อยที่มีความพึงพอใจในปัจจุบันน้อยที่สุด คือ ด้านการให้บริการพบปัญหาการบริการผู้ใช้บริการยืมหนังสือต่อด้วยตนเอง ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ พบปัญหาการให้บริการทางด้านทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์ หนังสือ และข้อมูลจากภายนอกศูนย์วิทยบริการ ด้านสภาพแวดล้อม
พบปัญหาความกว้างขวางของสถานที่ให้บริการ ด้านทรัพยากรสารสนเทศ พบปัญหาความสมบูรณ์ทรัพยากรสารสนเทศ และด้านบุคลากรพบปัญหาบุคลากรขาดความรู้เรื่องการวิจัย สำหรับปัญหาที่พบในการใช้บริการ คือ ด้านการให้บริการพบปัญหาจำนวนคอมพิวเตอร์มีไม่เพียงพอต่อการใช้บริการ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศพบปัญหาจุดบริการเครือข่ายไร้สายมีสัญญาณไม่ครอบคลุมพื้นที่การใช้งาน ด้านสภาพแวดล้อมพบปัญหาจุดบริการน้ำดื่มไม่เพียงพอ ด้านทรัพยากรสารสนเทศพบปัญหาศูนย์วิทยบริการมีวารสารทั้งแบบสิ่งพิมพ์และอิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้ใช้บริการต้องการไม่เพียงพอ และด้านบุคลากรพบปัญหาบุคลากรไม่สามารถถ่ายทอดสิ่งที่ได้เรียนรู้ให้กับผู้อื่นได้ - คุณภาพการให้บริการของศูนย์วิทยบริการ พบว่า คุณภาพบริการของศูนย์วิทยบริการอยู่ในเกณฑ์ที่รับได้ แต่ยังไม่ตรงกับความต้องการหรือที่คาดหวังไว้
- แนวทางส่งเสริมคุณภาพการให้บริการศูนย์วิทยบริการ ประกอบด้วย การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพบริการ การจัดทำแบบสำรวจและประเมินคุณภาพบริการ การประชุมบุคลากรเพื่อจัดทำแผนพัฒนา และติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามแผน นอกจากนี้ผู้วิจัยได้นำเสนอการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการให้บริการของศูนย์วิทยบริการไว้ด้วย
Article Details
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
References
นครราชสีมา. ภาคนิพนธ์. บธ.ม.นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชภัฎราชสีมา
สายธาร สุเมธอธิคม, โสภา ไทยลา และบัวระภา กลนีย์. (2556). ระบบสารสนเทศเพื่อการประเมิน คุณภาพ การบริการของ
ห้องสมุด มหาวิทยาลัยเทคโนยีราชมงคลพระนคร โดยใช้ LibQUAL+TM. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
พระนคร
สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา. (2557). มาตรฐานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2554 เข้าถึงได้จาก
http://qalibrary.bu.ac.th/
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ. (2556). รายงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2556. สกลนคร : สำนักวิทยบริการและ
เทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ. (2559). รายงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2559. สกลนคร : สำนักวิทยบริการและ
เทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
สุริทอง ศรีสะอาด. (2544). แนวทางการพัฒนาห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาไปสู่เกณฑ์มาตรฐานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา
พ.ศ.2544. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
เสาวภา ประพันธ์วงศ์. (2551). LibQUAL+TM : การประเมินคุณภาพบริการห้องสมุด. วารสารสำนักหอสมุดวิทยาลัยทักษิณ, 7(2),
21-25
อภิลักษณ์ คำแพงดาว. (2555). ประเภทของห้องสมุด. เข้าถึงได้จาก http://sites.google.com/site/myfriendnkhonhin