การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพครูในการใช้ระบบการวัดและ ประเมินผลของโรงเรียนหนองแวงวิทยานุกูล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษาเขต 22
Main Article Content
Abstract
การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหา เกี่ยวกับการใช้ระบบการวัดและประเมินผลของโรงเรียนหนองแวงวิทยานุกูล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 22 2) หาแนวทางการพัฒนาศักยภาพครูในการใช้ระบบการวัดและประเมินผลของโรงเรียนหนองแวงวิทยานุกูล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 และ 3)ติดตามผลการพัฒนาศักยภาพครูในการใช้ระบบการวัดและประเมินผลของโรงเรียนหนองแวงวิทยานุกูล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 22
กลุ่มเป้าหมายของการวิจัยครั้งนี้ ครูโรงเรียนหนองแวงวิทยานุกูล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 22จำนวน 15 คน กระบวนการในการดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 การวางแผน (Planning) ขั้นที่ 2การปฏิบัติการ (Action) ขั้นที่ 3 การสังเกตการณ์ (Observation) 2 วงรอบ และขั้นที่ 4 การสะท้อนกลับ (Refection) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการประชุม แบบวัดความรู้ แบบสอบถาม และแบบบันทึกผลการนิเทศภายใน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพื้นฐานในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพและปัญหาการปฏิบัติงานตามระบบงานทะเบียนและวัดผลโรงเรียนหนองแวงวิทยานุกูล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 ดังนี้
1.1 สภาพ การวัดและประเมินผลของหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ประกอบไปด้วยการประเมินของกลุ่มสาระการเรียนรู้ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนสื่อความ โรงเรียนได้แต่งตั้งบุคลากรทำหน้าที่งานทะเบียน 1 คน ต้องปฏิบัติงานด้านบริหารงานวิชาการอื่นด้วยโดยเฉพาะอย่างยิ่งการวัดและประเมินผลของหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐานยังไม่มีความแน่นอน ต้องมีการปรับเปลี่ยนแนวการวัดและประเมินผลบ่อยครั้งทำให้เกิดปัญหาในการปฏิบัติงานร่วมกับบุคลากรอื่นๆ อีกหลายงานที่เกี่ยวข้องกับงานบริหารวิชาการซึ่งไม่มีความชัดเจนเท่าที่ควร การ จัดเก็บข้อมูลไม่เป็นระบบ
1.2 ปัญหา ครูขาดความรู้ ความเข้าใจในการวัดและประเมินผลการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ ประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน ซึ่งไม่มีความชัดเจนเท่าที่ควร ส่งผลให้ข้อมูลด้านการวัดผลของโรงเรียนไม่สมบูรณ์ ข้อมูลไม่เป็นปัจจุบัน
2. แนวทางการพัฒนาศักยภาพครูในการใช้ระบบการวัดและประเมินผลของโรงเรียน หนองแวงวิทยานุกูล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 ประกอบด้วย 2 แนวทาง คือ การประชุมเชิงปฏิบัติการ และการนิเทศภายใน
3. ผลการพัฒนาศักยภาพครูในการใช้ระบบการวัดและประเมินผลของโรงเรียนหนองแวงวิทยานุกูล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 พบว่า บุคลากรครูมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ระบบการวัดและประเมินผลในโรงเรียน สามารถดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการด้านการวัดและประเมินผล มีทักษะในการใช้โปรแกรมข้อมูลและสารสนเทศโรงเรียน (BookMark. 2551) ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้อย่างชำนาญการ โปรแกรมแสดงผลข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว มีการรายงานข้อมูลได้ตามความต้องการ การพิมพ์รายงานสามารถพิมพ์รายงานตามที่ต้องการ กลุ่มผู้วิจัยมีความพึงพอใจในการใช้ระบบการวัดและประเมินผลของโรงเรียนอยู่ในระดับมาก
Article Details
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร