ประสิทธิผลการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย ของโรงเรียนอนุบาล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการส่งเสริมสถาน ศึกษาเอกชน ในจังหวัดสกลนคร

Main Article Content

ฑิฆัมพร ศิริจันทพันธ์

Abstract

ประสิทธิผลการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนอนุบาล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการส่งเสริมสถานศึกษาเอกชน ในจังหวัดสกลนคร

EFFECTIVENESS OF EDUCATIONAL MANAGEMENT BASED ON EARLY CHILDHOODEDUCATION STANDARD IN KINDERGARTEN SCHOOLS UNDER THE OFFICE OFPRIVATE EDUCATION COMMISSION, MINISTRY OF EDUCATION SAKON NAKHON PROVINCE

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาประสิทธิผลตามมาตรฐาน การศึกษาปฐมวัย โรงเรียนอนุบาล สำนักงานคณะกรรมการการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดสกลนคร เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นผู้บริหารและครูผู้สอนระดับปฐมวัยโรงเรียนอนุบาลสำนักงานคณะกรรมการการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดกลนคร เกี่ยวกับประสิทธิผลการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารจำนวน 44 คน ครูผู้สอนระดับปฐมวัย จำนวน 132 คน รวมทั้งสิ้น 176 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็น แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่า t-test ชนิด (Independent Samples) F-test ชนิด Oneway ANOVA

ผลวิจัยพบว่า

1. ระดับประสิทธิผลการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย ของโรงเรียนอนุบาลสำนักงานคณะกรรมการการส่งเสริมสถานศึกษาเอกชน ในจังหวัดสกลนคร ตามความคิดเห็นผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนระดับปฐมวัย โดยรวมและรายมาตรฐานอยู่ในระดับมาก ( X =4.33)

2. ผลการเปรียบเทียบระดับประสิทธิผลการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย ของโรงเรียนอนุบาล สำนักงานคณะกรรมการการส่งเสริมสถานศึกษาเอกชน ในจังหวัดสกลนคร ตามความคิดเห็นผู้บริหารและครูผู้สอนระดับปฐมวัย โดยรวมไม่แตกต่างกันรายข้อ

3. ผลการเปรียบเทียบระดับประสิทธิผลการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย ของโรงเรียนอนุบาล สำนักงานคณะกรรมการการส่งเสริมสถานศึกษาเอกชน ในจังหวัดสกลนคร ตามความคิดเห็นผู้บริหารและครูผู้สอนระดับปฐมวัย ที่มีประสบการณ์ต่างกัน พบว่า โดยรวมและรายด้านแตกต่างกัน

4. ผลการเปรียบเทียบระดับประสิทธิผลการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย ของโรงเรียนอนุบาล สำนักงานคณะกรรมการการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ในจังหวัดสกลนคร ตามความคิดเห็นผู้บริหารและครูผู้สอนระดับปฐมวัย ที่มีระดับการศึกษาต่างกันโดยรวมแตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .01 3 ด้าน คือ ด้านคุณภาพเด็ก ด้านการจัดการเรียนรู้ ด้านการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ ส่วนด้านการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ ไม่แตกต่างกัน

5. แนวทางการพัฒนาประสิทธิผลการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย ของโรงเรียนอนุบาล สำนักงานคณะกรรมการการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ในจังหวัดสกลนคร คือ การพัฒนาตาม มาตรฐานคุณภาพเด็ก มาตรฐานด้านการจัดการเรียนรู้มาตรฐานการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้

ABSTRACT

The purposes of this research were to investigate and compare the Effectiveness of Educational ManagementBased on Early Childhood Standard of Kindergarten Schools under the Office of Private Education Commissionof Ministry of Sakon Nakhon Province as perceived by the school administrators and teachers at thekindergarten school level. The sampling group consisted of 44 school administrators and 132 kindergartenTeachers a total of 176 participants obtaining through simple random sampling technique. The researchinstruments used for collecting data was set of questionnaires. Statistics used were percentage, mean, standarddeviation and t-test (Independent Samples) and F-test (One way ANOVA).

The findings of this study were as follows:

1. The level of Effectiveness of Educational Management Based on Early Childhood Education Standardof Kindergarten Schools under the Office of Private Education Commission of Sakon Nakhon Province, as a whole andin each standard item, was at a high level ( \bar{x} =4.33)

2. The results from the comparison of the Effectiveness of Educational Management Based on EarlyChildhood Education Standard in Kindergarten Schools under the Office of Private Education Commission ofSakon Nakhon Province as perceived by the administrators and teachers kindergarten school level who haddifferent experiences, as a whole and in each aspect, were indifferent.

3. The results from the comparison of the Effectiveness of Educational Management Based on EarlyChildhood Education Standard in Kindergarten Schools under the Office of Private Education of Sakon NakhonProvince as perceived by the administrators and Teachers at the kindergarten school level who had differentexperiences, as a whole and in each aspect, were indifferent.

4. The results from the comparison of the effectiveness of education of the effectiveness ofeducational management based on early childhood standard of kindergarten schools under the Office of PrivateEducation Commission of Sakon Nakhon Province as perceived by the administrators and teachers at thekindergarten school levels who held different education levels, as a whole, were different, When comparing ineach aspect, the three aspects, in terms of the quality of children, learning management, and communitydevelopment for learning was indifferent.

5. The guidelines of the developing the Effectiveness of Educational Management Based on EarlyChildhood Standard of Kindergarten Schools under the Office of Private Education Commission of Sakon NakhonProvince Contained the following Standard : the Quality of children, learning management, and CommunitiesDevelopment for learning.

Article Details

Section
บทความวิจัย