การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ โรงเรียนแวงพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23

Main Article Content

นันทกาญจน์ จันสุตะ

Abstract

การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ โรงเรียนแวงพิทยาคมสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23

ACTION RESEARCH TO DEVELOP THE TEACHERS’ POTENTIAL ON INTEGRATEDLEARNING MANAGEMENT IN THE LEARNING SUBSTANCE OF SCIENCES ATWAENG PHITTHAYAKHOM SCHOOL UNDER THE SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 23

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 2) หาแนวทางการพัฒนาศักยภาพครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ และ 3) ติดตามผลการพัฒนาศักยภาพครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ โรงเรียนแวงพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 โดยกระบวนการวิจัย เชิงปฏิบัติ (Action Research) ดำเนินการ 2 วงรอบ แต่ละวงรอบประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) การวางแผน (Planning) 2) การปฏิบัติการ (Action) 3) การสังเกตการณ์ (Observation) และ 4) การสะท้อนกลับ (Reflection) กลุ่มเป้าหมายของการวิจัยครั้งนี้ คือ กลุ่มผู้ร่วมวิจัย จำนวน 7 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 29 คนเครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบประเมิน แบบสังเกต และแบบนิเทศ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละความก้าวหน้า การตรวจสอบข้อมูลเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์เนื้อหา (ContentAnalysis) จัดหมวดหมู่ของเนื้อหาและนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์

ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพและปัญหาการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนแวงพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 ปรากฏดังนี้
1.1 สภาพ พบว่า ครูไม่ปรับเปลี่ยนวิธีการสอนให้สอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปการศึกษาที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ครูบางส่วนขาดการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้หรือจัดทำแผน แต่ไม่ได้ใช้แผนในการจัดการเรียนรู้ ยังคงยึดการสอนในรูปแบบเดิมๆ ตามที่ตนเองถนัด ไม่เปลี่ยนพฤติกรรมการสอนของตน ครูไม่มีความรู้ความเข้าใจ ขาดทักษะในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ไม่มีการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ และครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ยังไม่เคยได้รับการอบรมการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการมาก่อน
1.2 ปัญหา พบว่า ครูไม่มีความรู้ความเข้าใจและขาดทักษะในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ไม่มีการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการและการนำแผนไปจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการยังถือเป็นเรื่องที่ยากสำหรับครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ยังไม่เคยได้รับการอบรมการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการมาก่อน จึงทำให้การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการการ โรงเรียนแวงพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 ยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร

2. แนวทางการพัฒนาศักยภาพครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ โรงเรียนแวงพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 ซึ่งประกอบด้วยในวงรอบที่ 1 ใช้แนวทางการพัฒนา 2 แนวทาง คือการอบรมเชิงปฏิบัติการ และการนิเทศภายใน ส่วนในวงรอบที่ 2 ใช้การนิเทศภายในแบบให้คำชี้แนะ (Coaching)

3. การติดตามผลการพัฒนาศักยภาพครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ โรงเรียนแวงพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 พบว่า
3.1 ด้านความรู้ ความเข้าใจ พบว่า ก่อนการพัฒนาผู้ร่วมวิจัยทั้งหมด 6 คน มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 71.67 แต่หลังจากได้รับการพัฒนาผู้ร่วมวิจัยทั้งหมด 6 คน มีความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการเพิ่มมากขึ้น คิดเป็นร้อยละ 95.00 ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 23.33และมีร้อยละความก้าวหน้าเท่ากับ 82.46
3.2 ด้านการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ พบว่า หลังจากการอบรมเชิงปฏิบัติการ และการนิเทศติดตามผลการจัดการเรียนรู้ ในวงรอบที่ 1 โดยผลการประเมินแผนการจัดการเรียนรู้โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( = 4.30) จึงนำไปพัฒนาต่อในวงรอบที่ 2 พบว่า ผู้ร่วมวิจัยมีความสามารถในการเขียนแผน การจัดการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น โดยผลการประเมินแผนการเรียนรู้ในภาพรวมทุกด้าน ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.57 อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยในวงรอบที่ 2 เพิ่มจากวงรอบที่ 1 ( = 0.27)โดยมีค่าร้อยละความก้าวหน้า เท่ากับ 38.58
3.3 ด้านการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ พบว่า จากการสังเกตครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.54) และจากการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนในกิจกรรมการนิเทศภายใน โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.41)

ABSTRACT

The purposes of this study were to 1) investigate the current states and problems of integrated learningmanagement of the teachers in the Sciences Learning Substance, 2) to find out guidelines to develop theteachers’ potential on integrated learning management in the Learning Substance of Sciences, and 3) to monitorthe effects of the development of the teachers’ potentiality on integrated learning management at WaengPhitthayakhom School under the Secondary Educational Service Area Office 23.This study employed two spiralsof a four-stage action research comprising planning, action, observation and reflection. The target group isconsisted of the researcher, 7 co-researchers and 29 respondents. Instruments employed in this research werean interview form, an evaluation form, an observation form, and a supervisory form. The statistics used inquantitative data analysis were mean, percentage, standard deviation and the Percentage of Progress. Contentanalysis, content classification and descriptive analysis presentation were employed to analyze qualitative data.

The results of this study were as follows:

1. The current states and problems of integrated learning management at Waeng PhitthayakhomSchool under the Secondary Educational Service Area Office 23 indicated that :
1.1 Regarding the states of the integrated learning management at Waeng Phitthayakhom School,it was found that the teachers did not change their teaching methods to be consistent with the educationalreform of the learner-centered approach because the teachers lacked knowledge and understanding aboutthe integrated learning management. The teachers could not write the lesson plans and integrated learningmanagement.
1.2 In case of the problems ,it was determined that some teachers lacked planning of learningmanagement or they had a plan for learning but they taught by using old methods. The teachers faced a lackof knowledge, understanding and skills in managing the integrated learning. They did not write the lessonplans based on the integrated learning management. The teachers in the Sciences Learning Substance neverattended any trainings about the integrated learning management.

2. The guidelines to develop the teachers’ potentiality on the integrated learning management inthe Learning Substance of Sciences at Waeng Phitthayakhom School under the Secondary Educational ServiceArea Office 23 included a workshop and an internal supervision in the first spiral. For the second spiral, the coachingsupervision for the development was employed.

3. According to the monitoring of the development of the teachers’ competence through theintegrated learning management in the Learning Substance of Sciences at the school, it was found that:
3.1 In the aspects of knowledge and understanding before the development, it was found that 7co-researchers gained knowledge and understanding about the integrated learning management at the high levelof 71.67%. But after the development, they obtained better knowledge and understanding of 295 percent. Itwas at the high level. The mean increased 23.33 percent. The Percentage of Progress was 82.46%.
3.2 In the aspect of writing lesson plans on the integrated learning management, it was foundthat after the first spiral of development, it was at the high level in general. It was further to be developed inthe second spiral and it was found that the co-researchers could write the lesson plans at the higher level. Themean score of overall effects of the lesson plan evaluation was 4.57.It was at the highest level. The mean scorewas 0.27 higher than the first spiral. The Percentage of Progress was 38.58%.
3.3 In case of the observation of the integrated learning ,it was determined that, after thedevelopment, the suitability of learning management among the teachers in the Sciences Learning Substancewas at the highest level. In addition, through the observation of the students’ behaviors based on internalsupervision activities, the suitability was at the high level as a whole.

Article Details

Section
บทความวิจัย