การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาวินัยนักเรียน โรงเรียนบ้านกุดจาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3
Main Article Content
Abstract
การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาวินัยนักเรียน โรงเรียนบ้านกุดจานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3
ACTION RESEARCH TO DEVELOP THE STUDENTS’DISCIPLINE AT BAN KUTCHAN SCHOOL UNDER THE SAKON NAKHON PRIMARY EDUCATIONAL SERVICEAREA OFFICE 3
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาวินัยนักเรียน โรงเรียนบ้านกุดจาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 2) หาแนวทางในการพัฒนาวินัยนักเรียนโรงเรียนบ้านกุดจาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 3) ศึกษาผลของการพัฒนาวินัยนักเรียนโรงเรียนบ้านกุดจาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 กลุ่มเป้าหมาย จำแนกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้ร่วมวิจัย จำนวน 11 คน ประกอบด้วย ผู้วิจัยครูหัวหน้างานปกครอง ครูที่ปรึกษา จำนวน 9 คน กลุ่มเป้าหมายในการพัฒนา นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 จำนวน 167 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 39 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน ตัวแทนนักเรียน จำนวน 18 คน ตัวแทนผู้ปกครอง จำนวน 18 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 2 คน โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการ ประกอบด้วย 4ขั้นตอน คือ การวางแผน การปฏิบัติการ การสังเกตการณ์ และการสะท้อนกลับ เครื่องมือที่ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละความก้าวหน้า
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพและปัญหาวินัยนักเรียน ประกอบด้วย 2 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านสภาพวินัยนักเรียน พบว่า นักเรียนแต่งกายไม่ถูกระเบียบวินัยของโรงเรียน ไม่แสดงความเคารพ ครู ผู้ปกครอง ผู้มาเยี่ยมโรงเรียน มีพฤติกรรมด้านการแต่งกายและด้านการทำความเคารพอยู่ในระดับน้อย 2) ด้านปัญหาวินัยนักเรียน พบว่า นักเรียนไม่มีวินัยในตนเอง ผู้ปกครองไม่มีเวลาอบรมสั่งสอน ครูขาดการเอาใจใส่ดูแลนักเรียน นักเรียนเขินอายและไม่กล้าแสดงออก มีพฤติกรรมด้านการแต่งกายและด้านการทำความเคารพอยู่ในระดับน้อย
2. แนวทางในการพัฒนาวินัยนักเรียน มี 2 แนวทาง คือ 1. การจัดกิจกรรมพัฒนาวินัยนักเรียน ประกอบด้วย 4 กิจกรรมดังนี้ 1.1) กิจกรรมการเยี่ยมบ้านนักเรียน 1.2) กิจกรรมการ อบรมนักเรียนหน้าเสาธง 1.3) กิจกรรมการยืนรับ-ส่งนักเรียน 1.4)กิจกรรมโฮมรูม2. การนิเทศภายใน
3. ผลของการพัฒนาวินัยนักเรียน ประกอบด้วย 2 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านการแต่งกาย พบว่า นักเรียนแต่งกายถูกต้องตามระเบียบวินัยของโรงเรียน และมีพฤติกรรมด้านการแต่งกายอยู่ในระดับมาก 2) ด้านการทำความเคารพ พบว่า นักเรียนทำความเคารพครู ผู้ปกครอง ผู้มาเยี่ยมโรงเรียน ถูกต้องตามระเบียบวินัยของโรงเรียน และมีพฤติกรรมด้านการทำความเคารพอยู่ในระดับมาก
ABSTRACT
The purposes of this research were 1) to investigate the state and the problems of the studentsdiscipline at Ban Kut Chan school under the Sakon Nakhon Primary Educational Service Area office 3, 2) to findout a guideline for developing the students discipline at Ban Kut Chan school under the Sakon NakhonPrimary Educational Service Area office 3, 3) to investigate the evaluation of developing the students disciplineat Ban Kut Chan school under the office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 3. The target groupof this research was divided into 3 groups. The first group is consisted of researcher, head of administrationsection, and 9 advisors. The second group is consisted of 167 students in Prathom Suksa 1–3. The third group isconsisted of administrator, 18 representative students, 18 representative parents, and 2 school’s committee.There are four stage of action research in this research ; 1) planning, 2) action, 3) observation, and 4)reflection. The instrument used in this research were 1) observation form, 2) the interview form, and 3)questionnaire. The statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation andprogress percentage.
The results of this study were as follows :
1. The state and problems of the students discipline consisted of 2 aspect;
1.1 state of students discipline aspect found that the students were not following the schoolregulation, no respect to teachers and visitors. Their behaviors in wearing and senior respect were low level.
1.2 problem of students discipline found that they don’t have discipline. Their parents don’thave time to give guidance them. They were lacked of empathy from their teachers. They were shy to expressthemselves. Their behaviors in wearing and senior respect were low level.
2. The guideline for developing the students discipline has 2 ways;
2.1 activities of students discipline development are consisted of 4 activities (house visiting activity,cultivation activity, transfer activity, and homeroom activity).
2.2 Supervision.
3. The follow–up and evaluation of students discipline consisted of 2 aspects;
3.1 Wearing aspect found that the students were following the school regulation. Their behaviorin wearing was high level.
3.2 Senior respect aspect found that the students were respect to teacher, senior, parent, andvisitor. The students were following the school regulation. Their behavior in senior respect was high level.
Article Details
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร