ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนต่อการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มคุณภาพการศึกษานครหงส์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1

Main Article Content

ธวัช ราชมี
จักรกฤษณ์ โพดาพล

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนต่อการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มคุณภาพการศึกษานครหงส์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 และ 2) เปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนต่อการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มคุณภาพการศึกษานครหงส์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 จำแนกตามวุฒิการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน ประชากรที่ศึกษา ได้แก่ ผู้ปกครองของนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มคุณภาพการศึกษานครหงส์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 ใช้วิธีกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซี่และมอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น จำนวน 320 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (rating scale) และแบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง (Semi-structured interview) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว


            ผลการวิจัยพบว่า


  1. ระดับความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนมีความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการบริหารงานวิชาการอยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ ด้านการบริหารงานทั่วไป และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการบริหารงานงบประมาณ

  2. การเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน จำแนกตามวุฒิการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน พบว่า โดยภาพรวมทั้ง 4 ด้านไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง
* หนังสือภาษาไทย
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักงาน. (2550). แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา
ให้คณะกรรมการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธี การกระจายอำนาจการบริการและการจัดการศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไข
เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาแห่งชาติ.
บุญชม ศรีสะอาด. (2542). การวิจัยเบื้องต้น. มหาสารคาม : ภาควิชาพื้นฐานการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ภัทราพร เกษสังข์. (2549). การวิจัยทางการศึกษา. เลย : ภาควิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

* หนังสือภาษาอังกฤษ
Krejcie R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational
and Psychological Measurment, 30(3), 607-608.
Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of
criterion referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2, 49-60.

* วิทยานิพนธ์
ชลิดา ชัยปฏิวัติ (2556). ความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนโพธิสัมพันธ์พิทยาคาร
จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญา กศ.ม. (การบริหารการศึกษา), คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.
ผ่องพักตร์ สุดสวาท. (2554). ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีต่อการจัดการศึกษาของ
โรงเรียนวัดสุทธาวาส อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญา กศ.ม. (การบริหารการศึกษา),
คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา
ผุสดี แสงหล่อ. (2555). ศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อการบริหารงานของโรงเรียนส่วนป่าอุปถัมภ์ สำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญา กศ.ม. (การบริหารการศึกษา),
คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.
รวิธิดา เนื้อทอง. (2550). ความต้องการของผู้ปกครองนักเรียนในการจัดการศึกษาของโรงเรียนแสงหิรัญ เขตวัฒนา
กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญา กศ.ม. (การบริหารการศึกษา), คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัย-
บูรพา.
รุจิรา เหลืองอุบล และน้ำลิน เทียมแก้ว. (2554). ความพึงพอใจต่อคุณภาพการบริการของสำนักวิทยบริการ
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประจำปีการศึกษา 2554. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. มหาสารคาม :
สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วรายุทธ แก้วประทุม. (2556). การศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนต่อการบริหารงานของโรงเรียนบ้าน-
หินแร่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญา กศ.ม. (การบริหาร
การศึกษา), คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.
วิษณุ เกิดในหล้า. (2550). การศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีต่อการจัดการ-
ศึกษาของโรงเรียนทัพพระยาพิทยา. วิทยานิพนธ์ปริญญา กศ.ม. (การบริหารการศึกษา), คณะศึกษาศาสตร์,
มหาวิทยาลัยบูรพา.
วิสิทธิ์ ฉัตรมงคล. (2550). ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนเมืองพัทยา 6 (วัด
ธรรมสามัคคี). วิทยานิพนธ์ปริญญา กศ.ม. (การบริหารการศึกษา), คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.
เสาวภาคย์ ปฐมพฤกษ์วงษ์. (2558). ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนต่อการบริหารงานของโรงเรียนในอำเภอเขา
สมิง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. วิทยานิพนธ์ปริญญา กศ.ม. (การบริหาร
การศึกษา), คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.
อรพิน เจียมพิรุฬห์กิจ. (2551). ความคาดหวังในการบริหารงานวิชาการระดับก่อนประถมศึกษาของผู้ปกครอนักเรียน
โรงเรียนอนุบาลหลานรัก จังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์ปริญญา กศ.ม. (การบริหารการศึกษา), คณะศึกษา-
ศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

* สื่ออิเล็กทรอนิกส์
เขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 1, สำนักงาน. (2553). สภาพทั่วไป ข้อมูลพื้นฐาน. สพท.ลย 1. เข้าถึงได้จาก http://www.loei1.go.th/includes/FCKeditor/upoload/File/2553/Datainformation2553no2-
doc02- Introduction-generality.pdf. 1 มกราคม 2558.