การพัฒนาโมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ ความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
Main Article Content
Abstract
รโครงสร้างพหุระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน จำนวน 1,280 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย, แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาจำนวน 40 ข้อ มีค่าความยาก (p) ระหว่าง 0.66 ถึง 0.79 อำนาจจำแนก (r)ระหว่าง 0.23 ถึง 0.85 ,ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.71, แบบสอบถามปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการแก้ปัญหาจำนวน 84 ข้อ ค่าอำนาจจำแนกรายข้อ () ตั้งแต่ 0.31 ถึง 0.91 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพหุระดับ (MCFA) การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง(SEM)และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับ (MSEM)ผลการวิจัยปรากฏดังนี้1) ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพหุระดับของโมเดลการวัดความสามารถในการแก้ปัญหา พบว่า มีความตรงเชิงโครงสร้างหรือมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณาได้จากค่าสถิติที่ใช้ตรวจสอบความตรงของโมเดล ได้แก่ = 0.932, df = 1, / df = 0.932, p-value = 0.334, CFI =1.000, TLI = 1.001, RMSEA = 0.00, SRMRB = 0.007SRMRW = 0.019 2) ผลการพัฒนาและตรวจสอบความตรงของโมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน พบว่าโมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยค่าสถิติที่ใช้ตรวจสอบความตรงของโมเดลดังนี้ คือ มีค่า 2= 1459.144, df = 373, p-value = 0.000, CFI = 0.925, TLI =0.918, RMSEA = 0.048, SRMRW = 0.023, SRMRB = 0.615 และ 2/df = 3.91 ตัวแปรระดับบุคคลและระดับโรงเรียนร่วมกันอธิบายความแปรปรวนความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ระดับบุคคล และระดับห้องเรียนได้ร้อยละ66.80 และ 90.00 ตามลำดับ
Article Details
Section
บทความวิจัย
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร