สมรรถนะด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารพื้นฐาน ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3

Main Article Content

ศิวพร ศรีมังคละ

Abstract

บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาระดับสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของครู 2) เปรียบเทียบสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของครูจำแนกตามสถานภาพและขนาดโรงเรียน 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของครู สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 โดยประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูผู้สอนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 จำนวน 1,511 คน จาก 193 โรงเรียน ส่วนผู้ให้ข้อมูล


เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 306 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสถิติค่าที และการทดสอบความแปรปรวนทางเดียว


 


            ผลการวิจัยพบว่า


            สมรรถนะด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารพื้นฐานของครู โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง (  =3.41) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีสมรรถนะมากที่สุดคือ ด้านการใช้ฮาร์ดแวร์พื้นฐาน (  =4.07) รองลงมาคือ ด้านการใช้เว็บบราวเซอร์ (  =3.70) และ ด้านการใช้โปรแกรมนำเสนอ (  =3.68) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยสมรรถนะน้อยที่สุด คือ ด้านการสามารถนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมาใช้ในการเรียนการสอน (  =2.48)


            ผลการเปรียบเทียบสมรรถนะด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารพื้นฐานของครูฯ จำแนกตามเพศ พบว่า โดยรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


            ผลเปรียบเทียบสมรรถนะด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารพื้นฐานของ ครูฯ จำแนกตามอายุ พบว่า โดยรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทีระดับ .05


            ผลเปรียบเทียบสมรรถนะด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารพื้นฐานของ ครูฯ จำแนกตามประสบการณ์ พบว่า โดยรวมและรายด้านมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


            ผลการเปรียบเทียบสมรรถนะด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารพื้นฐานของครูฯ จำแนกตามวุฒิการศึกษา พบว่า โดยรวมไม่มีความแตกต่างกัน และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันทุกด้าน


ผลเปรียบเทียบสมรรถนะด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารพื้นฐานของ ครูฯ จำแนกตามขนาดโรงเรียน พบว่า โดยรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยพบว่าโรงเรียนขนาดเล็กกับโรงเรียนขนาดกลาง และโรงเรียนขนาดกลางกับโรงเรียนขนาดใหญ่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


            ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับสมรรถนะด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารพื้นฐานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 จากแบบสอบถามปลายเปิด สรุปผลได้ดังนี้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรจัดให้มีการอบรมการใช้งานคอมพิวเตอร์แก่ครูอย่างสม่ำเสมอและทั่วถึงจัดหาคอมพิวเตอร์


ที่มีประสิทธิภาพให้แก่โรงเรียนขาดแคลน พัฒนาระบบอินเทอร์เน็ตโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพ


จัดให้มีการอบรมให้ความรู้ด้านการใช้โปรแกรมที่จำเป็นสำหรับครู เพื่อให้ครูสามารถนำไปปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ


คำสำคัญ :  สมรรถนะของครู, สมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, แนวทางการพัฒนาครู


ABSTRACT


This research aims to: 1) study the ICT competencies of teachers; 2) compare the performance of information and communication technology of teachers by school status and size; 3) study the development of ICT competencies; The results of the study were as follows. The research is teachers under the office of Sakon Nakhon primary educational service area 3 of 1,511 people from 193 schools who provide a sample of 306 was used in this study was a questionnaire. Statistics used in data analysis were percentage, mean, standard deviation T test statistics And one-way ANOVA.


The research found that


The competencies of using ICT and basic communication of teachers was at a moderate level ( = 3.41). The use of hardware ( = 4.07), followed by web browser      ( = 3.70) and presentation ( = 3.68). Teaching in teaching ( = 2.48)


The results of the comparison of the competencies of information technology and basic communication of the teachers by gender showed that the overall difference was statistically significant at .01 level. There were statistically significant at .05 level.


The comparison of the competencies of using ICT and basic communication of teachers by age was found that the overall difference was statistically significant at .01 level. At the .05 level,


The comparison of the competencies of using ICT and basic communication of teachers by experience, it was found that the overall and the individual aspects were statistically significant at .01 level. When considering each aspect, it was found that the difference was statistically significant at .01 level.


The comparison of the competencies of using ICT and basic communication of teachers. There is no difference in overall education. And when considering each side, there is no difference in every aspect.


The comparison of the competencies of using ICT and basic communication of teachers by the school size was found to be significantly different at .01 level. There was a statistically significant difference at .01 level


Analyzes of information on the competencies of information technology and basic communication of teachers. Under the Office of Sakon Nakhon Primary Education Area Zone 3, from the open questionnaire. The results are as follows. Office of Educational Service Area and the relevant agencies. Regular computer training should be provided to the teachers regularly and thoroughly to provide efficient computers to school shortages. Improve school internet system. Provide training for the use of the necessary programs for teachers. So teachers can lead to work effectively.


Keywords:   teacher competency, information and communication technology competency, teacher development

Article Details

Section
บทความวิจัย