การศึกษาทักษะกระบวนการการเชื่อมโยง เรื่องเศษส่วนโดยใช้กิจกรรมโครงงานคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา THE STUDY OF LEARNING PROCESS ON FRACTION, THE MATHEMATICAL PROJECT OF GRADE 7 STUDENTS AT OPPORTUNITY EXPANSION SCHOOL
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่อง เศษส่วน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ก่อนและหลังใช้กิจกรรมโครงงานคณิตศาสตร์ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่อง เศษส่วน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาหลังใช้กิจกรรมโครงงานคณิตศาสตร์ กับเกณฑ์คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 70 3) ศึกษาทักษะกระบวนการการเชื่อมโยง เรื่อง เศษส่วน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา โดยใช้กิจกรรมโครงงานคณิตศาสตร์ และ 4) ศึกษาคุณภาพโครงงานคณิตศาสตร์เรื่อง เศษส่วนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา โดยใช้กิจกรรมโครงงานคณิตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านบางหมาก สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 อาเภอกันตัง จังหวัดตรัง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จานวน 1 ห้องเรียน จานวน 31 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมโครงงานคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน เกณฑ์การประเมินทักษะกระบวนการการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์ และเกณฑ์การประเมินคุณภาพโครงงานคณิตศาสตร์ ใช้แบบแผนการทดลองแบบกลุ่มเดียว วัดผลก่อนและหลังการทดลอง (One-Group Pretest-Posttest Design) และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ตัวสถิติทดสอบ ค่า t (Dependent sample t-test) และ t-test (one sample t-test)
Article Details
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
References
*หนังสือภาษาไทย
กรมวิชาการ. (2551). คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์. กรุงเทพมหานคร:
โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
เจียมใจ จันทร์ศรี. (2550). “กิจกรรมโครงงานคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม สำหรับนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนศรีจันทร์วิทยาคม รัชมังคลาภิเษก จังหวัดเพชรบูรณ์”
วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน สาขาวิชา
ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ทิพรัตน์ ปะสีละเตสัง. (2551). “กิจกรรมโครงงานคณิตศาสตร์เรื่อง สถิติสำหรับนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนมัธยมหลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ จังหวัดนครราชสีมา”
วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน
สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ประณีต ธรรมโลกา. (2550). กิจกรรมโครงงานคณิตศาสตร์ เรื่อง คู่อันดับและกราฟ
สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านห้วยยางโทน จังหวัดราชบุรี.
วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551.
ปรีชา เนาว์เย็นผล. (2554). “โครงงานคณิตศาสตร์” ใน ประมวลสาระชุดวิชาการจัด
ประสบการณ์เรียนรู้คณิตศาสตร์ หน่วยที่ 13 นนทบุรี สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
พรเนตร ตีระมาตย์. (2550). “กิจกรรมโครงงานคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนอนุบาลโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์”
วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน
สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
รักษ์ชล พัสดุสาร. (2552). “กิจกรรมโครงงานคณิตศาสตร์เรื่องการประมาณค่า สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดนครศรีธรรมราช” วิทยานิพนธ์
ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
รัศมี สุขเกษม. (2550). “กิจกรรมโครงงานคณิตศาสตร์เรื่องความคล้าย สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนพิมายวิทยา จังหวัดนครราชสีมา” วิทยานิพนธ์ปริญญา
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สมชาย ทองบ่อ. (2551). “กิจกรรมโครงงานคณิตศาสตร์เรื่องทฤษฎีบทพีทาโกรัสสำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านหนองแป้น จังหวัดอุบลราชธานี” วิทยานิพนธ์ปริญญา
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2546). คู่มือวัดผลประเมินผลคณิตศาสตร์.
กรุงเทพมหานคร: คุรุสภาลาดพร้าว.