การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุแบบองค์รวมตามแนววิถีพุทธ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยเรื่อง “การพัฒนาคุณภาพชีวิตของของผู้สูงอายุแบบองค์รวมตามแนววิถีพุทธ”โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุแบบองค์รวมตามแนววิถีพุทธในสังคมเมืองของประเทศไทยรวมทั้งวิเคราะห์และสังเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุแบบองค์รวมตามแนววิถีพุทธในทุกมิติ รวมทั้งพัฒนารูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุแบบองค์รวมตามแนววิถีพุทธสำหรับผู้สูงอายุของประเทศไทย ทั้งนี้ผู้วิจัยได้ดำเนินการศึกษาวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methodology) ด้วยวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ(Quantitative) และเชิงคุณภาพ (Qualitative) ซึ่งเก็บรวบรวมกับกลุ่มผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในชุมชนเมืองฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร จำนวน 4 ชุมชนๆ ละ 100 คน รวม 400 คนและสัมภาษณ์ผู้นำชุมชน จำนวน 10 คนโดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจงตามสะดวก
ผลการศึกษาวิจัยพบว่า ชุมชนAระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงวัยอยู่ในระดับสูงมาก ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.02 ชุมชน B ระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงวัยอยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.57 ชุมชน C ระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงวัยอยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.43 ชุมชน D ระดับคุณภาพชีวิตในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.31 และระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุแบบองค์รวมตามแนววิถีพุทธในสังคมเมืองโดยค่าเฉลี่ยระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงวัยจากพื้นที่ชุมชนฝั่งธนบุรีจำนวน 4 ชุมชนมีระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงวัยอยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ยที่ 3.58 ด้านปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุแบบองค์รวมตามแนววิถีพุทธในทุกมิติ ตามแนววิถีพุทธในสังคมเมืองจากพื้นที่ชุมชนฝั่งธนบุรี โดยจากการศึกษา พบว่า มี 3 ปัจจัย ได้แก่ 1) ปัจจัยด้านสุขภาพอนามัย 2) ปัจจัยด้านสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจ 3) ปัจจัยด้านสังคมและจิตวิทยา ด้านรูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุแบบองค์รวมตามแนววิถีพุทธสำหรับผู้สูงอายุของประเทศไทยตามแนววิถีพุทธในสังคมเมืองจากพื้นที่ชุมชนฝั่งธนบุรี โดยจากการศึกษา พบว่า รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุแบบองค์รวมตามแนววิถีพุทธสำหรับผู้สูงอายุของประเทศไทยตามแนววิถีพุทธในสังคมเมืองจากพื้นที่ชุมชนฝั่งธนบุรีควรมี 3 รูปแบบดังต่อไปนี้ 1) การพัฒนาด้านร่างกาย (กายภาวนา) 2) การพัฒนาด้านสัมพันธภาพทางสังคม (ศีลภาวนา) 3) การพัฒนาด้านจิตใจ (จิตตภาวนา) 4) การพัฒนาด้านสติปัญญา (ปัญญาภาวนา)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความและบทความในวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ เป็นแนวคิดของผู้เขียน ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของคณะผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
ข้อความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการีพิมพ์ในวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ หากบุคคลใดหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาติเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการก่อนเท่านั้น
References
สุนทรีพัวเวส. (2551). ความรู้เกี่ยวกับเรื่องผู้สูงอายุ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: บริษัทนานมีบุ๊คส์พับบลิเคชั่น จำกัด.
ศศิพัฒน์ ยอดเพชร. (2549). โครงการระบบการดูแลระยะยาวในครอบครัวสำหรับผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: มิสเตอร์ก็อปปี้.
บรรลุ ศิริพานิช. (2542). ผู้สูงอายุไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ดี.
ปิยาภรณ์ ศิริภานุมาศ. (2546). ปัญหาและแนวทางพัฒนาชมรมผู้สูงอายุในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ธรรมรักษา. (2541). พระไตรปิฎกฉบับผู้ใฝ่ธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สติ.
นิศา ชูโต. (2525). คนชราไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิทักษิณา สุภานุสร. (2546). กลไกทางวัฒนธรรมในการช่วยเหลือผู้สูงอายุของชุมชนคนบท. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุรกุล เจนอบรม. (2534). วิทยาการผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต). (2550). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พงษ์ วรพงศ์พิเชษฐ. (2550). พุทธธรรมบำบัด. กรุงเทพฯ: กองแพทย์ทางเลือก กรมการพัฒนาแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกกระทรวงสาธารณสุข.
สมบูรณ์ วัฒนะ. (2559). แนวคิดการดูแลผู้สูงอายุตามแนวพระพุทธศาสนาเถรวาท. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 24(44), 173-193.
ดลฤดี สุวรรคีรี. (2550). ความสุข 8 ประการในที่ทำงาน. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
ภาสกร สวนเรือง, สุจิตรา จรจิตร และช่อลดา พันธุเสนา. (2552). ภาวะเครียด ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเครียด และการจัดการความเครียดของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่. วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 15(2), 315-35.
วิจิตรา พูลเพิ่ม และชลลดา พันธุชิน. (2552). ทักษะชีวิตและการปรับตัวของนักศึกษาวัยรุ่น ชั้นปีที่ 1 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 32(1), 38-48.
สุนิสา ตะสัย ประชา ฤาชุตกุล และ วิรัตน์ ธรรมาภรณ์. (2551). ความเครียดและการแก้ปัญหาความเครียดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดสงขลา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 19(2), 103-114.
อภิชัย มงคล, วัชนี หัตถพนม, ภัสรา เชษฐ์โชติศักดิ์, วรรณประภา ชลอกุล และละเอียด ปัญโญใหญ่. (2544). การศึกษาดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตคนไทย (ระดับบุคคล). ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.
Bentham, Jeremy. (1789), An Introduction to the Principles of Morals and Legislation. 1996 edition, edited by J.H. Burns and H.L.A. Hart, Oxford: Clarendon Press.
Diener, E. (2005). Subjective well-being Continuing Psychology Education. Edington,
Frey, Bruno and Alois Stutzer. (2007). Should National Happiness Be Maximized? presented at OECD Conference on Measurability and Policy Relevance of Happiness, April 2-3, Rome
Jimenez C., Navia-Osorio P.M., Diaz C.V. (2010). Stress and health in novice and experienced nursing students. Journal of Advanced Nursing, 66(2), 442-55. doi: 10.1111/j.1365-2648.2009.05183.x.
Lo R. (2002). A longitudinal study of perceived level of stress, coping and self-esteem of undergraduate nursing students: an Australian case study. Journal of Advanced Nursing, 39(2), 119-126. doi: 10.1046/j.1365-2648.2000.02251.x.
Kalmijn, Wim and Ruut Veenhoven. (2005). Measuring Inequality of Happiness in Nations: In Search for Proper Statistics. Journal of Happiness Studies, 6(4), 357-396,
December. N., and Shuman, R. (2005). Subjective well-being (happiness) Continuing Psychology Education. Retrieved April 14, 2007, from http://www.texcpe.com
Layard, Richard. (2005). Happiness: Lessons from a New Science. Great Britain: Penguin.
Lyubomirsky, et al,. (2005). Pursuing happiness: The architecture of sustainable change. Review of General Psychology, 9(2), 111-31.
Rowley, M. (2007). How to be happy 20 tips that really work. Retrieved February 18, 2008, from http://www.personal-growth-strategies
Smith, T. (2007). Finding happiness in a Harvard classroom. Retrieved April 14, 2007, from http://www.npr.org
Veenhoven, R. (2005). Happy life years: A measure of gross national happiness. Retrieved April 14, 2007. from http://www.Grossnationalhappiness.com
Veenhoven, R. (2007). Measures of Gross National Happiness. presented at OECD Conference on Measurability and Policy Relevance of Happiness, April 2-3, Rome.