อิทธิพลของการยอมรับเทคโนโลยี องค์ประกอบของเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 7C’s และรูปแบบการดำเนินชีวิตที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการเสริมความงามและสุขภาพผ่านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

Main Article Content

สุภาพร ดงเกิด
รุจิภาส โพธิ์ทองแสงอรุณ

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคิดเห็นของการยอมรับเทคโนโลยี องค์ประกอบของเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 7C’s รูปแบบการดำเนินชีวิต และการตัดสินใจใช้บริการเสริมความงามและสุขภาพผ่านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 2) ศึกษาอิทธิพลของการยอมรับเทคโนโลยี องค์ประกอบของเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 7C’s และ รูปแบบการดำเนินชีวิตที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการเสริมความงามและสุขภาพผ่านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์ จากกลุ่มผู้บริโภคออนไลน์ที่มีประสบการณ์และสนใจบริการความงามและดูแลสุขภาพผ่านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 400 ตัวอย่าง สุ่มตัวอย่างแบบสะดวก วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ


ผลการวิจัยพบว่า การยอมรับเทคโนโลยี องค์ประกอบของเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 7C’s และ รูปแบบการดำเนินชีวิต ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการเสริมความงามและสุขภาพผ่านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ อยู่ในระดับปานกลาง (R = 0.592) มีอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 35.10 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการเสริมความงามและสุขภาพผ่านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มากที่สุดคือ การยอมรับเทคโนโลยี รองลงมาคือ องค์ประกอบของเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 7C’s และรูปแบบการดำเนินชีวิต

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมสุขภาพจิต. (2563). New normal ชีวิตวิถีใหม่. จาก http://www.dmh.go.th/apps

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2556). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติสำหรับการบริการและวิจัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กฤษฎา มิมมา. (2564). กระบวนการตัดสินใจใช้นาฬิกาเพื่อสุขภาพของผู้นิยมออกกำลังกายในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เกวรินทร์ ละเอียดดีนันท์. (2557). การยอมรับเทคโนโลยีและพฤติกรรมผู้บริโภคออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2565). ธุรกิจ Wellness. จาก https://www.set.or.th/

นุชนาถ คุณความดี. (2562). Wellness Tech…ตลาดใหญ่ที่น่าสนใจสำหรับสตาร์ทอัพ (ไทย). กรุงเทพฯ: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.

ปราโมทย์ ยอดแก้ว. (2564). การตลาดดิจิทัลกับการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตใหม่ใสังคมไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.

มิลตรา สมบัติ และปวีณา คำพุกกะ. (2561). อิทธิพลขององค์ประกอบเว็บไซต์ (7C’s) ที่มีต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านอินเทอร์เน็ต. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

วรรณธิกา คำบุญมา. (2561). ส่วนประสมทางการตลาดและรูปแบบการดำเนินชีวิตที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อรถยนต์โตโยต้า วีออส ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

สิทธิชัย ภูษาแก้ว. (2560). ปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยีที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการ Grab ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สุนิสา ชีวันโชติบัณฑิต. (2565). รูปแบบการดำเนินชีวิตและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้ออาหารคลีนผ่านช่องทางออนไลน์ ของบุคลากรกรมสอบสวนคดีพิเศษ. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.

อาริยา ลีลารัศมี. (2558). องค์ประกอบของเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และความไว้ใจในการซื้อสินค้าที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าแบรนด์เนมผ่านเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

Ajzen, I. & Fishbein, M. (1980). Understanding attitudes and predicting social behavior. Engle wood, NJ: Prentice-Hall.

Burton, Grego, & Thakur, Manab. (2016). Management today: Principles and practice. New Delhi: McGraw-hill.

Chu, A. Z-C., & Chu, R. J-C. (2011). The intranet’s role in newcomer socialization in hotel industry in Taiwan-technology acceptance model analysis. The International Journal of Human Resource Management, 22(5), 1163-1179.

Davis, F. D. (1989). Perceived usefulness, perceived ease of use, and user acceptance of information technology. MIS quarterly, 13(3), 319-340.

Kotler, P. (2000). Marketing management: Analyzing consumer marketing and Buyer behavior. NJ: Prentice Hall.

Laudon, K. C., & Traver, C. G. (2007). E-Commerce: Business technology society (3rd ed.). NJ: Pearson Prentice Hill.

Mathieson, K., Peacock, E., & Chin, W. W. (2001). Extending the technology acceptance model: the influence of perceived user resources. ACM SIGMIS Database: the DATABASE for Advances in Information Systems, 32(3), 86-112.

Solomon, Michael R. (2013). Consumer Behavior: Buying, Having, and Being (8th ed.). NJ: Prentice-Hall.

Yamane, Taro. (1967). Statistics, An Introductory Analysis (2nd Ed.). NY: Harper and Row.

Yen, W.-C. & Tseng, T. H. (2014). Building buyers' long-term relationships with the B2B e-marketplace: The perspective of social capital. PACIS 2014 Proceedings. Pac. Asia Conf. Inf. Syst., PACIS 2014, 111846.