รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูระดับประถมศึกษายุคประเทศไทย 4.0

Main Article Content

ฐาปวี หนองหารพิทักษ์
เพ็ญศรี ฉิรินัง
อรุณ รักธรรม
อุดมวิทย์ ไชยสกุลเกียรติ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบผสมผสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของครูต่อปัญหาและความคาดหวังต่อสมรรถนะของครูในยุคประเทศไทย 4.0 และเพื่อเสนอรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูระดับประถมศึกษายุคประเทศไทย 4.0 กลุ่มตัวอย่างคือ ครูของโรงเรียนขนาดกลางและขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1 จำนวน 266 คน และผู้อำนวยการ/รองผู้อำนวยการโรงเรียนขนาดกลางและขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1 จำนวน 12 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ
ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้รูปแบบการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ระดับความคิดเห็นของครูมีความคาดหวังต่อสมรรถนะของครูในยุคประเทศไทย 4.0 สูงกว่าปัญหาสมรรถนะทุกด้าน โดยด้านการพัฒนาผู้เรียนมากที่สุด รองลงมาคือ การพัฒนาตนเอง และการบริหารจัดการชั้นเรียน ดังนั้น จึงนำสู่การหารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครู โดยนำรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมาพัฒนาร่วมกับการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้นักเรียน
ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง และทำงานเป็นทีมในโรงเรียนเดียวกัน หรือโรงเรียนอื่นผ่านระบบสารสนเทศ อันจะนำไปสู่ผลประโยชน์ที่นักเรียน ครู ผู้บริหาร และโรงเรียน จะได้รับอย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). การวิจัยและพัฒนานโยบายการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา.

กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). การพัฒนากลไกขับเคลื่อนระบบการผลิตและพัฒนาครูสมรรถนะสูงสำหรับประเทศไทย 4.0.

กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

ชัย สมิทธิไกร. (2550). การสรรหา การคัดเลือก และการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร (พิมพ์ครั้งที่ 2).

กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณรงค์วิทย์ แสนทอง. (2551). การบริหารผลงานเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ดิเรก พรสีมา. (2559). ครูไทย 4.0. จาก https://www.matichon.co.th/columnists/news_345042

ถาวร เส้งเอียด. (2553). สภาพ ปัญหา และความต้องการในการพัฒนาตนเองของครูและบุคลากรทางการศึกษาในจังหวัดราชบุรี

และสมุทรสงคราม. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 34(3-4), 108-116.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). หลักการวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวิริยาสาส์น.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2561). การศึกษา 4.0 เป็นยิ่งกว่าการศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เลิศนภา พงษ์ดำ. (2561). การพัฒนาสมรรถนะในการปฏิบัติงานด้านการจัดการเรียนการสอนของข้าราชการครู: กรณีศึกษา

โรงเรียนสุเหร่าดอนสะแก. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์. (2558). PLC คืออะไร สำคัญอย่างไร.

จาก https://candmbsri.wordpress.com/2015/04/02/plc

สุนันท์ สีพาย และไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2561). เปลี่ยนผ่านการศึกษาไทยสู่ การศึกษา 4.0.

วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 24(2), 13-27.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1. (2562). ข้อมูลพื้นฐานโรงเรียน สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

ประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1. จาก https://new.phitsanulok1.go.th

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2556). สภาพปัจจุบันและปัญหาการพัฒนาครู. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

อำนวย แสงสว่าง. (2544). การจัดการทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: อักษราพิพัฒน์.

Erdfelder, E., Faul, F., Lang, A. G., & Buchner, A. (2007). G*Power 3: A Flexible Statistical Power Analysis

Program for the Social, Behavioral, and Biomedical Sciences. Behavior Research Methods,

, 175- 191.

Hord, S. M. (1997). Professional learning communities: Communities of inquiry and improvement.

Austin: Southwest Educational Development Laboratory.

Likert, R. (1979). The Method of Constructing and Attitude Scale. New York: Wiley and Son.

McClelland, D. C. (1973). Testing for Competence Rather than for Intelligence. American Psychologist,

(1), 1-14.