ความต้องการจำเป็นและแนวทางส่งเสริมภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหาร ตามความคิดเห็นของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนบางปลาม้า “สูงสุมารผดุงวิทย์” จังหวัดสุพรรณบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพที่เป็นจริง สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นเพื่อเสนอแนวทางการส่งเสริมภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารโรงเรียนบางปลาม้า “สูงสุมารผดุงวิทย์” ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนบางปลาม้า “สูงสุมารผดุงวิทย์” ปีการศึกษา 2564 จำนวน 115 คน โดยใช้ประชากรทั้งหมดในการเก็บรวบรวมข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามประเภทมาตราส่วนประมาณค่าของลิเคิร์ท และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ดัชนีความสำคัญของความต้องการจำเป็น และค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือ
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพที่เป็นจริงอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุดในทุกด้าน ซึ่งความต้องการจำเป็นตามความคิดเห็นของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษต่อภาวะผู้นำ เชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหาร คือ ด้านการมีวิสัยทัศน์ ด้านการมีจินตนาการ และด้านการมีความยืดหยุ่น ตามลำดับ 2) ข้อเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมความต้องการความจำเป็นตามความคิดเห็นของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พบว่า 2.1) ด้านการมีวิสัยทัศน์ ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีการกำหนดขั้นตอนในการปฏิบัติงาน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ 2.2) ด้านการมีจินตนาการ ผู้บริหารสถานศึกษาต้องมีความทุ่มเทให้กับการทำงานอย่างสร้างสรรค์และมีคุณภาพ มีการนำเทคนิค วิธีการต่างๆ มาปรับใช้ในการทำงานทำให้การทำงานประสบผลสำเร็จ และ2.3) ด้านการมีความยืดหยุ่น ผู้บริหารสถานศึกษาต้องมีความสามารถในการปฏิบัติงาน การดำเนินงาน โดยใช้วิธีที่หลากหลายและสอดคล้องกับสถานการณ์
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความและบทความในวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ เป็นแนวคิดของผู้เขียน ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของคณะผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
ข้อความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการีพิมพ์ในวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ หากบุคคลใดหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาติเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการก่อนเท่านั้น
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). แผนการศึกษาแห่งชาติ 2560-2579 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาการศึกษา.
กิตติ์กาญจน์ ปฏิพันธ์. (2555). โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษา.
สืบค้นจาก http://phd.mbuisc.ac.th/thesis/kittkhanCL.pdf
กิตติ์กาญจน์ ปฏิพันธ์ และคณะ. (2556). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ Creative Leadership. กรุงเทพฯ: ซัคเซสมีเดีย.
ฐานะมาศ หาดยาว. (2564). ความต้องการจำเป็นและแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้อำนวยการสถานศึกษา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดเพชรบูรณ์. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ฐิตินันท์ นันทะศรี และคณะ. (2563). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2553). ผู้นำเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ: กระบวนทัศน์ใหม่และใหม่ทางการศึกษา.
กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สัมมา รธนิธย์. (2560). หลักทฤษฎีและปฏิบัติการบริหารการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ส.เอเซียเพลส
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579 (พิมพ์ครั้งที่ 1).
กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
สุพัฒตรา ธิพรพันธ์. (2561). การวิเคราะห์ตัวบ่งชี้องค์ประกอบภาวะผู้นําเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหาร สถานศึกษา สังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เสาวณีย์ สมบูรณ์ศิโรรัตน์. (2562). การศึกษาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
Bennis, W. (2002). Creative Leadership. Bangkok: Chulalongkorn University.
Chernin, P. (2001). Creative leadership: The strength of ideas the power of the imagination.
Vital Speeches of the Day, 68(8), 245.
Couto, R. A. (2002). To give their Gifts: Health, community & democracy.
Nashville, Tennessee: Vanderbilt University Press.
Greco, L. A., &; Morris, T. M. (2002). Child report on the Parental Bonding Instrument: Perceptions of parental
style and child internalizing difficulties. Manuscript submitted for publication.
Guntern, G. (2004). The challenge of creative leadership. Westport, Connecticut: Maya Angelou Press.
Harris, A. (2009). Creative leadership: Developing future leaders. Management in Education British Educational
Leadership, Management & Administration Society (BELMAS), 23(1), 9-11.
Parker, J. P., & Begnaud, L.G. (2004). Developing Creative Leadership. Portsmouth,
New Hampshire: Teacher Ideas Press.
Puccio, G.J., Mance, M. and Murdock, M.C. (2011). Creative leadership: Skill that drive change (2nd ed.).
CA: Sage.
Sousa, D.A. (2001). How the Brain Learns: A Classroom Teacher's Guide (2nd ed.). California: Corwin Press.
Stoll, L., & Temperley, J. (2009). Creative leadership: A challenge of our times.
School Leadership and Management, 29(1), 63-76.