การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการบริหารงานของเทศบาลตำบลบางคล้า อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา

Main Article Content

อัตติยาพร ไชยฤทธิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการบริหารงานของเทศบาลตำบลบางคล้า อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชน ปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะ และแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการบริหารงานของเทศบาลตำบลบางคล้า อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธีระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณกับการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 384 คน และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม แนวคำถามในการสัมภาษณ์ และแนวคำถามในการรสนทนากลุ่ม 


ผลการวิจัย พบว่า ภาพรวมระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการบริหารงานเทศบาลบาลคล้าภาพรวมอยู่ในระดับน้อย หากพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์จากการพัฒนาอยู่ในระดับปานกลาง ด้านการมีส่วนร่วมในการศึกษาชุมชนอยู่ในระดับน้อย ด้านการมีส่วนร่วมในการวางแผนอยู่ในระดับน้อย ด้านการมีส่วนร่วมในดำเนินการพัฒนาอยู่ในระดับน้อย และด้านการมีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผลการพัฒนาอยู่ในระดับน้อย ตามลำดับ ประชาชนมีปัญหาและอุปสรรคในการเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงานของเทศตำบลบางคล้า อยู่ด้วยกัน 4 ประการ 1) ขาดความรู้ความเข้าใจในการเข้าไปมีส่วนร่วม 2) ประชาชนส่วนใหญ่ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วม 3) ขาดการเปิดโอกาสในการเข้าไปมีส่วนร่วม และ 4) อิทธิพลของการเมืองในระดับท้องถิ่น และแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานของเทศบาลตำบลบางคล้า มีอยู่ด้วยกัน 5 ประการ 1) สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการมีส่วนร่วม 2) สร้างความเข้มแข็งให้แก่ประชาชนและมาตรการรองรับ 3) จัดกิจกรรมส่งเสริมการมีส่วนร่วม 4) การประชาสัมพันธ์อย่างทั่วถึง และ 5) ผู้บริหารเทศบาลให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษฎากรณ์ ยูงทอง. (2555). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาลตำบลนางัว อำเภอเมืองเพชรบูรณ์

จังหวัดเพชรบูรณ์: กรณีศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาลตำบลนางัว.

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

ข้อมูลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. (2558). องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. สืบค้น 20 ธันวาคม 2558, จาก http://www.dla.go.th

ฐิติมา อุดมศรี. (2555). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองส่วนท้องถิ่น: กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลในคลอง

บางปลากด อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสยาม.

ประสาร อุษณีย์กนก. (2557). แนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยอย่างยั่งยืนของ

เทศบาลนครเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต,

คณะศิลปะศาสตร์, มหาวิทยาลัยพะเยา.

พรทิพย์ ทับแว่ว. (2554). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น: กรณีศึกษาเทศตำบลบ้านเกาะ อำเภอเมือง

จังหวัดอุตรดิตถ์. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, คณะสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยนเรศวร.

มนัสนันท์ วงศ์มานิต. (2555). ปัจจัยส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลระวิง

อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

วราวรรณ ฐาปนธรรมชัย. (2556). กลยุทธ์การเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาเทศบาลตำบลโพรงมะเดื่อ

อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต,

คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

เสาวลักษณ์ ปิติ. (2556). แนวทางในการหารูปแบบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย: ศึกษากรณีการมีส่วนร่วมของ

สภาองค์กรชุมชนในการบริหารกิจการท้องถิ่น. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต, คณะนิติศาสตร์

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

อรทัย ก๊กผล. (2547). Best practices ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า.