การบริหารวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสในอำเภอลำลูกกา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารวิชาการ 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสในอำเภอลำลูกกาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 จำแนกตาม เพศ วุฒิการศึกษาและประสบการณ์การทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ครูของโรงเรียนขยายโอกาสในอำเภอลำลูกกา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 จำนวน 175 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้องตั้งแต่ 0.80 ถึง 1.00 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีการเชฟเฟ่
ผลการวิจัย 1) การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสในอำเภอลำลูกกา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ด้านการแนะแนวการศึกษา ด้านการวัดผลประเมินผลและเทียบโอนผลการเรียน ด้านการนิเทศการศึกษา ด้าน
การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ และ ด้านการพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา 2) การเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสในอำเภอลำลูกกา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 จำแนกตาม เพศ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน มีความคิดเห็นต่อการบริหารวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสฯ โดยรวม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ไม่แตกต่างกัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความและบทความในวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ เป็นแนวคิดของผู้เขียน ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของคณะผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
ข้อความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการีพิมพ์ในวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ หากบุคคลใดหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาติเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการก่อนเท่านั้น
References
กมล นามทวี. (2555). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาในเขตจอมทอง สังกัดกรุงเทพมหานคร
(ปริญญานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, กรุงเทพฯ.
กิตติยา กาเร็ว. (2556). การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาลำปาง เขต 3 (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาการบริหารการศึกษา,
มหาวิทยาลัยพะเยา, พะเยา.
ชรินทร์ เวชโอสถ. (2552). การศึกษาพฤติกรรมการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาปทุมธานี เขต 1 (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการบริหารการศึกษา,
มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, ปทุมธานี.
วสันต์ ปรีดานันต์. (2553). การบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดเทศบาลสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม
(การค้นคว้าอิสระปริญญาศึกษามหาบัณฑิต). สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.
สุชาดา สายจีน. (2558). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี
(สาระนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยปทุมธานี, ปทุมธานี.
สมชาย ชูเลิศ. (2553). การศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาการบริหารการศึกษา,
มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม, กรุงเทพฯ.
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุรภาพการศึกษา. (2549). ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาตามเจตนารมณ
ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: บริษัทพิมพ์ดี จํากัด.
สุพรรษา บำรุง. (2556). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
สุราษฎ์ธานี เขต 3 (ภาควิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาการบริหารการศึกษา,
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎ์ธานี, สุราษฎ์ธานี.