คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู ในโรงเรียนกลุ่มพระราชวัง สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูในโรงเรียนกลุ่มพระราชวัง สำกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 และเพื่อเปรียบเทียบคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูในโรงเรียนกลุ่มพระราชวัง สำกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา จำแนกตาม อายุ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่วิจัย ได้แก่ ครูในโรงเรียนกลุ่มพระราชวัง สำกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 จำนวน 113 คน เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.95 – 1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว
ผลการวิจัยพบว่า 1. คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูในโรงเรียนกลุ่มพระราชวัง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูในโรงเรียนกลุ่มพระราชวัง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา อยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านวิสัยทัศน์ ด้านคุณธรรมและจริยธรรม ด้านบุคลิกภาพ และด้านมนุษยสัมพันธ์ 2. การเปรียบเทียบคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูในโรงเรียนกลุ่มพระราชวัง สำกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา จำแนกตาม อายุ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน พบว่า ครูที่มีอายุ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน ต่างกันมีความคิดเห็นต่อคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนกลุ่มพระราชวัง สำกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา ไม่แตกต่างกัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความและบทความในวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ เป็นแนวคิดของผู้เขียน ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของคณะผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
ข้อความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการีพิมพ์ในวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ หากบุคคลใดหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาติเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการก่อนเท่านั้น
References
ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. 2556. (2556). ราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป.
ณภัทสรณ์ นรกิจ และภาวิดา ธาราศรีสุทธิ. (2563). คุณลักษณะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ตามการรับรู้ของครูผู้สอนในโรงเรียน
เครือข่ายที่ 34 สำนักงานเขตมีนบุรี สังกัดกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ถวิล อรัญเวศ. (2544). นักบริหารมืออาชีพ. ประชากรศึกษา, 51(3), 28-32.
ทรงสวัสดิ์ แสงมณี. (2553). คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาตามความต้องการของครู สังกัดกรุงเทพมหานคร
เขตบางขุนเทียน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สาขาบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี, กรุงเทพฯ.
ธีระ รุญเจริญ. (2546). การบริหารโรงเรียนยุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.
ประทวน บุญรักษา. (2556). คุณธรรมของผู้บริหาร. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2560 จาก http://www. drjirawat.com.
พรหมพิริยะ พนาสนธิ์ และกรปภา เจริญชันษา. (2562). คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษา ตามการรับรู้
ของครูผู้สอนของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ฉะเชิงเทรา ในอำเภอเมืองฯ
จังหวัดฉะเชิงเทรา. มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, กรุงเทพฯ.
วันชัย สุตรีศาสตร์. (2552). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของคณะกรรมการ สถานศึกษา
ขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2. บัณฑิตวิทยาลัย,
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาสารคาม.
วิรุณ ตั้งเจริญ. (2548). คุณลักษณะที่ดีของผู้บริหารจากประสบการณ์ของศาสตราจารย์ ดร.วิรุณ ตั้งเจริญ ในการบริหาร
การศึกษา: นักบริหารมืออาชีพ. นนทบุรี: พินธุพันธ์ การพิมพ์.
เสาวภา สัมพูล. (2555). คุณลักษณะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) สาขาวิชาการบริหารการศึกษา,
มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, บุรีรัมย์.
อรอัจจิมา ประวัติเจริญฉัตร และดร.สวรส ศรีสุตโต. (2559). การเปรียบเทียบพฤติกรรมและทัศนคติต่อปัจจัยทางการตลาด
ในการซื้ออาหารเสริมของ กลุ่มวัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ตอนต้น วัยกลางคน และผู้สูงอายุ. บัณฑิตวิทยาลัย,
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, กรุงเทพฯ.
ฮาฟิซ ขำนุรักษ์. (2557). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารตามทัศนะของครูผู้สอนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม
จังหวัดพัทลุง (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สาขาวิชาการบริหารและการจัดการการศึกษาอิสลาม,
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.
วันชัย สุตรีศาสตร์. (2552). คุณลักษณะที่พึงปราะสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของคณะกรรมการ สถานศึกษา
ขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2. บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม,
มหาสารคาม.