แนวทางการพัฒนามนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหารและบุคลากร ในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาจังหวัดชุมพร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษามนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหารและบุคลากรในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาจังหวัดชุมพร 2) เปรียบเทียบมนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหารและบุคลากรในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาจังหวัดชุมพรโดยจำแนกตามขนาดโรงเรียน และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนามนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหารและบุคลากรในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาจังหวัดชุมพร การวิจัยเป็นเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 293 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วย F–test และวิเคราะห์ความแปรปรวน
ผลการวิจัย พบว่า 1) มนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหารและบุคลากรในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาจังหวัดชุมพร ภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) เปรียบเทียบมนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหารและบุคลากรในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาจังหวัดชุมพรจำแนกตามขนาดโรงเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) แนวทางการพัฒนามนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหารและบุคลากรในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาจังหวัดชุมพรภาพรวมอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด ผู้บริหารควรเปิดโอกาสให้ผู้ใต้บังคับบัญชารู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จของโรงเรียน สร้างขวัญและกำลังใจอีกทั้งมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจ จัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาเพื่อที่จะให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในการปฏิบัติงานและส่งผลให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความและบทความในวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ เป็นแนวคิดของผู้เขียน ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของคณะผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
ข้อความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการีพิมพ์ในวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ หากบุคคลใดหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาติเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการก่อนเท่านั้น
References
ณัฐริการ์ แก่นดีลัง. (2556). ทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครู
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
เดชา ศิริพิบูลย์. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารตามหลักธรรมมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษากับบรรยากาศองค์การ
ของสถานศึกษาในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต10.
วิทยานิพนธ์คุรุศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
ธันยาภรณ์ นวลสิงห์. (2559). ผู้บริหารกับการสร้างแรงจูงใจ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 10(2), 45-53.
บุญช่วง ศรีธรราษฎร์. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับประสิทธิภาพการทำงาน ของนักบัญชีธุรกิจอุตสาหกรรม
ในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 11(2), 29-48.
พรรณกร นนทะการ. (2555). คุณลักษณะมนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษาและ
พนักงานครูในโรงเรียนสังกัดเทศบาลจังหวัดสระบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
พระครูปลัดสัมพิพัฒนธรรมาจารย์.(2561). มนุษยสัมพันธ์ตามหลักกัลยาณมิตร.
วารสาร มจร. มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 4(2), 115-127.
มณีรัตน์ กมลพัฒนานันท์. (2561). การตัดสินใจของผู้บริหารกับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน.
วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 8(2), 67-79.
วิไลวรรณ ศรีมันตะสิริภัทร. (2560). พฤติกรรมการตัดสินใจของผู้บริหารและครูที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมในสถานศึกษา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 11(3), 148-158.
สมพร สุทัศนีย์. (2542). มนุษยสัมพันธ์ (พิมพ์ครั้งที่ 6), กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.