ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรของสำนักงานอัยการจังหวัดนนทบุรีที่มีผลมาจากการปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานเทคโนโลยีดิจิทัลของบุคลากรสำนักงานอัยการจังหวัดนนทบุรีที่เป็นผลมาจากการปรับใช้เทคโนยีดิจิทัล และระบุถึงปัญหา อุปสรรค และเพื่อเสนอแนะแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีในยุคดิจิทัลของบุคลากรสำนักงานอัยการจังหวัดนนทบุรี การวิจัยนี้ใช้วิธีการดําเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีวิจัยเอกสารและวิจัยสนาม ในส่วนวิจัยสนามเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 15 คน โดยมีเกณฑ์การคัดเลือกจากเจ้าหน้าที่ของสำนักงานอัยการจังหวัดนนทบุรีที่มีบทบาทสำคัญในการปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีในยุคดิจิทัล ผู้วิจัยนำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างมาแยกประเด็นตามข้อคำถาม จากนั้นจึงวิเคราะห์ข้อมูลในแต่ละประเด็นโดยใช้วิธีการตีความ การหาข้อสรุป ผลการวิจัยพบว่า 1. ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีในยุคดิจิทัลของบุคลากรสำนักงานอัยการจังหวัดนนทบุรี คือ 1) ด้านคุณภาพของงาน ความพึงพอใจ ผลการทำงานมีความถูกต้อง มาตรฐานและรวดเร็ว บุคลากรในสำนักงานอัยการจังหวัดนนทบุรี มีทักษะในการนำเครื่องมืออุปกรณ์และเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ในการปฏิบัติงาน 2) ด้านปริมาณงาน เป็นไปตามความคาดหวังของหน่วยงานเป็นไปตามแผนและเป้าหมายที่วางไว้จากการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการปฏิบัติงานสามารถปฏิบัติงานได้ในปริมาณที่มากขึ้นและใช้เวลาน้อยลง นำเทคโนโลยีมาใช้แก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพสามารถปฏิบัติงานได้มากขึ้น 3) ด้านเวลา เวลาที่ใช้ในการดำเนินงานมีความถูกต้องตามหลักการเหมาะสมกับงานและทันสมัย มีการพัฒนาเทคนิคการทำงานให้สะดวกรวดเร็วขึ้น สามารถบริหารจัดการเวลาได้ดีมากขึ้น กระบวนการทำงานของหน่วยงานมีความกระชับคล่องตัวขึ้น 4) ด้านค่าใช้จ่าย ในการดำเนินการด้านเทคโนโลยีมีความเหมาะสมกับงาน และวิธีการ การใช้ทรัพยากรด้านการเงิน คน วัสดุ ที่มีอยู่อย่างคุ้มค่าประหยัด เกิดการสูญเสียน้อยที่สุด 2. ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีในยุคดิจิทัลของบุคลากรสำนักงานจังหวัดนนทบุรี คือ 1) การจัดสรรงบประมาณที่ไม่เพียงพอ ทำให้หน่วยงานไม่สามารถจัดหาเทคโนโลยีระดับสูง และเพียงพอได้ 2) การไม่ได้นำทักษะมาช่วยในการยกระดับการปฏิบัติงานในหน่วยงานให้เกิดความมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ทำให้คุณภาพของงานยังไม่มีความพึงพอใจเท่าที่ควรในด้านความรวดเร็วและถูกต้อง 3) ขาดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถทางด้านเทคโนโลยี 3. แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีในยุคดิจิทัลของบุคลากรสำนักงานอัยการจังหวัดนนทบุรี คือ 1) ปรับปรุง Hardware และ Software ให้มีความทันสมัยรองรับเทคโนโลยีใหม่ๆตลอดเวลา 2) จัดอบรมข้าราชการในหน่วยงานสำนักงานอัยการจังหวัดนนทบุรีเกี่ยวกับเทคโนโลยี 3) มีปรับปรุงโครงสร้างงานบริหารงานภายในเพื่อแก้ปัญหาได้รวดเร็วทันต่อสถานการณ์ 4) รวบรวมองค์เกี่ยวกับเทคโนโลยีของสำนักงานอัยการจังหวัดนนทบุรีอย่างเป็นระบบ หรือที่เรียกว่า การจัดตั้งองค์การแห่งการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้ที่ปฏิบัติงานใหม่สามารถศึกษาและเรียนรู้ด้วยตนเองได้
Article Details
ข้อความและบทความในวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ เป็นแนวคิดของผู้เขียน ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของคณะผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
ข้อความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการีพิมพ์ในวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ หากบุคคลใดหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาติเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการก่อนเท่านั้น
References
กัญญรัตน์ อ่อนศรี. (2552). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของบุคคลากรโรงพยาบาลชุมชน สังกัดกระทรวงสาธารณะสุข จังหวัดสระบุรี. วิทยานิพนธ์ บัณฑิตบริหารธุรกิจ, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
ขอพร ปัตตะยรรยง. (2555). แนวทางในการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศของบุคลากร สำนักงานตรวจสอบภายในทหารบก. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.
ณัชพล งามธรรมชาติ. (2559). แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ของพนักงานสายการผลิต บริษัท XYZ จำกัด. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ณัฐวดี ศิลปะศักดิ์ขจร.(2558). การศึกษาสภาพการใช้ ปัญหาและอุปสรรคในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาภายในโรงเรียนสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดนครปฐม. วารสารวิชาการ ฉบับมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 8(2), 628-629.
ทศพร ศิริสัมพันธ์. (2547). การบริหารราชการแนวใหม่ บริบทและเทคนิควิธี. กรุงเทพฯ: วิชั่นพริ้นท์แอนด์มีเดีย.
ธงไชย สุรินทร์วรางกูร. (2555). การหาแนวทางเพื่อพัฒนาการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศสำหรับการจัดการความรู้ในองค์กรธุรกิจขนาดกลาง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
นลพรรณ บุญฤทธิ์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร องค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการสาธารณะ, มหาวิทยาลัยบูรพา.
ปุรฎา สายยืนยง. (2560). การพัฒนาบุคลากรภาครัฐแนวใหม่ : กรณีศึกษากรมโรงงานอุตสาหกรรม. วารสารรามคำแหง ฉบับรัฐประศาสนศาสตร์, 1(3), 67-95.
พุทธา พิกุลศรี. (2550). ความรู้ ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจ กลุ่มงานสืบสวนศูนย์สืบสวน สอบสวนตำรวจภูธร ภาค 4. สารนิพนธ์ ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
ภาพิมล ชัยขัณธ์. (2560). การบริหารงานด้านเทคโนโลยีในยุคดิจิทัลตามแนวนโยบาย Thailand 4.0 : กรณีศึกษา กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง. ค้นคว้าอิสระ โครงการรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ภพ เอครพานิช. (2562). การพัฒนาคน ก้าวทันยุคดิจิทัล. ดุลพาห, 66(2), 1-9.
มานิต ศุทธสกุล และคณะ. (2551). เอกสารการสอนชุดวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
รสริน นวนยานัส. (2551). การบริหารจัดการด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของกองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง ท่าอากาศยานแห่งชาติตามแนวทางการจัดการความรู้. รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วิโรจน์ ก่อสกุล. (2561). ระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยารามคำแหง.
วีณา พึงวิวัฒน์นิกุล. (2562). เอกสารประกอบการบรรยายกระบวนวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ศิริพร สกุลเจริญพร. (2553). กลยุทธ์การพัฒนาบุคลากรขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนครปฐม. ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์), บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล.
ศิริรวี ราศรี. (2558). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล กรณีศึกษา : องค์การสวนสัตว์. การค้นคว้าอิสระ รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศิริวัฒน์ เปลี่ยนบางยาง. (2558). ประสิทธิผลของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: กรณีศึกษา อำเภอพุทธมณฑล. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University, 8(3), 1051-1062.
สถาบันพระปกเกล้า. (ม.ป.ป.). การบริหารงานภาครัฐแนวใหม่. สืบค้น 12 มิถุนายน 2563, จาก http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=การบริหารงานภาครัฐแนวใหม่.
สุภางค์ จันทวานิช. (2561). วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 24). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
สุวรรณา รัศมีขวัญ. (2557). การบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศในยุคเศรษฐกิจดิจิตอล. ชลบุรี: ชลบุรีการพิมพ์.
สมอุษา วิไลพันธุ์. (2561). การปฏิรูปกระบวนการทำงานด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล : ศึกษาเฉพาะกรณี สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. วารสารรามคำแหง ฉบับรัฐประศาสนศาสตร์, 2(2), 1-27.
สมพงษ์ เกษมสิน. (2526). การบริหารงานบุคคลแผนใหม่. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.
สมพงษ์ เกษมสิน. (2519). แนวคิดทฤษฎีประสิทธิภาพ. สืบค้น 12 มิถุนายน 2563, จาก http://learningofpublic.blogspot.com/2015/09/blog-post_51.html.
สมยศ นาวีการ. (2525). การพัฒนาองค์กรและการจูงใจ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์บรรณกิจ.
สมยศ นาวีการ. (2543). การบริหาร. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า.
สมยศ นาวีการ. (2544). ทฤษฎีองค์การ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์บรรณกิจ.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ, สถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี. (2555). หลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี. สืบค้น 12 มิถุนายน 2563, จาก http://www.igpthai.org/uploads/10%20good%20governance.pdf.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (ม.ป.ป.). โครงการพัฒนาทักษะและความเข้าใจและใช้ เทคโนโลยีดิจิทัลของข้าราชการและบุคคลากรภาครัฐ. สืบค้น 15 ธันวาคม 2563, จาก https://www.ocsc.go.th/DLProject/mean-dl
อรณี แสงตะคุ และสุรศักดิ์ ชะมารัมย์. (2561). ปัจจัยด้านการบริหารจัดการที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการของสำนักงานแรงงานจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะนิติรัฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด.