การบริหารทรัพย์สินของรัฐวิสาหกิจไทย

Main Article Content

สุวัฒน์ กันภูมิ
เพ็ญศรี ฉิรินัง
ชมภูนุช หุ่นนาค
ศิริวัฒน์ เปลี่ยนบางยาง

บทคัดย่อ

รัฐวิสาหกิจไทยเป็นองค์กรเชิงธุรกิจของรัฐบาลที่บริหารจัดการโดยคณะกรรมการบริหารแทนระบบราชการ รูปแบบการบริหารดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้การบริหารรัฐวิสาหกิจสามารถดำเนินการได้อย่างคล่องตัว สามารถตัดสินใจเพิ่มหรือลดหรือเปลี่ยนแปลงแนวทางการผลิตรวมทั้งการให้บริการได้อย่างรวดเร็ว เพื่อให้สามารถสนองตอบความต้องการของสังคมได้ทันเวลาทั้งระดับชาติและระดับท้องถิ่น ในประเทศไทยมีรัฐวิสาหกิจประเภทต่าง ๆ สังกัดอยู่ในหลายกระทรวง โดยมีสาเหตุหลักในการจัดตั้งคือ เพื่อหารายได้เข้ารัฐและบริการสังคม อย่างไรก็ตามรัฐวิสาหกิจบางแห่งต้องประสบกับการขาดทุนหรือขาดประสิทธิภาพทางการบริหารไม่สามารถจะบริหารให้บรรลุเป้าหมายหลักตามที่ตั้งไว้ ดังนั้นผู้บริหารจะต้องบริหารจัดการองค์กรให้ผ่านพ้นปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ เพื่อให้องค์กรสามารถดำรงอยู่ได้โดยมีนโยบายที่จำเป็นจะต้องปรับกระบวนการพื้นฐานขององค์กร การดำเนินการอย่างหนึ่ง คือ กระบวนการในการบริหารทรัพย์สินขององค์กร ซึ่งเป็นกระบวนการที่กำหนดแนวทางเพื่อให้ได้มาและการใช้ทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุดจนทรัพย์สินนั้นหมดสภาพ โดยการบริหารทรัพย์สินเริ่มตั้งแต่การวางแผนกำหนดความต้องการ การจัดหา การควบคุมและการบำรุงรักษา และการจำหน่ายทรัพย์สิน กระบวนการเหล่านี้จะสามารถนำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์กรเพื่อการหารายได้ และการเพิ่มมูลค่าของทรัพย์สินในการทำให้การดำเนินงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์ขององค์กรได้

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมบัญชีกลาง. (2558). การบริหารสินทรัพย์. กรุงเทพฯ: สำนักมาตรฐานด้านการบัญชีภาครัฐ.

การรถไฟแห่งประเทศไทย. (2562). การศึกษาศักยภาพทรัพย์สินและสัญญาเช่าที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ: ศูนย์ประชาสัมพันธ์การรถไฟแห่งประเทศไทย.

จำเรียง จันทรประภา. (2553). ทรัพย์สิน สินทรัพย์. สืบค้น 30 ธันวาคม 2562, จาก http://www.royin.go.th/?knowledges.

ไทยโพส. (2563). รัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้เข้าคลัง. สืบค้น 22 พฤษภาคม 2563, จาก https://www.thaipost.net/main/detail/62498.

ปนิฏฐา บริพันธกุล. (2557). การบริหารสินทรัพย์อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด. สืบค้น 5 กุมภาพันธ์ 2562, จาก http://teamgroup.co.th/index.php/th/about-us/history.html.

ลัดดาพร สุขแก้วฟ้า และปทุมมาศ ยงยุทธ. (2557). การบริหารสินทรัพย์และจัดหารายได้ของมหาวิทยาลัยของรัฐ. ประทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

สากล พรหมสถิตย์. (2560). การบริหารงานรัฐวิสาหกิจ. ชลบุรี: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

สาคร สุขศรีวงศ์. (2551). การจัดการ: จากมุมมองนักบริหาร. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สามารถ มังสัง. (2563). ธุรกิจของรัฐขาดทุน: ปัญหาเรื้อรังแก้ได้ยาก. สืบค้น 22 พฤษภาคม 2563, จาก https://mgronline.com/daily/detail/9630000054262.

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ. (2558). การแต่งตั้งกรรมการรัฐวิสาหกิจ. เข้าถึงจาก sepo250962.pdf. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2563.

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ. (2559). กฎ ระเบียบและมติคณะรัฐมนตรี. สืบค้น 22 มกราคม 2563, จาก http://www.sepo.goth/main/WEB-Law.php.

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ. (2561). คำจำกัดความรัฐวิสาหกิจ. สืบค้น 22 มกราคม 2563, จาก http://www.sepo.go.th/content/12.

เอกวิทย์ มณีธร. (2552). ระบบราชการ รัฐวิสาหกิจ และองค์การมหาชนของไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เอ็ม.ที.เพรส.

Daft, R. L. (2003). Management. 6th Ed. New York: Thomson.

Fayol, H. (1991). Generation Industrial Management. London: Pitman and Sons.

Gulick, L. & Urwick, L. (1973). The Science of Administration. New York: Columbia University.

Schermerhorn. J. R. (2005). Management. 6th Ed. New York: John Wiley and Sons.