การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อความโปร่งใสในองค์กรของกองกำกับและตรวจสอบ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
Main Article Content
บทคัดย่อ
ในการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มุ่งศึกษาการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสนเทศเพื่อสร้างความโปร่งใสในการปฏิบัติงานของ กองกำกับและตรวจสอบ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (สำนักงาน ปปง.) โดยมุ่งตอบคำถามงานวิจัย 3 ด้าน ได้แก่ ประการที่หนึ่ง สภาพปัญหาความโปร่งใสที่เกิดขึ้นในหน่วยวิจัยเป็นอย่างไร ประการที่สอง จะใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอะไรเพื่อสร้างความโปร่งใสในองค์กร และประการสุดท้ายจะประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างไรที่จะเสริมสร้างความโปร่งใสในการปฏิบัติงานให้เกิดขึ้นในองค์กรได้ งานศึกษาวิจัยครั้งนี้ใช้แนวทางการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสืบค้นผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 25 คน ผลการศึกษาพบสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นใน กองกำกับและตรวจสอบ สำนักงาน ปปง. พิจารณาได้ 3 ประเด็น ดังนี้ ประการแรก ปัญหาที่เกิดขึ้นกับระบบการบริหารงานบุคคล โดยเฉพาะกระบวนเลื่อนตำแหน่งให้สูงขึ้นที่ไม่มีความน่าเชื่อถือเป็นที่ยอมรับ ซึ่งความไม่โปร่งใสนั้นเกิดขึ้นจากปัญหาระบบอุปถัมภ์ที่เข้ามาแทนที่ระบบคุณธรรม ประการที่สอง ในส่วนของการบริหารการเงินการคลังและการพัสดุกลับมีความโปร่งใสมากที่สุดบนพื้นฐานของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม ประการสุดท้าย ในระบบปฏิบัติงานขององค์กรที่ยังมีระบบการรายงาน การกำหนดลักษณะงานและหน้าที่ความรับผิดชอบที่ไม่ชัดเจนในการติดต่อสัมพันธ์กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องภายนอกองค์กร
Article Details
ข้อความและบทความในวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ เป็นแนวคิดของผู้เขียน ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของคณะผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
ข้อความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการีพิมพ์ในวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ หากบุคคลใดหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาติเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการก่อนเท่านั้น
References
โกวิทย์ พวงงาม และคณะ. (2550). แนวทางการพัฒนาและเสริมสร้างกลไกป้องกันการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มิสเตอร์ก๊อปปี้.
ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์. (2549). รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ e–Government. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: รัตนไตร.
บุญอยู่ ขอพรประเสริฐ. (2554). แนวทางการพัฒนามาตรฐานความโปร่งใสของหน่วยงานภาครัฐ.วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 28(1), 33-48.
ประสบโชค ประมงกิจ. (2549). คู่มือเทคนิคและวิธีการบริหารจัดการสมัยใหม่ตามแนวทางการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี : รูปแบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สหมิตรพริ้นติ้ง.
ยืน ภู่วรวรรณ. (2544). การดำเนินงานอิเล็กทรอนิกส์ในหน่วยงานรัฐ : บทบาทและความสำคัญ. ใน เอกสารวิชาการประจำปี พ.ศ. 2544 เรื่อง “การปฏิรูประบบราชการ : รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e–Government)” (น. 39-67). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูประบบราชการ สำนักงาน ก.พ.
วิชิต หล่อจีระชุณห์กุล และคณะ. (2549). โครงการการพัฒนาตัวชี้วัดธรรมาภิบาลเพื่อการบริหารราชการแผ่นดินในส่วนภูมิภาค. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.
วิภาส ทองสุทธิ์. (2551). การบริหารจัดการที่ดี Good Governance. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: อินทรภาษ.
วุฒิพงศ์ พงศ์สุวรรณ. (2544). รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์. ใน เอกสารวิชาการประจำปี พ.ศ. 2544 เรื่อง “การปฏิรูประบบราชการ : รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e–Government)” (น.15-38). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูประบบราชการ.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2552). แนวทางการสร้างมาตรฐานความโปร่งใสในองค์กร. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมจริยธรรม สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.
สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ. (2555). คู่มือการประเมินเกณฑ์มาตรฐานและตัวชี้วัดความโปร่งใสของหน่วยงานภาครัฐที่กาหนดภายใต้ พรบ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540.
Albu, Oana Brindusa and Flyverbom, Mikkel. (2016). Organizational Transparency: Conceptualizations, Conditions, and Consequences. Retrived May 12, 2020, from http://www.researhgate.net/publication/305340823.
ERGO Network. (2018). Transparency and Accounability Criteria. Retrived Oct 8, 2019, from http://www.ergonet.org.
Mendel, T. (2004). Freedom of Information: A Comparative Legal Survey. UNESCO.