การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลไทรม้า อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี

Main Article Content

พรรณี บุมี
พิชิต รัชตพิบุลภพ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลไทรม้า อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี 2) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลไทรม้า อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตตำบลไทรม้า อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปตามเขตการปกครองทั้ง 6 หมู่บ้าน จำนวน 393 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบ (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) การทดสอบ ความแตกต่างเป็นรายคู่โดยวิธีการของเชฟเฟ่ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณด้วยวิธี Multiple Regression Analysis: Enter ผลการวิจัยพบว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลไทรม้า อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการรับผลประโยชน์มีค่าเฉลี่ยระดับประสิทธิภาพอยู่ในระดับมาก ด้านการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร  ด้านการวางแผน ด้านการดำเนินการมีค่าเฉลี่ยระดับประสิทธิภาพในระดับปานกลาง และด้านการติดตามประเมินผลมีค่าเฉลี่ยระดับประสิทธิภาพในระดับน้อย ในส่วนของผลการศึกษาเปรียบเทียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลไทรม้าเมื่อจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือนและชุมชนมีความคิดเห็นแตกต่างกันที่นัยสำคัญทางสถิติที่ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกพร แสงศรี. (2552). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาตำบลขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะปันหยี อำเภอเมือง จังหวัดพังงา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

ณัฐธยาน์ จองค้า. (2555). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการวางผังเมืองเพื่อจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนจอมทอง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เทศบาลตำบลไทรม้า. ข้อมูลหน่วยงาน. สืบค้น 7 พฤศจิกายน 2562, จาก https://www.saima.go.th/history.php.

พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 14 พ.ศ.2562 สืบค้น 2 มกราคม 2563, จาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th.

รัฐกรณ์ ทะนุการ. (2554). การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโป่ง ตำบลเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย. การศึกษาอิสระ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550, ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 124 ตอนที่ 47 ก, 24 สิงหาคม 2550, หน้า 2

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560, ราชกิจจานุเบิกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก, 6 เมษายน 2560, หน้า 12

วิไลวรรณ จันทาพูน. (2554). การมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแซว อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย. การศึกษาอิสระ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

สมบัติ ทัพธานี. (2555). การมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี. การค้นคว้าอิสระ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิททยาลัยราชภัฎอุดรธานี.

Vongkatanegnou, Sisavanh. (2555). ทฤษฎีเกี่ยวกับการมีส่วนร่วม. จาก https://www.gotoknow.org/posts/482092.