การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลเสาธงหิน อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี

Main Article Content

รภัสสรณ์ เปรมปริก
พิชิต รัชตพิบุลภพ

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลเสาธงหิน อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี ใช้การศึกษาเชิงปริมาณ โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 4 ด้าน คือ ด้านการตัดสินใจ ด้านการดำเนินการ ด้านการรับผลประโยชน์ และด้านการประเมินผล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนที่อยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของเทศบาลตำบลเสาธงหิน อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี ซึ่งประกอบด้วย 8 หมู่ จำนวน 396 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การคำนวณหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างด้วยสถิติ t-test F-test และ One-way ANOVA การทดสอบ ความแตกต่างเป็นรายคู่โดยวิธีการของเชฟเฟ่ ผลการวิจัยพบว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลเสาธงหิน อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี ค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการตัดสินใจ และการรับผลประโยชน์ มีค่าเฉลี่ยระดับการมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก ด้านการดำเนินการ มีค่าเฉลี่ยระดับการมีส่วนร่วมในระดับปานกลาง และด้านการประเมินผลมีค่าเฉลี่ยระดับการมีส่วนร่วมในระดับน้อย ในส่วนของผลการศึกษาเปรียบเทียบเทียบระดับการมีส่วนร่วม เมื่อจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ระดับการมีส่วนร่วมแตกต่างกันตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพและระยะเวลาที่อยู่อาศัย ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 แต่ไม่แตกต่างกันตาม หมู่ที่อยู่อาศัยและตำแหน่งในพื้นที่

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ หยกอำนวยชัย. (2554). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการวางแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่รำพึง อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วิทยานิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขานโยบายสาธารณะ, มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ณัฏยานี บุญทองคำ. (2555). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาตำบลขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าพล อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบรณ์. วิทยานิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

ดรรชนี สระบัว. (2556). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนชุมชนขององค์การบริหาร ส่วนตำบลชะแมบ อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์

เทศบาลตำบลเสาธงหิน. ข้อมูลพื้นฐาน. สืบค้น 2 พฤศจิกายน 2562, จาก http://sth.go.th/index.php.

นันทพร อัศวกุลไพโรจน์. (2562). แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลนครรังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี. วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ, 7(2), 9-17.

บุญชม ศรีสะอาด และบุญส่ง นิลแกว. (2535). การอ้างอิงประชากรเมื่อใช้เครื่องมือแบบมาตราส่วนประมาณค่ากับกลุ่มตัวอย่าง. การวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม, 3(1), 22-25.

ปวีณา วีรยางกูร. (2554). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลอ้อมเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พรทิพย์ ทับแว่ว. (2554). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น: กรณีศึกษาเทศบาล ตำบลบ้านเกาะ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์. วิทยานิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขานโยบายสาธารณะ, มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สมจินตนา คุ้มภัย. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของชาวชุมชนในองค์การบริหารส่วนตำบลต้นแบบที่บูรณาการแผนชุมชนสู่แผนพัฒนาท้องถิ่นจังหวัดนครศรีธรรมราช. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 9(2), 733-748.

Taro Yamane. (1970). Statistic: an Introductory Analysis. 2nd Ed. New York: Harper & Row.